พัดชา
สุภัสตรา เก้าประดิษฐ์ ทรัพย์ชุกุล

สงบจิต พิชิตกิเลส ณ ธรรมกมลา ภาคสอง...อนิจจัง


พระอาจารย์ก็ถามว่า รู้สึกอย่างไร ก็บอกว่า คัน เหงื่อไหล ร้อน หนัก แห้ง ปวด ชา เหน็บกิน
ภาคสองนี้จะขอแบ่งเป็น  2 ช่วงคือ
 ช่วง Day 5 & 6
สองวันนี้ การปฏิบัติกลับมาใช้ตารางเวลาเดิม แต่มีกฎเพิ่มเติมคือ การทำอธิษฐานบารมี โดยการนั่งไม่เปลี่ยนท่าเลยใน 3 ช่วงเวลา คือ 8.00-9.00, 14.30 - 15.30 และ 18.00 -19.00 น. ได้พยายามเตรียมใจ แต่ก็ยังมีการเปลี่ยน การอธิษฐานบารมีจะเป็นการฝึกความเพียร วินัย ซึ่งท่านอาจารย์แนะว่า หากชั่วโมงนี้ เปลี่ยนไป 4 ครั้ง ก็ให้ตั้งใจว่า ชั่วโมงหน้าจะเปลี่ยนให้น้อยลง ให้พยายามทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ช่วงเช้า ก็พอทำเนา อากาศดีหน่อย ร่างกายกำลังสดชื่น หลังอธิษฐานบารมีในช่วงเช้าของ Day 5 แล้ว พระอาจารย์ก็ถามอีกว่า รู้สึกอย่างไร ก็บอกว่า คัน เหงื่อไหล ร้อน หนัก แห้ง ปวด ชา เหน็บกิน .... ฟ้องใหญ่เลย
ธรรมบรรยาย  Day 5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค การยึดติดกับของฉัน เรื่องเล่าว่า คุณยายคนหนึ่งได้พยายามเก็บหอมรอมริบเพื่อจะมาปฏิบัติวิปัสสนา โดยแกได้ยินว่า ช่วง 6 โมงเช้าจะมีการสวดมนต์ให้พร แกก็เลยมาฟัง แต่พอกลับไปห้องก็ร้องไห้ใหญ่ บอกว่า เงิน 20 รูปีที่ได้ตอนแต่งงาน และขนมหวานที่ได้มาจากบนรถไฟหายไป ร้องไห้ใหญ่เลย ทุกคนก็ปลอบและบอกว่า เดี๋ยวจะเก็บเงินรวบรวมให้ก็ได้ 100 รูปี แกก็ยังร้องไห้ไม่หยุด ต้องการ 20 รูปีนั้นคืน จนสักครู่มีคนเห็นลิง กินขนมหวานก็เอาไม้ไล่ และพบถุงใส่ของซึ่งภายในก็มีเงิน 20 รูปีของยาย ซึ่งยายก็ดีใจมากที่ได้ของคืน .....ของฉัน ตัวฉัน... จะยึดติดกันเพื่ออะไร........แต่อย่างไรก็คิดถึงบ้านอีกแล้วหน่ะ
 ส่วน Day  6 ก็มีการติดป้ายคำสำคัญ 10 คำที่ใช้ในการวิปัสสนา แต่จดไม่ได้ ให้จดในวันที่ 10
ธรรมบรรยายก็เป็นเรื่องของนิวรณ์ 5 ที่ขัดขวางการนั่งวิปัสสนา คือ 1.ความง่วง จะให้หายก็ต้อหายใจยาวๆ หรือ ลุกออกไปเดินข้างนอก  2.กิเลส คือ ความอยากทั้งหลาย การงดพูดจะได้ไม่ต้องอยากมี อยากเป็น อยากได้เหมือนคนอื่นเค้า 3. ความพยาบาท ความโกรธในใจ  4.ความฟุ้งซ่าน  และ 5.ความลังเลใจ เราจะทำได้เหรอ แนวทางนี้ดีหรือไม่ ..... เรามีเยอะทุกตัวเลยหน่ะ นอกจากนั้นก็พูดเรื่องทุกข์ ว่า ความทุกข์เป็นเรื่องจริง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงตาย มีแต่ความอยากโน่น อยากนี่ เราต้องพยายามฝึกจิตมิให้ทุกข์มาก
 
ช่วง Day 7-9
Day 7 เราได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติใน Cell ได้แล้ว ซึ่งเป็นห้องเล็กๆ ในห้องจะมีเบาะใหญ่และเล็กให้ มีช่องระบายอากาศ ฝั่งผู้หญิงนี่น่าจะมีประมาณ 70 ห้องได้ เราสามารถมาใช้ห้องนี้ได้ทุกเวลาที่มิใช่ปฏิบัติรวม ซึ่งก็ได้มาใช้บริการในตอนเช้า เพราะอากาศดีหน่อย แต่เวลาอื่น ไม่ไหว จะรู้สึกอึดอัดมาก
ธรรมบรรยาย มีเรื่อง พละ5 ที่เป็นมิตรของการวิปัสสนา และบอกว่า Day 8 เป็นต้นไป แม้จะลืมตาก็ต้องมีสติสัมปชัญญะ ให้รู้ว่า เดิน ล้างจาน อาบน้ำ กินข้าว เป็นธรรมชาติ จิตไม่วอกแวก
 Day 8 ได้ตัดสินใจลงชื่อเข้าถามคำถามพระอาจารย์ ตอนเที่ยง คือ 1. การลื่นไหล คืออะไร พระอาจารย์บอกว่า เสมือนกับการที่นำราดลงมาที่ตัว บางครั้งเพียงแค่ 1 ชั่วลมหายใจ ต้องฝึก ทำได้ยาก ความรู้สึก ชา ปวด ก็ให้ผ่านไป แล้วค่อยมาตรวจสอบทีละส่วน  2. การลืมตาให้รู้สึก มีสติสัมปชัญญะ ไม่ต้องภาวนาใดๆ ให้รู้ว่า กำลังล้างจาน มีมือถูกับจาน มีฟองน้ำ 3. เมื่อมีนิวรณ์ ก็ให้หายใจลึก ดึงตัวเองกลับมา มิให้ใช้ภาวนาบริกรรมพุทโธ .... จริงๆ เป็นการดีมากที่ได้ไปถามคำถามกับพระอาจารย์ แม้จะมีเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น
ธรรมบรรยายวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ จิตสำนึก และจิตไร้สำนึก เช่น เมื่อมีไฟสาดมา เราก็จะสาดน้ำมันกลับ  มิใช่จะคิดหาทางใช้น้ำดับไฟ  หากมีโทสะ VS โทสะ ก็ไม่เกิดผลดีอันใด เป็นจิตไร้สำนึกตลอด  พระพุทธเจ้าสอน ศีล สมาธิ และปัญญา มีพราหมณ์มาด่าทอท่าน พระองค์ก็เฉย แล้วถามกลับว่า เวลาที่มีคนเอาของมาให้ แล้วท่านไม่อยากรับ ท่านจะทำอย่างไร พราหมณ์ก็ตอบว่า ก็ไม่รับ ..หากไม่รับแล้ว ของนั้นจะเป็นของใคร  พราหมณ์ก็ตอบว่า ก็เป็นของคนให้ ก็เช่นเดียวกันกับการด่าทอของท่าน ...   พระพุทธองค์มีแต่ความเมตตา
Day 9  รู้สึกว่า กายและจิตดี วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะใช้ cell  ก็ต้องเอาผ้าคลุมมาวางไว้ที่ห้องโถง เปิดช่องระบายอากาศทิ้งไว้
ธรรมบรรยาย เป็นเรื่องเกี่ยวกับ บารมี 10 สำหรับการทำวิปัสสนา เรื่องความโกรธ คำพูดประโยคเดียวกัน แต่ในสถานการณ์อาจทำให้เกิดความรุนแรงได้ เราต้องปฏิบัติให้มาก มาจากการรับรู้และประสบการณ์ 

หมายเลขบันทึก: 364819เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท