ภาษาอังกฤษน่ารู้ 1


ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาของเรา อยากเก่งต้องฝึกฝน
      สวัสดีค่ะวันนี้เป็นครั้งแรกที่ลองเสนอภาษาอังกฤษวันละคำแก่ผู้สนใจทุกคน พร้อมรูปประโยคค่ะ พอดีได้มีโอกาสอ่านคอลัมภ์ภาษาน่ารู้ของคุณสมศีล ฌานวัศะในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์มาแต่จำไม่ได้ว่าเป็นฉบับวันที่เท่าไรนะคะ มีคำศัพท์ที่น่าสนใจคำหนึ่คือ คำว่า "ม็อบ"(mob)เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษค่ะย่อมาจากคำละติน ว่า"mobile vulgus"หรือ vacilating crowd แปลเป็นไทยว่า ฝูงชนที่มีอารมณ์กวัดเเกว่ง ในทางรัฐศาสตร์จะแปลคำว่า mob เป็นภาษาไทยว่าฝูงชน ซึ่งในภาษาอังกฤษตามOxford Advance Learner's Dictionary แปลคำว่า mob(คำนาม)ว่า a large crowd of people และเมื่อพิจารณาจากความหมายในภาษาละตินแล้ว ความหมายจะเป็นเชิงลบและสื่อมักจะใช้ว่า"a large noisy crowd" คือผู้คนจำนวนมากและส่งเสียงเอะอะในลักษณะไร้ระเบียบอันอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือใช้ความรุนแรง อาจตามด้วยกริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้แล้วแต่รูปประโยค เช่น

     - The mob was/were preparing to storm the building.ม็อบกำลังเตรียมบุกเข้าไปที่อาคาร ประโยคนี้เป็นรูป Active Form คือประธานเป็นผู้กระทำกิริยาเอง โครงสร้างโดยทั่วไปคือ ประธาน+กริยา+กรรม ซึ่งตามตัวอย่างเป็น Past Progressive Tenseจึงมีโครงสร้างประโยคเป็น ประธาน+verb to be in the past(was หรือwere แล้วแต่ประธานเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์)+verbเติม-ing +ส่วนขยาย

      -The building was besieged by the mob.อาคารถูกม็อบปิดล้อมไว้ ประโยคนี้เป็นรูป Passive Form คือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ โครงสร้างคือ ประธาน+verb to be+กริยาช่องที่ 3+by+กรรม ซึ่งตามTenseและกรณีตัวอย่างเป็นรูป Past Simple Tense และประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่3 คือ"The building"ดังนั้น verb to be จึงเป็น "was" ตามด้วย กริยาช่องที่ 3 คือ "besieged"

     เห็นไหมคะว่าคำว่า"mob"คำเดียวก็สามารถมีคำอธิบายโยงไปถึงการใช้ Tenseได้เลยนะคะ วันนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจไม่มากก็น้อยนะคะ(อย่าลืมติชมหรือเสนอแนะกันบ้างนะคะ^^ จะน้อมรับไว้เลยค่ะเพื่อแก้ไขปรับปรุง)

     ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาเราต้องหมั่นศึกษาหาความรู้นะคะ ไม่จำต้องไปเสียเวลาหรือเสียเงินเรียนแพงๆหรอก เพียงแต่เราต้องขวนขวายอย่างสม่ำเสมอค่ะ...

ป.ล. เพิ่งย้ายบ้านมาเป็นบล็อกนี้เพราะบ้านเก่าคับแคบไปแล้ว...อิอิ

หมายเลขบันทึก: 36463เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
เป็นบทความอันเก่านะคะ ....ถือว่าทบทวนละกันค่ะ...

ร่วมวงด้วยครับ 

คำแนะนำการพัฒนาภาษาอังกฤษครับ (คำเตือน ค่อนข้างยาวครับ)[1]มีคนหลายคนมักถามว่า ทำอย่างไรกับการเตรียมตัวด้านภาษา หรือพัฒนาภาษา ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเรียนภาษามากๆครับ แม้ว่าผมจะไม่ได้เก่งอะไรมากมาย แต่ก็คิดว่าช่วงหนึ่งผมฝึกภาษาให้ตัวเองได้ดี และเห็นพัฒนาที่ดีขึ้น ผมอนุญาตออกตัวเพื่อความน่าเชื่อถือครับ ผมสอบ TOEFL ครั้งแรกได้ 600 กว่า และ IELTS ได้ 8 (แต่ไม่ใช่ครั้งแรก) ผมไม่ใช่คนเก่งครับ แต่ผมฝึกตัวเองหนักพอสมควร อย่างตอนสอบโทเฟิลก็ไม่ได้ไปเรียนพิเศษที่ไหนครับ เพราะอาศัยติวตัวเอง ผมขอใช้เนื้อที่ตรงนี้เขียนแนะนำนะและแชร์ประสบการณ์ให้ฟังนะครับทักษะการเขียน ที่ดีที่สุดคือ 1) เริ่มต้นจากการสร้างพื้นฐานไวยากรณ์ให้แน่นก่อนครับ เพื่อสร้างความมั่นใจ ฝึกทำแบบฝึกหัดไวยากรณ์เยอะๆครับจะช่วยได้มาก (ดูส่วนไวยากรณ์ข้างล่างเพิ่มเติมครับ) 2) สำหรับคนที่คิดว่าพื้นไวยากรณ์พอใช้ได้แล้ว แต่อยากฝึกให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ แนะนำให้ไปเรียนตาม รร สอนภาษาหรือ ศูนย์ภาษาของมหาลัยต่างๆครับ เช่น จุฬา ราม ธรรมศาสตร์ คณะมนุษย์ (ม.เกษตร) ตจว ก็น่าจะมีครับ มีครูคอยช่วยตรวจแก้ภาษาเขียนให้เราได้ ถ้าต้องการซื้อหนังสือเพื่อฝึกฝนเอง แนะนำ การเขียนภาษาอังกฤษ ของ มสธ ครับ สำหรับคนที่ต้องการหนังสือที่ฝึกการเขียนเชิงวิชาการ Academic Writing for Graduate Students: A Course for Nonnative Speakers of English ผู้เขียนJohn M. Swales & Christine B. Feak พิมพ์โดย The University of Michigan Press ทักษะการอ่าน 1) อ่านเยอะๆครับ คนทั่วไปมักคิดว่าทักษะนี้ง่าย ทักษะการอ่านไม่ใช่การอ่านเพียงแค่เก็บใจความสำคัญ (main idea) กับ รายละเอียดเท่านั้นนะครับ ยังมีทักษะย่อยๆอีกมากที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป เช่นการเดาคำศัพท์จากบริบท การอ่านเร็วหรือการอ่านแบบกวาดสายตา ที่สำคัญและยากคือการอ่านเพื่อเดาความหมายที่เป็นนัยของผู้เขียน (making inferences) บ่อยครั้งที่ผู้เขียนต้องการสื่ออะไรบางอย่าง แต่ไม่เขียนบอกเราตรงๆ ทักษะนี้สำคัญมากในด้านวิชาการ หรือการอ่านคอลัมน์ในนิตยสารหรือ นสพ มีหนังสือหลายเล่มที่วางขายในท้องตลาดที่ช่วยฝึกการอ่านครับ เล่มที่เป็นที่นิยมใช้และค่อนข้างดีแต่เก่าไปนิด ของอ.สมุทร เซ็นเชานิช เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หรือ การอ่านภาษาอังกฤษ ของ มสธ ก็ดีมาก2) ส่วนการอ่าน นสพ นั้นเป็นทักษะที่ค่อนข้างสูง เพราะภาษาใน นสพ ต่างจากภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น การใช้คำศัพท์ ถ้าอยากฝึกอ่านข่าวคล่องๆ แนะนำ English by Newspaper-วิธีการอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษให้เข้าใจ (Terry Fredrickson) สำหรับคนที่ไม่ค่อยมั่นใจตัวเอง เริ่มจาก นสพ ที่เด็กมัธยมใช้เรียนก่อนก็ได้นะครับ เช่น Student Weekly ผมว่าง่ายและได้สาระมากมายจากการอ่านด้วยครับ นิตรสารที่ฝึกภาษาอังกฤษอื่นๆ เช่น Future ก็โอเคครับ มีคำแปล พร้อมศัพท์ให้เรา เป็นการปูพื้นก่อนการอ่าน พวก Time หรือ Reader’s Digest ซึ่งใช้ภาษายากมาก คนที่ฐานไม่ค่อยดีนั้น อย่ารู้สึกอายนะครับที่จะต้องเริ่มฝึกอ่านอะไรง่าย เช่น Student Weekly ผมว่าเราเรียนรู้ศัพท์และสำนวนได้เยอะมากกว่าอ่านพวกยากๆนะครับ เพราะเขามีคำแปลให้ แถมยังมีอะไรสนุกๆเกี่ยวกับภาษาให้เรียนรู้ได้เยอะด้วยครับทักษะการฟังไม่มีอะไรมากมายครับ เวลาดูละครหรือหนังฝรั่งก็พยายามฟังภาคภาษาอังกฤษ การฝึกฟังข่าวก็ช่วยได้ (แม้ว่าจะยากมากหน่อย) ผมแนะให้ฟัง ข่าว CNN หรือ วิทยุ BBC ครับ นักข่าวจะพูดภาษาอังกฤษชัดเจนมาก รื่นหู ทนฟังไปเรื่อยๆนะครับ สักวันมันจะต้องดีขึ้นได้ ตอนผมมาเรียนเมืองนอกใหม่ๆ ผมฟังอาจารย์บางท่านที่พูดเร็วๆ ไม่ได้ค่อยได้ แต่อยู่ไปสักพักก็จะรู้สึกว่า มีทักษะการฟังที่ดีขึ้นครับ ทีวีเมืองไทยบางช่องก็มีข่าวภาคภาษาอังกฤษนิครับ เช่นช่อง 11 เวลาไหนผมจำไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้ผมไม่ได้อยู่เมืองไทย ใครรู้ว่ามีช่องไหน เวลาไหน ก็บอกเพิ่มเติมกันด้วยนะครับ ผมแนะนำหนังสือประกอบเทปฝึกฟังข่าว ของ สถาบัน TGRE ครับ ชื่อ NEWS READERSทักษะการพูด 1) อย่ากลัวหรืออายที่จะพูดผิดครับ เพราะเจ้าของภาษาพูดผิดๆมีเยอะไปครับ ดูเหมือนเจ้าของภาษาที่มีการศึกษาบางคน (สังเกตจากละครหรือหนังมีให้เห็นบ่อยๆ) เขาไม่ใส่ใจด้วยซ้ำไปครับ เช่นพูด He don’t แทน He doesn’t หรือ There’s five peopleแทน There’re five people มีให้เห็นโดยทั่วไปเหมือนภาษาเพลงเลยครับ แต่ที่ดีที่คือ พยายามพูดให้ถูกต้องนะดีแล้วครับ แต่ก็อย่ากลัวหรืออายทีจะพูดผิดนะครับ2) ถ้ามีโอกาสไปเรียนการสนทนากับเจ้าของภาษาได้ก็จะดีมากครับ เช่นที่ AUA หรือ British Council ผมเคยเรียนที่แรก ตอน ม4 เรียนแค่ 2 คอร์ส ก็ช่วยให้ผมพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมากเลยครับ มั่นใจในการพูดมากขึ้น กล้าพูดกับฝรั่ง เรียนก็สนุก (แต่นั่นมันยุคนานมาแล้วครับ) 3) ออกเสียงให้ชัดเจนครับ ภาษาอังกฤษต่างจากเราตรงโทนเสียง มีขึ้นลง มีการเน้นคำ (stress) ตรงนี้สำคัญมากๆเพราะถ้าใช้โทนเสียงที่ต่างกันไป ความหมายก็เปลี่ยนไป ถ้า stress ผิดที่ ก็สือความหมายผิด เช่น refuse ถ้าเน้นพยางค์แรกแปลว่า ขยะ ถ้าเน้นข้างหลังแปลว่าปฎิเสธ ที่แย่กว่านั้น ไม่ใช่แค่ฝรั่งเข้าใจผิด แต่กลับฟังเราไม่รู้เรื่องด้วยครับ ดังนั้นอย่าอายที่จะออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษา ไม่ต้องอายหรือกลัวว่าใครจะหาว่าเราดัดจริตไวยากรณ์ทักษะนี้สำคัญมากๆ ต้องให้การเอาใจใส่มากๆครับ คนที่จะภาษาดีหรือไม่ดี อยู่ที่ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ อีกส่วนคือความรู้ด้านศัพท์และสำนวน 1) อาศัยการท่องจำครับ วิธีหนึ่งที่จะช่วยเราได้คือ ฝึกทำแบบฝึกหัดเยอะๆครับ เหมือนทำโจทย์เลข ยิ่งทำแบบฝึกหัดมากยิ่งชำนาญมาก แต่ง่ายกว่าโจทย์เลข เพราะส่วนใหญ่โจทย์ไวยากรณ์ไม่มีการพลิกแพลงเหมือนโจทย์เลข จะมีก็แต่ข้อยกเว้นที่เราต้องจำ 2) อีกวิธีที่จะช่วยเราได้ เวลาเรียนไวยากรณ์แต่ละเรื่อง ลองพยายามนึกแต่งประโยคพูดเองง่ายๆดู เช่น กฎข้อหนึ่งของการใช้ Present Perfect Tense คือ ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว (แต่ไม่ระบุเวลาให้ชัดเจน) เช่นกรณีที่ถามว่าใครทำอะไรไปแล้วหรือยัง วิธีที่จะช่วยให้จำกฎได้คือ นึกประโยคพูดง่ายๆ (พร้อมการออกเสียงให้ชัดเจน) ครับ นึกพูดไปเรื่อยๆ เท่าที่จะทำได้ เช่น Have you done your homework? Have you washed the dishes? Has she gone home? I have been to Paris twice. I have eaten lamb before. ฯลฯ ผมเคยใช้วิธีนี้กับตัวเอง หรือไม่ก็เอามาใช้ฝึกพูดกับเพื่อนคนไทยด้วยกัน มันทำให้ผมจำกฎได้จนขึ้นใจเลยครับ และไม่รู้สึกว่าการท่องจำกฎไวยากรณ์เป็นอะไรที่ยากเลย ผมว่าท่องตำราแพทย์ยังยากกว่าหลายเท่าตัว อยากเน้นว่า ไวยากรณ์สำคัญมากๆ คนที่ไวยากรณ์ดีได้เปรียบทางภาษาไปเยอะเลย นอกจากจะสำคัญกับการฟัง การเขียนแล้ว ไวยากรณ์มีส่วนช่วยทักษะการอ่านด้วยครับ ผมแนะนำหนังสือ Grammar in Use ของสำนักพิมพ์ Cambridge University Press สำหรับคนพื้นไม่ดีและพื้นปานกลาง มีทั้งเวอร์ชั่น British English (เล่มสีฟ้า) American English (เล่มสีม่วงอ่อน) มีอีกเล่ม Advanced English Grammar in Use อันนี้ระดับยาก อาจไม่จำเป็นสำหรับคนทั่วไป เพราะผมคิดว่าเล่มแรกก็ดีพอแล้ว ความเห็นผม หนังสือไวยากรณ์ชุดนี้ดีมาก อ่านเข้าใจง่าย มีหนังสือแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วย (แยกต่างหากจากแบบฝึกหัดในหนังสือหลักที่มีอยู่แล้ว) Edition ล่าสุด สีสันสวยงาม ผมไม่แนะนำให้ซื้อหนังสือไวยากรณ์ของผู้เขียนคนไทยครับ ผมไม่ประทับใจเลยหลายๆเล่ม ที่สำคัญเสนอข้อมูลให้ผิดๆด้วยศัพท์แนะนำให้ท่องศัพท์ทุกวันครับ วิธีที่ผมใช้คือท่องวันละนิด เช่น 3-5 ตัวต่อวัน แทนที่จะท่องทีเดียวหลายๆตัว บางคนท่องศัพท์ครั้งหนึ่งก็ 10 ตัวหรือมากกว่านั้น ผมว่ามันมากเกินไปครับ สำหรับผม ผมท่องสะสมน้อยๆ พอวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมก็กลับมาทวนทุกตัวที่ผมท่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา วิธีนี้จะทำให้เราจำศัพท์ได้นานกว่าท่องในปริมาณมากๆ (แต่ลืมได้เร็ว) คิดง่ายๆ เวลาเรากลับไปทบทวนศัพท์ที่ผ่านมาระหว่าง 3*7 = 21 words/week กับ 10*7 =70 words/week แบบไหนที่จะมีโอกาสลืมศัพท์ได้เร็วมากกว่ากัน เวลาท่องศัพท์ อย่าท่องแค่ ความหมายนะครับ ต้องท่องทุกอย่างครับ ได้แก่ การสะกดคำ การออกเสียง (ตรงนี้ต้องระวังเพราะคำบางคำออกเสียงไม่เหมือนรูปที่เขียน) ประเภทของคำ (เช่น คุณศัพท์ นามหรือกริยา หรือเป็นได้ทั้ง 2 อย่าง) และข้อมูลทางไวยากรณ์อื่นๆ เช่น นามนับได้ หรือนับไม่ได้ รูปพหูพจน์ที่ต่างจากคำอื่น เช่น stimulus / stimuli curriculum / curricular ท่องแบบนี้แค่ 3 ตัวต่อวันก็หนักสมองแล้วครับ สำหรับคนที่งานยุ่งมากๆ แนะนำให้สละเวลาเพียงแค่ 5-10 นาทีต่อวัน อาจจะเป็นตอนนั่งรถเมล์ไปเรียนหรือทำงาน หรือ ก่อนเข้านอนครับ เวลาแค่นี้น่าจะสละให้กับการพัฒนาภาษาของตัวเองได้ครับ ผมแนะนำหนังสือ English Vocabulary in Use ของสำนักพิมพ์ Cambridge University Press มีตั้งแต่ระดับเบื้องต้นถึงระดับยาก เล่มที่เหมาะสมน่าจะเป็นเล่มสีน้ำเงินครับ ระดับกลางค่อนข้างสูง (Upper intermediate) ส่วนระดับยากเล่มสีเลือดหมู (ออกน้ำตาล) หนังสือชุดนี้มีเวอร์ชั่นแบบ British English และ American English ด้วยครับ เหมือนชุดไวยากรณ์ครับ สีสันสวยงาม อ่านเข้าใจง่าย และมีแบบหนังสือฝึกหัดเพิ่มเติมแยกต่างหากอีกเล่ม ผมแนะนำให้ฝึกเรียนศัพท์วันละตัว จากเวป Bangkokpost ครับ มีการตัวอย่างประกอบ เขาเสนอศัพท์ทั้งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและพบเจอบ่อยๆใน นสพ ตามอ่านได้ที่ http://www.bangkokpost.com/education/worday/today.htm


พจนานุกรม
แนะนำให้ใช้ อังกฤษ-อังกฤษครับ ที่ดีมากๆเช่น MACMILLAN (เล่มสีส้ม) Collin Cobuild เล่มแรกมีลักษณะหลายอย่างที่ทำให้น่าใช้ครับ ศัพท์เยอะด้วย เล่มสองเนื้อหาดีแต่ไม่มีรูปภาพ ไม่มีสีสันทำให้ดูจืดชืด แต่มีตัวอย่างประโยคเยอะมาก เล่มอื่นๆ เช่น Longman หรือ Oxford Advanced Learner’s ก็ดีพอใช้ได้ครับ ข้อสังเกต ดิกชันนารีของออกซ์ฟอร์ดได้ชื่อว่า มีความน่าเชื่อถือและขายดีที่สุดในโลก (แต่อาจจะไม่ใช่ดีที่สุดที่มีในท้องตลาด) ไม่แนะนำดิกชันนารีที่พิมพ์จากสำนักพิมพ์ของอเมริกาครับ เพราะว่า ไม่มีตัวอย่างประโยคให้ แถมมีคุณลักษณะไม่ค่อยน่าใช้อีก สำหรับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ดิกชันนารีที่ผมแนะนำข้างต้น ทั้งหมดจะบอกความแตกต่างระหว่าง British English กับ American English ไว้ให้อยู่แล้ว บางดิกมี Australian English ให้ด้วย ผมอยากแนะนำ dictionary online ให้ด้วยครับ มีทั้ง ประเภทธรรมดา ประเภท Phrasal Verbs Idioms และ American English http://dictionary.cambridge.org ใช้ง่ายครับ และไม่ต้อง register ก็ใช้ได้เลย
พจนานุกรมภาษาไทย-อังกฤษ หรือ อังกฤษ-ไทย ผมแนะนำของ ดร วิทย์ เที่ยงบูรณธรรมครับ ผมว่าดีที่สุดแล้วในท้องตลาด
คู่มือเตรียมสอบภาษาอังกฤษ TOEFL แนะนำของ Cambridge Preparation for the TOEFL Test เล่มนี้มีแบบฝึกหัดค่อนข้างเยอะพร้อมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น รวมถึงเทคนิคต่างๆที่ใช้ ผมว่าเหมาะสำหรับเพื่อการฝึกภาษาทั่วๆไปก็ได้นะ ผมประทับใจเล่มนี้มากกว่ายี่ห้ออื่นๆครับ IELTS คู่มือเตรียมสอบแต่ละเล่มไม่แตกต่างกันมากครับ ผมคิดว่าของยี่ห้อไหนๆก็น่าจะใช้ได้ แต่ลองหาเล่มที่มีคำแนะนำเทคนิคการสอบให้ด้วยน่าจะดีครับ บางยี่ห้อ เช่น Insight into IELTS Extra ของ Cambridge University Press ส่วนชุด Cambridge IELTS 1 2 3 เป็นแค่เพียงตัวอย่างข้อสอบครับ
หนังสืออ้างอิง หนังสือข้างล่างนี้อาจไม่จำเป็นครับ แต่ก็มีประโยชน์มากทีเดียวสำหรับการใช้อ้างอิง
Longman Language Activator (เล่มหนาๆใหญ่ๆ) เหมาะสำหรับผมที่ต้องการ ดิกชันนารีที่ช่วยการเขียนระดับสูงเพื่อการสื่อความหมาย (ดีมากๆๆๆๆ) ดิกเล่มนี้รวบรวม ศัพท์และสำนวนเป็นชุดๆ พร้อมตัวอย่างประโยคมากมาย ใช้อ้างอิงเพื่อการแต่งประโยคได้ครับ Longman Essential Activator เล่มเล็กกว่าเล่มแรกครับ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้อ้างอิงหรือฝึกเรียนรู้ศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวัน ลักษณะคล้ายๆแบบแรก แต่อยู่ในระดับง่ายกว่า Oxford Collocations รวบรวมศัพท์และสำนวนที่ใช้ควบคู่กัน มีเล่มภาษาไทยทำนองเดียวกันชื่อ English by Exampleทั้งสองเล่มเป็นดิกที่ช่วยการแต่งประโยคภาษาอังกฤษครับ Oxford Learner’s Wordfinder Dictionary ตามที่ชื่อบอกครับ ใช้สำหรับค้นหาคำศัพท์ที่เราต้องการจะใช้ แต่ไม่รู้หรือนึกไม่ออกว่าจะใช้คำอะไรดี Collins Cobuild English Usage เล่มหนาๆ เล่มนี้น่าจะซื้อเก็บไว้นะครับ ดีมากๆๆๆ มีแทบทุกหัวข้อที่เราต้องการ โดยเรียงตามตัวอักษร มีทั้ง การใช้คำศัพท์ คำคู่ที่มักใช้สับสน กฎไวยากรณ์ สำนวนในการพูดในบริบทต่างๆ เช่น การโทรศัพท์ การพูดแนะนำ การกล่าวตักเตือน เรื่องเวลา เงินทอง ฯลฯ พร้อมตัวอย่างประโยคมากมาย
 ข้อแนะนำ+ข้อคิดเพิ่มเติม1) ถ้าต้องการให้พูดหรือเขียนได้ดี ต้องเน้นที่ไวยากรณ์และการท่องศัพท์มากๆครับ หาโอกาสฝึกใช้ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้2) การฝึกภาษาให้ได้ดีนั้นต้องอาศัยเวลาครับ คงคาดหวังให้ดีขี้นได้ภายใน 3 อาทิตย์ 3 เดือน เป็นไปไม่ได้ กรณีครูเคทนั้น เป็นไปได้เพราะครูเคทมีพื้นฐานที่ดีมาก่อนแล้ว ต้องฝึกสะสมไปเรื่อยๆสม่ำเสมอครับ เน้นว่าอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน และต้องฝึกไปนานๆต้องอดทนครับ ถ้าตั้งใจจริง ก็ไม่เกินความสามารถครับ สละเวลาวันละนิด หรืออาศัยช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เก็บสะสมความรู้ไปเรื่อยๆ 3) อย่าคาดหวังไว้สูงว่า จะต้องเก่งภาษาให้เหมือนเจ้าของภาษา งานวิจัยทางภาษาศาสตร์หลายๆชิ้นชี้ให้เห็นว่า น้อยคนนักที่จะเรียนภาษาต่างประเทศแล้ว จะเก่งภาษาได้เท่ากับเจ้าของภาษา คนไทยที่เคยใช้ชีวิตเรียนหนังสือในอังกฤษ อเมริกา หรือออสเตรเลีย นานหลายๆปี หาได้ยากครับที่จะได้ภาษาดีเหมือนเจ้าของภาษาหรือแม้แต่ใกล้เคียง คนพวกนี้หลายๆคนหยิ่งและทะนงตนมาก คิดว่าตัวเองจบเมืองนอกแล้ว ภาษาอังกฤษจะดีกว่าคนอื่นๆ (เท่าที่ผมเห็นมา ก็มีบ้างที่เก่งจริงๆ แต่ส่วนใหญ่ก็แค่ระดับในเกณฑ์ใช้การได้) แม้แต่ อาจารย์วุฒิปริญญาเอกทางภาษาอังกฤษ จบจากเมืองนอกเมืองนาหลายๆท่าน อย่างดีที่สุดก็ใช้ภาษาได้แค่ใกล้เคียงเจ้าของภาษาครับ กรณีคุณอานันท์ ปัญยารชุน และ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นกรณียกเว้นจริงๆ ส่วนระดับเราๆ เอาเป็นว่า เราใช้ภาษาสื่อสารคุยกับคนอื่นได้รู้เรื่องก็เพียงพอแล้วครับ4) ผมมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆในการเรียนภาษา เพื่อนผมคนนี้เมื่อก่อนฐานะยากจนมาก ต้องขอทุนจากคณะเรียน และทำงานใช้แรงงานตั้งแต่เด็ก สอบเอ็นท์เหมือนคนอื่นเขาได้เมื่อตอนอายุ 22 ปีแล้ว เขาเริ่มเรียนภาษาอังกฤษจริงๆ โดยท่องคำว่า Boy บอย แปลว่า เด็กผู้ชาย ตอนเขาเรียน ม.4 (การศึกษาผู้ใหญ่ ภาคค่ำครับ) คนที่เรียนภาษาอังกฤษแค่ภาคค่ำภายในเวลา 2 ปีก็สอบเอ็นท์ได้ผมว่าเก่งนะ ตอนเขาเรียนปีหนึ่ง เขาเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานได้เกรด ซี ครับ (ผมว่าเขาเก่งมากแล้ว เพราะตอนนั้นมหาลัยผมสอนเนื้อหาของปี 1 ที่ยากมาก) มีคนตกหรือได้ เกรดดี แย่กว่าเขาเยอะแยะไป พอขึ้นปีสอง เกรดภาษาอังกฤษ เปลี่ยนจาก ซี เป็น เอ (หรือบี บางวิชา) และไม่เคยเรียนได้ ซี อีกเลยหลังจากนั้น อาจารย์ฝรั่งชมว่าเขาพูดฟุตฟิตฟอไฟดีมาก (อ้อ เขาเรียนเอกอังกฤษครับ) ท้ายที่สุดเป็น 1 ใน 2 คนของคณะเท่านั้นที่เรียนจบเกียรตินิยมอันดับ 1 คนที่เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กๆ ไม่มีใครเรียนสู้เขาได้เลยครับ (ยกเว้นแค่เพื่อนสนิทเขาคนหนึ่งเท่านั้น) อยากเน้นครับว่า บ้านเขายากจน เขาไม่มีเงินที่ไหนไปเรียนติวภาษาเหมือนคนอื่นๆ แต่อาศัยฝึกตนเองอย่างหนักและสม่ำเสมอ ทำให้เขาเก่งได้ในเวลารวดเร็ว ใช้เวลาว่างทุกวันท่องศัพท์ ฝึกพูดกันเองกับผมบ่อยๆ โดยที่เราไม่สนใจว่า ใครจะว่าเราโอเว่อร์หรือดัดจริต เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของเราเอง ปัจจุบันเขาทำงานด้านการแปลอยู่บริษัทต่างชาติที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากๆ เงินเดือนก็สูงมาก น่าทึ่งครับสำหรับคนที่เริ่มเรียน เอบีซี อย่างเขาตอนอายุ 20 ปี แต่เรียนจบเอกภาษาอังกฤษเกียรตินิยมอันดับ 1 ได้ เป็นเรื่องราวที่ผมประทับใจไม่รู้ลืม ผมเล่าเป็นตัวอย่างเป็นกำลังใจให้สำหรับคนที่อยากพัฒนาภาษาอย่างจริงๆจังๆครับ คนในนี้ทุกคนน่าจะโชคดีกว่าเพื่อนผมนะ ที่เรียนภาษามาตั้งแต่เด็กๆและพื้นภาษาก็น่าจะดีกว่าเพื่อนผม ถ้าเราพยายามจริง ก็เก่งเหมือนเขาได้ครับส่วนตัวผม ตอน ม ปลายผมฝันอยากเป็น นร แลกเปลี่ยนเอเอฟเอส ครับ ฝันอยากใช้ชีวิตเรียนเมืองนอก แต่สอบตกตั้งแต่รอบข้อเขียน จากวันนั้นผมก็ยังไม่ล้มเลิกความฝัน แต่ยังเก็บความรู้ไปเรื่อยๆ เป็นเวลานานกว่าหลายปีผมถึงมีฝันที่เป็นจริงได้ในที่สุด เข้าเรียนในสถาบันมีชื่อเสียง (โดยที่ไม่เป็นการรบกวนเรื่องเงินๆทองของผู้ใหญ่ที่บ้านครับ) ทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อีกส่วนเป็นประสบการณ์โดยตรงครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ ขอให้คนที่รักภาษาอังกฤษ หรือไม่รัก โชคดีกับการพัฒนาภาษาทุกคนครับ
 ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณครูสอนภาษาอังกฤษ ที่อุตส่าห์ลงทุนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ที่ยาวจริงๆ เหมือนคำเตือน) แต่มีประโยชน์มาก เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่าไวยกรณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเรียนภาษาโดยเฉพาะการเขียน ถ้าไม่รู้ไวยกรณ์มาบ้างคงเรียนได้ แต่ "ช้า" กว่าคนที่มีพื้นฐานไวยกรณ์มาค่อนข้างดี ความอดทนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆถึงแม้จะเห็นด้วยในหลายๆ ข้อแต่ก็มีที่ไม่เห็นด้วยเหมือนกันนะ เช่น ท่องคัพท์ควรจะท่องหน้าที่ของคำด้วย มันจะเป็นการทำให้เบื่อมากกว่า (ยกเว้นคนที่สนใจทางด้านภาษาจริงๆ)อีกอย่างดูจากหนังสือที่ครูสอนภาษาอังกฤษเขียนมา แหมมันเยอะเหลือเกิน มันอาจจะทำให้คนอ่าน (เราหละคนนึง) หมดกำลังใจเรียนเลย ส่วนตัวไม่เคยอ่านหนังสือพวก Grammar in Use หรือBritish English (เล่มสีฟ้า) American English (เล่มสีม่วงอ่อน) หรือ  Advanced English Grammar in Use เลย ก็เลยไม่กล้าวิจารณ์มาก แต่คิดว่ามันไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่หลังจากไปดูตัวอย่างข้างในหนังสือบางเล่มจาก amazon.com ... มันกลับน่าเบื่อสะอีก วิธีเรียนแกรมม่าร์ "ควรจะ" ไม่ใช่แบบนี้ มันน่าจะมาจากการอ่านหนังสือเยอะๆ มากกว่า ลองให้อ่านหนังสือแบบฝึกหัดแกรมมาร์มากๆ ก็ยังไม่สามารถใช้ articles ได้ถูกเท่าคนที่อ่านหนังสือทั่วไปเยอะๆ  (ความเห็นส่วนตัว)ยังไงก็ขอให้ทุกคนโชคดีจ้า ฝึกเข้าไว้ผมใช้ก็แค่ Grammar in Use มีทั้ง 3 เล่มแต่ใช้หลักๆอยู่เล่มเดียว แต่ว่างๆก็พยายามอ่านทั้งหมดโดยส่วนตัวการพัฒนาการอ่านของผมแล้วผมจะเลือกอ่านสิ่งที่ผมอยากอ่านไปเลยเช่น หนังสือ หรือ เน็ท ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อะไรพวกนี้ หนังสือพิมพ์ก็จะอ่านที่มันเป็นภาษาอังกฤษไปเลยผมไม่อ่านพวกหนังสือพิมพ์แปล ยิ่งอ่านผมยิ่งท้อใจเอง
อ่านแล้วแปลไม่ตรงกับเขานะ
เรียนเจ้าของกระทู้ครับตอนนี้ผมกำลังอยู่ต่างประเทศ และกำลังเก็บเงินเพื่อเรียนต่อปริญญาโทอยู่ในสาขาวิชาเกี่ยวกับล่าม
ภาษาอังกฤษของตัวผมเองนั้น ถ้าเทียบกับเจ้าของกระทู้แล้วคงจะเรียกว่าอยู่ในระดับเลว เพราะมั่นใจว่าตอนนี้ตัวเองคงสอบIELTS ได้ไม่ถึง 5.0 ด้วยซ้ำ (แต่ยังไม่เคยสอบ)
ตอนนี้เริ่มมุศึกษาภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง เพราะตั้งเป้าว่าจะต้องทำคะแนนให้ได้ 7.0 ตามที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ  ปัญหาก็คือตอนนี้ผมไม่สามารถเข้าเรียนโรงเรียนภาษา Direct Entry หรือคอร์สภาษาอื่นๆได้เนื่องจากมันแพงมหันต์และต้องการเก็บเงินไว้เรียนปริญญาโทมากกว่าทางด้านทักษะการพูด ฟัง หรือ อ่านนั้น ไม่กังวลนัก เพราะฝึกฝนตรงนี้มานานแต่ที่กังวลคือทักษะการเขียน ทุกวันนี้พยายามอ่านหนังสือทุกๆวัน ซึ่งปฏิบัติมา ๒ ปีเต็มแล้ว แต่ทิ้งทักษะการเขียนไปเกือบ ๑ ปีและที่สำคัญตอนนี้ผมต้องฝึกฝนตรงนี้ด้วยตนเอง เพราะไม่ได้เรียนโรงเรียนภาษาเหมือนเมื่อก่อนแล้วจึงอยากถามว่า ถ้าต้องการฝึกทักษะการเขียน ในสถานภาพของผมตอนนี้ ไม่ทราบว่าจะมีวิธีอย่างไรที่เราจะพัฒนาการเขียนของเราให้ถูกต้อง โดยที่เราไม่มีครูสอนภาษาหรือคนที่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษมากๆมาคอยตรวจให้ครับ เพิ่งกลับมามุหัดเขียนใหม่ไม่ถึงเดือน โดยอ้างอิงตามหนังสือ Ready to Write More :From Paragraph to Essayของ Karen Blanchard & Christine Root อยู่ครับกลัวว่าที่ฝึกเขียนเองอยู่นี้ จะเป็นแบบคิดเองเออเองน่ะครับ ห่วงว่าถ้าไม่มีคนเช็คให้จะเป๋ไปไกลครับ


[1] จากกระทู้ที่ดีที่สุดกระทู้หนึ่งใน www.pantip.com/cafe ครับ

ยินดีค่ะที่เข้ามาแนะนำสิ่งดีให้

ป.ล.ทุกคนคิดถึงพี่นอตนะ(ห้องเรียนอาจารย์เเหวว)

มาอ่านความเห็นของพี่นอตนี้ดีกว่าเพื่อนๆ ดีมากๆ

. . . อ่ะนะได้ข่าวว่าอาจารย์เปลี่ยนไปเรียกเธอแทน อิอิ

เนี่ย เด๋วจะ fwd ไปให้ทุกคน

 

ดีมากค่ะพี่

เป็นคนช่างสรรหาอย่างมาก

อาจารย์แหวว เมื่อ พ. 21 มิ.ย. 2549 @ 21:22 จาก 58.9.97.172   ลบ

น่าสนใจค่ะ ช่วยอธิบายศัพท์ทางกฎหมายเศรษบกิจระหว่างประเทศด้วยซิคะ

1. การบวกตัวเลข เฉพาะตามข้างล่างนี้

ทำไมใช้ ได้ทั้งสองอย่าง คือ is และ  are

เช่น Two and two is(are) four.

หรือว่าผมเข้าใจผิดครับ

เอาเฉพาะรูปแบบตามตัวอย่างข้างบนนี้นะครับ

 ขอบคุณสำหรับวิทยาทานล่วงหน้าด้วยครับและถ้ามีข้อมูลต่างประเทสยืนยันผมขอรบกวนท่านด้วยครับ

 

สมชาติ

 

 

ที่เหนห้อคุยกาน2คนที่แหละนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท