กฏหมาย


เรียนกฏหมาย

วิธีการเรียนกฎหมาย

By ชมรมกฎหมาย ฯ

                เรียนอย่างไร ? หรือ เริ่มอย่างไรดีล่ะ ?........... เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก และมักเป็นคำถามของเด็กปี 1 เสียส่วนใหญ่

 ต่อไปนี้จะเป็นข้อเสนอแนะวิธีการเรียนกฎหมายของผู้เขียน ถ้าสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ รับรองผลได้ว่า ไม่ มี F แน่  

1.  อ่านหนังสือก่อนเรียนในภาคนั้น   เพื่อสำรวจโครงสร้างเนื้อหาของกฎหมายเล่มนั้นว่า เทอมนี้เราจะต้องเจอเรื่องอะไรบ้าง ในแต่ละเล่ม เป็นการสำรวจข้อมูลคร่าว ๆ นั่นเอง จากนั้นก็เริ่มอ่านทีละเล่มที่จะเรียนในเทอมนี้ เพื่อให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนเราที่เพิ่งเริ่มเรียนกฎหมายจะอ่านกฎหมายรู้เรื่องและเข้าใจในทันที เมื่อเกิดอาการไม่เข้าใจ งง ก็จะทำให้อยากถาม เพราะมีคำถามมากมายพุดออกมาจากสมอง ก็จะทำให้อยากค้นคว้าหาคำตอบ อยากเข้าเรียนเพื่อฟังอาจารย์อธิบายขยายความ ยกตัวอย่าง และที่แน่นอนที่สุดอยากถามอาจารย์ว่า “นี่คือ อะไร? ทำไมถึงตัดสินแบบนี้ ทำไม่ถึงบอกว่าเรื่องแบบนี้ไม่ผิด” หรือ หมายความว่ายังไง ?

                แต่วิธีการอ่านหนังสือก่อนเรียนนี้ บางคนอาจเบื่อในการเรียนกฎหมายเลยก็ได้เพราะ งง ไม่เข้าใจ รู้สึกหงุดหงิด และไม่มั่นใจว่าจะเรียนจบ ไหม ?  แต่อยากแนะนำว่า เบื่อได้แต่ให้ความอยากรู้ อยากเห็น มันมีมากกว่าการท้อแท้ เบื่อหน่าย  เวลาอ่านหนังสือให้เริ่มอ่านด้วยความตั้งใจ อยากอ่าน อยากรู้ ถ้าไม่เข้าใจ จะได้อยากค้นคว้า ศึกษาต่อให้เข้าใจ เพื่อไขข้อข้องใจ เหมือนกับการที่เราอ่านพาดหัวข่าว ต่าง ๆ  แล้วเกิดอาการอยากรู้รายละเอียดของข่าวว่าเท็จจริง เป็นยังไงกันแน่ และแม้มีรายละเอียดของข่าว อ่านแล้ว ก็ให้ตั้งคำถามเอาไว้ ว่าจริงหรือเปล่า ? อย่าเพิ่งสรุปอะไร โดยที่ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องนั้นอย่างแท้จริงก่อน

2. การเข้าเรียน  เป็นการเข้าฟังคำบรรยายที่อาจารย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่อง นั้น ๆ มาบรรยายอธิบายตัวบทกฎหมายให้นิสิต/นักศึกษา ได้เข้าใจเรื่องนั้นได้ง่ายขึ้น การอ่านหนังสือเองโดยไม่มีโอกาสเข้าเรียน ผู้เรียนจะต้องอ่านหนังสือมากกว่าคนที่เข้าเรียน เพราะการเข้าเรียนอาจารย์จะอธิบายยกตัวอย่างให้เห็นภาพและใช้ภาษาพูดซึ่งก็เข้าใจง่ายกว่าภาษาเขียน

                แต่การเข้าเรียนโดยไม่บันทึกคำบรรยายเลย มีการวิจัยพบว่าสอบไล่ได้ 25 % ส่วนคนที่บันทึกคำบรรยาย สอบไล่ได้ 65 %   เพราะผู้ที่บันทึกคำบรรยายไว้ได้มีโอกาสทบทวนเรื่องที่เรียนโดยการบรรยายนั้นหลายครั้งก่อนสอบไม่เหมือนคนที่ไม่ได้บันทึกคำบรรยายต้องอาศัยการจำแต่เพียงอย่างเดียว และการบันทึกคำบรรยายเหมือนเป็นการบังคับให้ตั้งใจฟังคำบรรยายตลอดเวลา แต่การบันทึกต้องบันทึกให้ได้เนื้อหาสาระที่ถูกต้อง โดยเป็นภาษาของตัวเองย่อ ๆ เพื่อใช้ในการทบทวนหลังเรียนและก่อนสอบได้ง่าย

                การบันทึกคำบรรยายนั้นนอกจากบันทึกในสมุดแล้ว ควรบันทึกลงในตัวบท (ประมวลกฎหมาย) ด้วย โดยโน้ตสั้น ๆ เป็นความหมายหรือตัวอย่างประกอบมาตรานั้น ถ้าจะบันทึกฎีกาก็ให้บันทึกเนื้อหาไปด้วยไม่ใช่บันทึกแต่ตัวเลข แล้วบอกว่าจะไปหารายละเอียดทีหลัง เชื่อเถอะว่าความขี้เกียจครอบงำ ตัวเลขมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นแหละ ฉะนั้นทำอะไรอย่าผัดวันประกันพรุ่ง

3. อ่านทบทวนหลังเรียน   เมื่อเรียนเสร็จแล้วในวันนั้น ๆ กลับบ้านสิ่งที่จะทำให้ความเข้าใจ ความจำที่เรียนมาวันนี้ยังคงอยู่ ก็คือ การกลับไปทบทวนเรื่องที่เรียนมาวันนี้ โดยอ่านจากการบันทึกคำบรรยายหรืออ่านในตำราอีกรอบ และดูตัวบทไปด้วยทุกครั้งที่มีการอ้างอิงมาตราในตัวบทนั้นก็จะทำให้จำตัวบทได้อีกด้วย 

4. อ่านก่อนเรียนชั่วโมงหน้า   ก็เหมือนกับข้อ 1. แต่คราวนี้อ่านเฉพาะเรื่องที่ชั่วโมงหน้าจะเรียนทุกวิชา เพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนเช่นเคย

 

 วิธีการอ่านหนังสือ

  1. 1.       ตั้งใจอ่านหนังสือ อย่างมีสมาธิ  เวลาอ่านไม่ควรลุกเดินไปไหนมาไหนบ่อย ๆ
  2. 2.       อ่านทุกวัน วันละอย่างน้อย 4 – 5 ชั่วโมง ชั่วโมงล่ะ 15-20 หน้าเป็นอย่างน้อย
  3. 3.     อ่านจบแล้วให้ปิดหนังสือแล้วพูดกับตัวเองทบทวนว่าเราได้อะไรบ้างจากการอ่านจบไป 1 เที่ยว ถ้าไม่เข้าใจจะทำให้เราจำไม่ได้ พูดออกมาไม่ได้ ต้องกลับไปอ่านใหม่
  4. 4.     เมื่อเราสามารถพูดอธิบายได้ จำได้ ต่อไปก็เอาข้อสอบเก่า ๆ มาลองฝึกทำ เป็นการหัดจับประเด็นคำถามและการเขียนอธิบายว่าพูดได้แล้ว เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรได้ดีหรือไม่ หรือเขียนเป็นไหม
  5. 5.     เวลาเครียด ๆ ให้นอนหงายหลับตานึกถึงภาพน้ำตกเย็น ๆ หรือ ทะเลสวย ๆ และหาน้ำหวานมาดื่มสักแก้ว/ขนมหวานก็ได้ตามชอบ ผ่อนคลายสักครึ่ง-หนึ่งชั่วโมง คุณก็จะกลับมาอ่านหนังสือได้อีกเยอะเลยล่ะ (อย่าลืมออกกำลังกายพอประมาณ3-4 วัน/สัปดาห์ด้วย)

 

หมายเหตุ :

                ศึกษาเพิ่มเติม 1. “คำแนะนำนักศึกษากฎหมาย”  ของศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                2. เรียนนิติ ฯ ให้ได้ดั่งใจ ของญาดา  วรรณไพโรจน์ เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 58 (อันดับที่ ๑) จัดพิมพ์อยู่ในหนังสือรพี’ 49 ของสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กฏหมาย
หมายเลขบันทึก: 366060เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2010 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่คุณให้ความรู้ทางด้านกฏหมาย

เก่งจริงสรุปได้เยี่ยมนะ..เอ

มีหนุ่มๆมีเยี่ยมชมด้วยละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท