กิจกรรมเวทีประสานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์


เครือข่าย

       จากการเข้าร่วม  โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายเพื่อหนุนเสริมคุณภาพการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร (LLEN)

       กิจกรรมแรก "เวทีประสานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์" วันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ณ ห้องประชุมคณะวิทยาการการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

       การสร้างหรือการกำหนดเครือข่ายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนของนักเรียน  โดยมีบุคคล  หรือกลุ่มคน  หรือองกรค์  หรือผู้สนับสนุนโครงการ  ให้สามารถดำเนินต่อไปได้  ก็ด้วยความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ คือ เด็กและเยาวชน  ครู  ผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียน  อบต.  อบจ.  เขตพื้นที่การศึกษา  ชุมชน  เอกชน  และมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

       เพื่อเป็นการสร้างจุดเปลี่ยนใหม่ๆ ด้านคุณภาพการเรียนรู้  ซึ่งสิ่งสำคัญของการสร้างเครือข่ายก็เพื่อ

       1.  สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

       2.  การเรียนรู้เป็นทีม

       3.  การสร้างความรู้

       กิจกรรมที่สอง "การชี้แจงโครงการ LLEN และการจัดตั้งเครือข่าย  การประสานงานของบุคลากร"  วันที่ 23 ตุลาคม 2552  ณ ห้องประชุมคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

       คำชี้แจงโครงการ LLEN กำแพงเพชร

       1.  โครงการ LLEN กำแพงเพชร เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายหนุนเสริมคุณภาพการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชน  ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร  สนับสนุนโดย สกว. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และเครือข่ายอื่นๆ เช่น อบต. อบจ. และเทศบาล

       2.  ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (24 เดือน คือ เดือน กันยายน 2552- กันยายน 2554)

       3.  โรงเรียนที่เป็นเป้าหมาย จำนวน 20 โรงเรียน ครูวิทยาศาสตร์ ประมาณ 40 คน ผู้บริหาร 20-40 คน นักเรียน ประมาณ 1500 คน ครูพี่เลี้ยงประมาณ 13 คน และนักวิจัย 6 คน

       4.  ตัวชี้วัด  (1)มีทีมครูวิทยาศาสตร์และพี่เลี้ยงที่ประสานงานกันและเรียนรู้ร่วมกัน  (2)มีกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ครูวิทยาศาสตร์ และครูพี่เลี้ยงร่วมกันพัฒนา  (3)มีกิจกรรมเครือข่ายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 เดือน/ครั้ง  (4)นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ ทักษะวิทยาศาสตร์ โดยมีข้อมูลอ้างอิง (5)มีครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบเพิ่มขึ้นของครูที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 50

        5.  กิจกรรมหลักของโครงการ  (1)อบรมด้านองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้ ทักษะต่างๆ การสร้างเครื่องมือ ทางด้านวิทยาศาสตร์  (2)ฝึกทำข้อเสนอโครงการเพื่อวิจัยพัฒนาผู้เรียน  (3)เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย  (4)ค่ายครูวิทยาศาสตร์  (5)เวที/ค่ายนักเรียน/การศึกษานอกสถานศึกษา  (6)เวที/นิทรรศการเผยแพร่ ยกย่อง ผลงานครู  (7)การศึกษาดูงานของครู

        กิจกรรมที่สาม "การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคและวิธีสอนวิทยาศาสตร์"  วันที่ 14 พฤศจิกายน 2552  ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  โดย  อาจารย์ทองคำ  ดิษอิสระ (ครูโรงเรียนวัชรวิทยา)

        กิจกรรมีการฝึกปฏิบัติเทคนิคและวิธีสอนวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วย กิจกรรมสร้างเมืองน่าอยู่  กิจกรรมแยกเมล็ดพืช  กิจกรรมหาความยาวเส้น  และกิจกรรมสร้าง Model แบบจำลองโครงกระดูก  กิจกรรมที่ได้ทำนั้นเป็นกิจกรรมที่สามาถนำไปฝึกปฏิบัติให้กับนักเรียน  เกิดทักษะและความสามารถดังนี้

         1.  กิจกรรมเมืองน่าอยู่  ฝึกการออกแบบ  การจัดระบบ  การวางผังเมืองของแต่ละกลุ่ม  เพื่อให้ได้เมืองที่น่าอยู่  อีกทั้งยังฝึกการทำงานร่วมกัน  ด้วยความสามัคคีและการยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ในกลุ่ม

         2.  กิจกรรมแยกเมล็ดพืช  ส่งเสริมการประมวลความรู้เพื่อให้ได้วิธีการที่ดีที่สุดของการแยกเมล็ดพืชให้ได้รวดเร็ว  ส่งเสริมทักษะการสังเกต  การจำแยกประเภท การให้ความร่วมมือ  การแบ่งงานกันทำ  การคัดเลือกวิธีการที่เหมาะสมและรวดเร็ว

         3.  กิจกรรมหาความยาวเส้น  ฝึกทักษะความสามารถด้านการสังเกต  การวัด  การคำนวณ  ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา  และการประมวลความรู้เพื่อเลือกใช้วัสดุในการวัด

         4.  กิจกรรมสร้างแบบจำลองโครงกระดูก  ฝึกทำงานเป็นกลุ่มรวมกลุ่มกันทำแบบจำลองสร้างการทำงานเป็นกลุ่ม

         กิจกรรมทั้ง 4 นี้ยังส่งเสริมการฝึกทักษะการคิด  คือ  ความคิดสร้างสรรค์ (คิดริเริ่ม  คิดคล่อง  คิดละเอียดลออ  คิดยืดหยุ่น) อีกด้วย

         กิจกรรมที่สี่  "การอบรมการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติเพื่อสร้างสรรค์โครงงานวิทยาศาสตร์"  วันที่ 19 ธันวาคม 2552  ณ  สถาบันวิจัยและพํฒนา ชั้น 7 อาคาร 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพช  โดย  คุณปราโมทย์  ธรรมรัตน์  (หน่วยสร้างสำนึกและพัฒนาประโยชน์จากเอกสารสิทธิบัตรเพื่อการวิจัยและพัฒนา)

         เป็นการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรจาก www.toryod.com  ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากเป็นเว็บที่รวบรวมสิทธิบัตรทั้งของต่างประเทศและในประเทศ  รวมทั้งยังมีโปรแกรมแปลภาษาที่สามารถ link เข้าไปใช้บริการได้อีกด้วย

       กิจกรรมที่ห้า "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย LLEN กำแพงเพชร  วันที่ 7 มีนาคม 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

       กิจกรรมได้ส่งเสริมการนำเสนอความคิดของแต่ละบุคคลลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ ซึ่งมีสีแตกต่างกันแต่ได้ความคิดที่หลากหลายเกี่ยวกันการดำเนินงานของเครือข่าย  การให้ความเห็นในการจัดกิจกรรมของครู  การให้ความช่วยเหลือของโรงเรียน  แนวทางในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา

       กิจกรรมที่หก "การอบรมพัฒนาสื่อการสอน Clay Animation วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  โดย อาจารย์ภาราดร  นาคพงษ์ (ครูโรงเรียนบ้านทรงธรรม)

       กิจกรรมมุ่งเน้นการสร้าง Clay Animation ที่สร้างโดยโปรแกรม Movie Maker ซึ่งเป็นโปรแกรมใน Windows  เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยการใช้ภาพนิ่งหลายภาพมาต่อกัน  โดยมีการกำหนด Story board ก่อนเพื่อวางแผนการทำงานว่าจะสร้างภาพนิ่งจากภาพใดก่อน  ภาพนั้นเกิดจากการปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่ต้องการโดยให้มีมิติของภาพด้วย  กลุ่มเครือข่ายได้สร้าง Clay Animation ในการอบรมดังนี้

       1.  การเขียนภาพที่เกิดจากเลนส์นูน

       2.  วัฏจักรน้ำ

       3.  ลมบกลมทะเล

       4.  วันแห่งความสุข (ระบบสืบพันธุ์)

       5.  การแบ่งเซลล์

       6.  การแพร่

คำสำคัญ (Tags): #llen
หมายเลขบันทึก: 363753เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2010 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท