ความรู้ภาษาไทย


ครูเฒ่าเล่าสู่กั๋นฟัง

ข้อแตกต่างระหว่างภาษาบาลี-ภาษาสันสกฤต

ภาษาบาลี 

ภาษาสันสกฤต 

1.พยัญชนะบาลี  มี 33 ตัว

2.สระในภาษาบาลีมี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

3. ตัวสะกดตัวตามแน่นอนตายตัว

คือ

3.1 แถว 1 สะกด แถว 1 ตาม หรือ แถว 2 ตามในวรรคเดียวกัน

3.2  แถว 3 สะกด แถว 3 ตามหรือ แถว 4 ตาม ในวรรคเดียวกัน

3.3  แถว 5 สะกด แถว 5 ตาม (ยกเว้น ง ) หรือ แถว 1, 2, 3 ,4 ตาม ในวรรคเดียวกัน

4.ไม่ใช้คำควบกล้ำ เช่น ปทุม

5.ไม่ใช้ นิยมใช้  ริ  แทน ( รร  หัน ) เช่น ภริยา จริยา

6.นิยมใช้ พยัญชนะ ตัว ฐ เช่น   ฐาน  ฐิติ  ฐาปนา

7.นิยมใช้ พยัญชนะตัว  ถ เช่น  ถาวร   ถวาย

8. นิยมใช้พยัญชนะ ข  เขียนคำ เช่น ขณะ  ขมา  เขต

9.นิยมใช้พยัญชนะ ฬ เขียนคำ เช่น กีฬา  จุฬา  โสฬส

 

1.พยัญชนะสันสกฤต  มี 35 ตัว เพิ่ม ( ศ ษ )

2.สระในภาษาสันสกฤต มี 14 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ( เพิ่ม ไอ  เอา ฤ  ฤา  ฎ ฎา )

3. ไม่มีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน

4. มีการใช้คำควบกล้ำในพยัญชนะต้นและตัวสะกด

 เช่น ประทุม  ประทัด

5. มีการใช้ รร ( ร หัน )  เช่น จรรยา  ภรรยา

6.นิยมใช้ พยัญชนะ ตัว  สถ  เช่น สถิต  สถาปนา

7.นิยมใช้ พยัญชนะตัว  สถ  เช่น สถาพร  สถล  สถุล

8. นิยมใช้พยัญชนะ กษ เขียนคำ  เช่น กษณะ  กษมา  เกษตร

9.นิยมใช้พยัญชนะ ฑ เขียนคำ  เช่น กรีฑา  จุฑา

 

 

 

 

ตัวอย่างคำภาษาบาลี  สันสกฤต

ภาษาบาลี  

ภาษา  สันสกฤต

กิริยา

กมฺม

เกส

ขีร

เขม

จริยา

ฐาน

จิต

ตณฺหา

ติณ

ถิร

ทิฏฐิ

ทกฺขิณ

นิค(ค)หิต

ปฐม

โมลี

ยกฺข

รํสิ

รตติ

รฏฐ

วชิร

วสส

เวชช

วิชชา

สิริ

สามี

สิกขา

โอรส

กริยา

กรรม

เกศ

เกษียร

เกษม

จรรยา

สถาน

สถิต

ตฤษณา

ตฤณ

เสถียร

ทฤษฎี

ทักษิณ

นฤคหิต

ประถม

เมาลี

ยักษ์

รัศมี

ราตรี

ราษฎร

วัชระ

วรรษา / พรรษา

ไวทย  / แพทย์

วิทยา

ศรี

สวามี

ศึกษา

เอารส

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  มาจากหลายสาเหตุ คือ

  1. อิทธิพลทางภูมิศาสตร์  คือมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน การติดต่อ ทำให้รับภาษาเขามาใช้
  2. อิทธิพลการติดต่อค้าขาย มีการพูดคุยกัน ภาษาในการโฆษณาสิ้นค้า ทำให้มีภาษาเดิมเข้ามาปะปน
  3. อิทธิพลทางด้านการทูต   มีการเจริญสัมพันธไมตรี   มีการสื่อสาร  เจรจา
  4. อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา  มีการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม ในด้านศิลปะ  วรรณคดี  มีภาษาปะปนอยู่
  5. อิทธิพลทางด้านเทคโนโลยี จะมีศัพท์เฉพาะติดตามเครื่องมือต่าง ๆ
  6. อิทธิพลทางด้านการศึกษา ไทยส่งนักเรียนไปเรียนต่อยังต่างประเทศ

ภาษาที่ปรากฏเข้ามาปะปนกับภาษาไทยมีดังนี้

ภาษา

ตัวอย่าง  คำภาษาต่างประเทศ

จีน

ชวา-มลายู

ทมิฬ

เขมร

เปอร์เชีย

อาหรับ

โปรตุเกส

ฝรั่งเศส

อังกฤษ

ญี่ปุ่น

มอญ

พม่า

บาลี

สันสกฤต

ก๋วยเตี๋ยว  เกี๊ยว  เก๋ง  เก้าอี้  กางเกง  ชา  เซียน  ซินแส  แซ่

มังคุด  มะละกอ  บุหลัน  บุหรง  บุหงา  ทุเรียน  น้อยหน่า  กริช  กระยาหงัน 

กะไหล่  กุลี  กานพลู  จงกลนี  สาเก  อาจาค  กะละออม    ตะกั่ว  ตรีปวาย

แข  เพ็ญ  ศก  ศอ   เรียม    ผจญ  ขจัด  ฉงน  ชะเอม  เสวย  บำเพ็ญ ถนน  กังวล

กากี(สี)  กาหลีบ  กุหลาบ  เกด  ชุกชี  ตรา  ฝรั่ง  ยี่หร่า

กะลาสี  การบูร  ขันที  ฝิ่น 

กาละแม  กาละมัง  ปั้นเหน่ง  ปิ่นโต  เลหลัง

กงสุล  คาเฟ่  ครัวซองต์  คิว

แท็กซี่  เกียร์  แบตเตอรี  ฟิวล์  แคชเชียร์ สนุกเกอร์  เนกไท

สุกียากี้  ฮาราคีรี  สาเก  ซูโม่  ซามูไร  ไดเฮีว

กะพริบ  กระเอม  โคม  ถุง  ไถ้  ทยาน

จวน  กะปิ  เพกา  ส่วย

ธรม  บาป  บุญ  นิพพาน  มนต์  เมตตา  อัญชลี  บุปผา  มัจฉา  มงกุฎ  จุฬา  อัจฉรา  ปรัชญา

อัปสร  อัคนี  รัศมี  ภิกษุ  ศัตรู  พราหมณ์  กรรม  คฤหัสถ์  ฤดี  สวรรค์ เพชร อัศนี  วิทยา

 

วิธีการสร้างคำในภาษาไทยด้วยอิทธิพลภาษาต่างประเทศมี 2 ลักษณะ คือ

  1. การสร้างด้วยวิธีการของไทย  ได้แก่  การประสมคำ  การซ้อนคำ  การซ้ำคำ 

  2. การสร้างคำด้วยอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ  ได้แก่  การสมาส  การสนธิ  การแผลงคำ  การลงอุปสรรค

 

คำสมาส

สมาส เป็นวิธีสร้างคำในภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำเอาคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำ มารวมเป็นคำเดียวกันให้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน

คำสามาสแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 

  1. คำสมาสแบบที่ไม่มีการกลมกลืนเสียง  เรียกสั้นๆ ว่า คำสมาส

  2. คำสมาสแบบกลมกลืนเสียง  เรียกว่า คำสมาสที่มีการสนธิ

 

1.  การสร้างคำสมาส

ลักษณะของคำสมาส

  1. เกิดจากการประสมคำตั้งแต่  2  คำขึ้นไป  

  2. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

  3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าไม่ใช่รูปสระอะ   และตัวการันต์

  4. ต้องออกเสียงสระที่พยางค์สุดท้ายของคำหน้า ถึงแม้ไม่มีรูปสระกำกับ

  5. ต้องเรียงคำหลักไว้หลังคำขยาย เมื่อแปลก็แปลจากหลังไปหน้า

  6. คำบาลีสันสกฤตซึ่งมีคำว่า  พระ  ที่แผลงมาจาก  วร  ประกอบข้างหน้าจัดเป็นคำสมาสด้วย   แม้ว่า  พระ  จะประวิสรรชนีย์ก็ตาม

  7. คำสมาสส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วยคำว่า  ศาสตร์  ภัย กรรม  ภาพ  ศึกษา  วิทยา

 

ตัวอย่างคำสมาส

อทุก  +  ภัย    สมาสกันเป็นคำใหม่         อุทกภัย

คณิต  + ศาสตร์  สมาสกันเป็นคำใหม่     คณิตศาสตร์

ธุระ  +  กิจ        สมาสกันเป็นคำใหม่      ธุรกิจ

แพทย์  + ศาสตร์   สมาสกันเป็นคำใหม่  แพทยศาสตร์       ไม่ใส่การันต์

เทพ  + บุตร      สมาสกันเป็นคำใหม่      เทพบุตร             ไม่ใส่วิสรรชนีย์

ประวัติ  +ศาสตร์    สมาสกันเป็นคำใหม่         ประวัติศาสตร์      

ราช  + การ          สมาสกันเป็นคำใหม่          ราชการ

วรรณ  +  คดี        สมาสกันเป็นคำใหม่         วรรณคดี

 พุทธ +   ศาสนา   สมาสกันเป็นคำใหม่         พุทธศาสนา

วร +   กรรณ         เปลี่ยนเป็น                    พระกรรณ

วร    + ขรรค์        เปลี่ยนเป็น                     พระขรรค์

วร  +   บาท          เปลี่ยนเป็น                     พระบาท

 

สิ่งที่ควรสังเกต

       การประสมคำที่คำหน้าเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต แต่คำหลังเป็นคำอื่นๆ  ไม่ถือเป็นคำสมาส    คำที่สมาสบางคำไม่ออกเสียงตามหลักการออกเสียงท้ายพยางค์หน้าก็ไม่ถือว่าเป็นคำสมาส

เช่น

พลเมือง               คำหลังเป็น  คำไทย

ผลไม้                  คำหลังเป็น  คำไทย

เทพเจ้า                คำหลังเป็น   คำไทย

พละกำลัง           คำหลังเป็น   คำเขมร

พระเขนย            คำหลังเป็น   คำเขมร

เคมีภัณฑ์          คำหน้าเป็นคำ  ภาษาอังกฤษ  ส่วน    คำหลังเป็นคำ  บ/ส

คริสต์ศักราช      คำหน้าเป็นคำภาษาอังกฤษ   ส่วน     คำหลังเป็นคำ   ส

คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงท้ายพยางค์หน้า

 เช่น

รสนิยม                 อ่านว่า    รด-นิ-ยม

สุภาพบุรุษ            อ่านว่า    สุ-พาบ- บุ-หรุด

สามัญศึกษา          อ่านว่า    สา- มัน- สึก-สา

สุพรรณบุรี           อ่านว่า    สุ-พัน-บุ-รี

สาธกโวหาร         อ่านว่า    สา-ทก-โว-หาน

การสร้างคำสมาสที่มีการสนธิ  ( คำสมาสแบบกลมกลืนเสียง  )เรียกว่า คำสมาสที่มีการสนธิ

การสนธิ เป็นการสร้างคำสมาสโดยเปลี่ยนแปลงตามหลักภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อเสียงทั้งสองใกล้กันมักจะออกเสียงกลมกลืนเป็นเสียงเดียวกัน  โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ  สระ  และนิคหิตที่มาเชื่อม  เพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง  และทำให้คำเหล่านั้นเสียงสั้นเข้า เราเรียกคำสามาสที่มีการสนธิ

 ลักษณะของการสนธิ

  1. เกิดจากการประสมคำตั้งแต่  2  คำขึ้นไป  

  2. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น

  3. มีการเชื่อคำโดยเปลี่ยนแปลงสระ  พยัญชนะ  หรือนิคหิต ของคำเดิม

  4. ต้องเรียงคำหลักไว้หลังคำขยาย เมื่อแปลก็แปลจากหลังไปหน้า

ชนิดของการสนธิ

แบ่งออกเป็น 3  ชนิด คือ สระสนธิ  พยัญชนะสนธิ  นิคหิตสนธิ

1.สระสนธิ

เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ  ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ 2 เสียง ได้กลมกลืนเป็นสระเสียงเดียวกัน

โดยแบ่งการสนธิสระออกเป็น

1.1 อะ  อา   สนธิกับ  อะ  อา  เปลี่ยนเป็น  อะ  หรือ  อา

เช่น

วิทย     +     อาลัย              ได้คำใหม่เป็น    วิทยาลัย

กต       +     อัญชลี             ได้คำใหม่เป็น    กตัญชลี

เทศ      +     อภิบาล           ได้คำใหม่เป็น    เทศาภิบาล

1.2 อะ  อา  สนธิ  อิ  อี  เป็น  อิ  อี  หรือ  เอ

เช่น

มหา  +  อิทธิ        ได้คำใหม่เป็น       มหิทธิ

คช  +  อินทร์        ได้คำใหม่เป็น       คชินทร์

1.3 อะ  อา  สนธิ  อุ    อู  เป็น  อุ   อู  หรือ  โอ

เช่น

มัคค  +  อุเทศก์       ได้คำใหม่เป็น      มัคคุเทศก์

ราช    +   อุปโภค    ได้คำใหม่เป็น      ราชูปโภค

1.4 อะ  อา  สนธิ  เอ  ไอ  โอ  เอา     เป็น  เอ  ไอ  โอ     หรือ  เอา

เช่น

มหา  +  โอสถ            ได้คำใหม่เป็น     มโหสถ

มหา  +  โอฬาร           ได้คำใหม่เป็น     มโหฬาร

1.5 อิ  อี  สนธิกับ อิ  อี  เป็น  อิ  อี  หรือ  เอ

เช่น

มุนี  +  อิมนทร์            ได้คำใหม่เป็น     มุนินทร์

อริ  +  อนทร์                ได้คำใหม่เป็น     อรินทร์     /   อเรนทร์

1.6 อุ  อู  สนธิกับ  อุ  อู เป็น  อุ  อู  หรือ  โอ

เช่น

คุรุ  +   อุปกรณ์      ได้คำใหม่เป็น      คุรุปกรณ์ /  คุรูปกรณ์  /  คุโรปกรณ์

ธนู  +  อาคม   ---- ธนว  +  อาคม    ได้คำใหม่เป็น   ธันวาคม  (กรณี อุ อู สนธิกับสระอื่น ให้เปลี่ยนเป็น พยัญชนะ  ว  ก่อน  )

2.    พยัญชนะสนธิ

พยัญชนะสนธิ  เป็นการเชื่อมคำระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ  โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะคำเดิมก่อนนำมาสนธิ  ซึ่งเป็นวิธีการรวมคำในภาษาบาลี  สันสกฤต  ไทยรับมาใช้ เพียงไม่กี่คำ

เช่น

มนส      +      ภาพ          ได้คำใหม่เป็น        มโนภาพ

รหส      +       ฐาน          ได้คำใหม่เป็น        รโหฐาน

นิส        +      ทุกข์           ได้คำใหม่เป็น        นิรทุกข์

ทส        +     ภัย               ได้คำใหม่เป็น         นิรภัย

มนส     +  ธรรม               ได้คำใหม่เป็น        มโนธรรม

  1. 3.       นิคหิตสนธิ

นิคหิตสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะหรือสระก็ได้ 

มีหลักเกณฑ์ดังนี้

3.1    นิคหิต  สนธิกับสระ  แปลงนิคหิตเป็น  พยัญชนะ  ม   ก่อน 

เช่น

สํ     +   อาทาน        ได้คำใหม่เป็น     สมาทาน

สํ     +   โอรส           ได้คำใหม่เป็น    สโมสร

สํ     +    อาคม           ได้คำใหม่เป็น    สมาคม

3.2    นิคหิต  สนธิกับพยัญชนะวรรค แปลงนิคหิตเป็น  พยัญชนะวรรค  ตัวสุดท้ายของวรรคนั้น ๆ ก่อน

เช่น

สํ    +   กร                   ได้คำใหม่เป็น      สังกร

สํ    +   จร                   ได้คำใหม่เป็น      สัญจร

สํ    +    ฐาน                ได้คำใหม่เป็น      สัณฐาน

สํ    +   ธาน                 ได้คำใหม่เป็น      สันธาน

สํ    +   นิบาต              ได้คำใหม่เป็น      สันนิบาต

3.3    นิคหิต  สนธิกับเศษวรรค (  ย  ร  ล  ศ  ษ  ส  ห  ฬ  )  แปลงนิคหิตเป็น  พยัญชนะ   ง  ก่อน

เช่น

สํ     +  โยค     ได้คำใหม่เป็น   สังโยค    สํ     +  วร    ได้คำใหม่เป็น     สังวร

สํ     +   วาส    ได้คำใหม่เป็น   สังวาส   สํ     +   สรรค์ ได้คำใหม่เป็น      สังสรรค์

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 364707เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน คุณศรี ผมน้องใหม่ ชอบภาษาไทยเช่นกัน ขอฝากแนวคิดให้ผมด้วน และหากเป็นผู้สนับสนุนด้วยเป็นพระคุณยิ่ง

เนื้อหาแน่นมากๆค่ะแวะมาทักทายค่ะ สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท