ระบบฟัตวา ศึกษาเปรียบเทียบระบบฟัตวาในมาเลเซียและสิงคโปร์


การฟัตวาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของสังคมมุสลิม  เพราะเป็นการปรับตัวบททางศาสนากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสถานที่  ประเทศมุสลิมและประเทศที่มีมุสลิมเป็นชนส่วนน้อยในประเทศต่างๆ    มีการฟัตวาในรูปแบบที่แตกต่างๆ กันตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ในแต่ละสังคม บ้างมีกฎหมายรองรับอย่างเป็นทางการ บ้างมีรูปแบบตามจารีตประเพณีโดยไม่มีกฎหมายรองรับ  การฟัตวาของประเทศที่มุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่และมีกฎหมายบัญญัติให้อิสลามเป็น ศาสนาประจำชาติ ย่อมแตกต่างจากประเทศมุสลิมที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ  และแตกต่างจากประเทศที่ประกาศเป็นประเทศที่แยกศาสนาออกจากการเมือง  ดังรูปแบบการฟัตวาในมาเลเซีย ที่มุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่และมีกฎหมายบัญญัติให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และสิงคโปร์ที่มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยและประกาศเป็นประเทศรัฐฆราวาสที่แยกศาสนา ออกจากการเมืองการปกครอง

 

นิยามของฟัตวา

                   ฟัตวา (  فتوى) เป็นคำนามที่เป็นรากศัพท์ (اسم مصدر ) มีความหมายเดียวกับคำว่า อิฟตาอ์ และอาจอ่านว่า “ ฟุตยา ” หรือ “ ฟุตวา ” ก็ได้ ในความหมายเชิงภาษาศาสตร์  หมายถึง  การให้คำอธิบายสิ่งที่ไม่ชัดเจนและการถามตอบทั่วไป [1] ศูนย์ภาษาอาหรับ ( مجمع اللغة العربية ) แห่งอียิปต์ ให้ความหมายว่า หมายถึงการชี้แจงทางกฎหมายอิสลามและกฎหมายอื่นๆ [2]   ส่วนความหมายเชิงวิชาการ  อัลเกาะรอฟีย์ ให้ความหมายว่า หมายถึง  การชี้แจงบทบัญญัติของอัลลอฮฺโดยไม่บังคับ  [3] ชัยค์ญาดุลฮัก เห็นว่า นักกฎหมายอิสลามและนักวิชาการด้านหลักกฎหมายอิสลาม มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการให้ความหมายของการฟัตวาว่า การชี้แจงบทบัญญัติของอัลลอฮฺจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม โดยทั่วไป  [4]  

ลักษณะทั่วไปของการฟัตวาในมาเลเซีย 

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำสหพันธ์มาเลเซีย  ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์มาเลเซีย  มาตรา  3  กฎหมายการฟัตวาในมาเลเซียมีมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานแล้ว การฟัตวาเป็นแหล่งที่มาประการหนึ่งของกฎหมายมาเลเซีย  สถาบันฟัตวามีอยู่ในทุกๆรัฐ และมีความเป็นเอกเทศไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของสถาบันฟัตวาระดับชาติ นอกจากกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้  อำนาจหน้าที่ของสถาบันฟัตวาในมาเลเซีย จะแตกต่างจากอำนาจหน้าที่ของสภาศาสนาอิสลามหรือศาลชะรีอะฮฺ ซึ่งความแตกต่างกันตามกฎหมายของรัฐนั้นๆ           สถาบันฟัตวาในมาเลเซียมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม  อธิบายความคลุมเครือเกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลาม และมีบทบาทสูงในการเผยแพร่อิสลามในมาเลเซีย [5]  มุฟตีย์ของรัฐต่างๆ ในประเทศมาเลเซีย อยู่ภายใต้โครงสร้างการบังคับบัญชาของสภาศาสนาอิสลามของรัฐ   และจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดบางประการ  เช่น รัฐกลันตัน  สลังงอร์  ยะโฮร์ และตรังกานู มีตำแหน่งรองมุฟตีย์  ระดับขั้นของมุฟตีย์ของรัฐต่างๆ ไม่เท่าเทียมกัน  กฎหมายของบางรัฐ ให้อำนาจฟัตวาแก่คณะกรรมการฟัตวาในนามองค์คณะทำการฟัตวา แม้ว่ามุฟตีย์ขาดประชุมพิจารณาก็ตาม  จำนวนคณะกรรมการฟัตวาของรัฐต่างๆ มีจำนวนระหว่าง  5 -17 คน และองค์ประชุมมีจำนวนระหว่าง  3 -10 คน  คณะกรรมการฟัตวาของรัฐต่างๆ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายอิสลาม  มีทั้งกรรมการที่มีปริญญาและตำแหน่งทางวิชาการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่มีปริญญา  เจ้าหน้าที่ของสำนักงานมุฟตีย์มีจำนวนระหว่าง  5 -13 คน [6]

 

ประเภทของการฟัตวาในมาเลเซีย

การฟัตวาในมาเลเซีย แบ่งตามลักษณะการบัญชาของที่ประชุมสภากษัตริย์               มี 2  ประเภท คือ  การฟัตวาตามบัญชาของที่ประชุมสภากษัตริย์  การฟัตวาโดยไม่มีบัญชาจากที่ประชุมสภากษัตริย์

                                การฟัตวาตามบัญชาของที่ประชุมสภากษัตริย์  เริ่มจากที่ประชุมสภากษัตริย์มีบัญชาให้คณะกรรมการฟัตวาแห่งชาติทำการฟัตวา เกี่ยวกับกรณีใดๆที่เกิดขึ้นในสังคม   คณะกรรมการฟัตวาจะจัดการฟัตวาระดับมูซากะเราะฮฺ  หากว่าที่ประชุมเห็นชอบให้ฟัตวาเป็นอย่างไร สภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซียจะนำคำฟัตวาดังกล่าวไปเสนอต่อที่ประชุม สภากษัตริย์  คำฟัตวาที่ที่ประชุมสภากษัตริย์เห็นชอบจะได้รับการนำกลับไปยังคณะกรรมการฟัตวา ประจำรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่คณะกรรมการฟัตวาประจำรัฐต่างๆไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำฟัตวาดังกล่าวได้ และจะมีการนำคำฟัตวาดังกล่าวประกาศในหนังสือประจำรัฐต่างๆ  คำฟัตวาประเภทนี้  ได้แก่ คำฟัตวาในกรณีการประกาศให้อัลอัรกอมเป็นองค์กรผิดกฎหมายอิสลาม และคำฟัตวาในกรณีที่ทำให้พ้นสภาพการเป็นมุสลิม

                                การฟัตวาโดยไม่มีบัญชาจากที่ประชุมสภากษัตริย์ มีขึ้นตามคำขอฟัตวาของสังคมมุสลิม  จะมีการศึกษากรณีตามคำขอ และนำเสนอผลการศึกษาต่อที่ประชุมกฎหมายอิสลาม  ในกรณีที่จำเป็นจะต้องศึกษาเพิ่มเติม จะถูกนำเสนอต่อการประชุมระดับมูซากะเราะฮฺ  ของคณะกรรมการฟัตวาแห่งชาติ สภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย    ผลการฟัตวาเป็นอย่างไร จะได้รับการนำไปยังคณะกรรมการฟัตวาประจำรัฐต่างๆ   โดยที่คณะกรรมการฟัตวาประจำรัฐต่างๆ สามารถแก้ไขเพิ่มเติมฟัตวาดังกล่าวได้ และจะมีการนำฟัตวาดังกล่าวประกาศในหนังสือประจำรัฐต่างๆ  คำฟัตวาประเภทนี้ ได้แก่คำฟัตวาในกรณีการประกาศให้การโคลนนิ่งมนุษย์เป็นสิ่งผิดกฎหมายอิสลาม

            การฟัตวาในมาเลเซียแบ่งตามลักษณะความเป็นทางการ   สามารถแบ่งออกเป็น 3  ประเภท คือ  คำฟัตวาที่มีการประกาศในหนังสือราชการ  คำฟัตวาไม่มีการประกาศในหนังสือราชการ  การตอบปัญหาศาสนาของมุฟตีย์โดยส่วนตัวอย่างไม่เป็นทางการ

คำฟัตวาไม่มีการประกาศในหนังสือราชการ ได้แก่  กรณีคำฟัตวาที่หน่วยงานที่มีอำนาจฟัตวาในรัฐนั้นๆไม่ได้ส่งไปยังหน่วยงานของรัฐ เพื่อประกาศในหนังสือราชการ  และกรณีมุฟตีย์มีอำนาจตอบฟัตวาไปยังผู้ขอฟัตวาโดยตรง  อย่างไรก็ตามหากว่าการฟัตวาดังกล่าวเป็นการขอฟัตวาอย่างเป็นทางการ โดยมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยวาจา ฟัตวาดังกล่าวก็ยังมีผลผูกพันผู้ที่เกี่ยวข้อง

                                ส่วนการตอบปัญหาศาสนาของมุฟตีย์โดยส่วนตัวอย่างไม่เป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นการตอบด้วยวาจา  หรือเป็นลายลักษณ์อักษร  มีผลผูกพันผู้ถามเท่านั้น

 

การแต่งตั้งมุฟตีย์และคณะกรรมการฟัตวาของมาเลเซีย

                                การฟัตวาในมาเลเซียมีสองระดับคือ ระดับชาติและระดับรัฐ ในระดับชาติมีคณะกรรมการฟัตวาแห่งสภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย  ( Majlis Hal Ehwal Islam  Malaysia ) ทำหน้าที่ฟัตวา  สภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซียเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฟัตวา  โดยที่สภานี้อยู่ภายใต้อำนาจของสภากษัตริย์แห่งสหพันธ์ ( Majlis Raja-Raja ) [7]  คณะกรรมการฟัตวาระดับชาติประกอบไปด้วยมุฟตีย์ของรัฐในสหพันธ์มาเลเซียทุกคน และกรรมการอื่นที่สภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซียเป็นผู้แต่งตั้ง โดยมีสถาบัน  JAKIM ( Jabatan Kemajuan Islam  Malaysia ) ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ [8]

การฟัตวาในระดับรัฐ   มีลักษณะที่ไกล้เคียงกันทุกรัฐ [9] สุลต่านแห่งรัฐจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฟัตวาโดยคำแนะนำของสภาศาสนาอิสลาม แห่งรัฐ [10]   ดังกรณีมุฟตีย์ของรัฐญะโฮร์    พระราขบัญญัติการบริหารศาสนาอิสลาม(รัฐญะโฮร์) 2003  (EN 16/2003)  บัญญัติว่า  สุลต่านแห่งรัฐ ภายใต้คำแนะนำของสภาศาสนาอิสลาม  ทำหน้าที่แต่งตั้งบุคคลใดๆ ที่เหมาะสมเป็นมุฟตีย์และรองมุฟตีย์  (  มาตรา 44(1) )

 

อำนาจหน้าที่มุฟตีย์ของมาเลเซีย

ในระดับชาติ คณะกรรมการฟัตวาแห่งสภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย ทำหน้าที่ฟัตวาในกรณีที่มีลักษณะดังนี้

  1. เป็นกรณีทางศาสนาที่ไม่มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น  แต่เกี่ยวข้องกับมวลมุสลิมในมาเลเซีย
  2. เป็นกรณีทางศาสนาที่เกิดขึ้นในรัฐหนึ่งและมีโอกาสเกิดขึ้นในรัฐอื่นได้
  3. เป็นกรณีทางศาสนาที่มีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น แต่มีลักษณะดังเงื่อนไข ข้อ 1 และ 2

คณะกรรมการฟัตวาแห่งสภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย ยังมีอำนาจที่จะรับคำขอฟัตวาจากหน่วยงานใดๆ ในประเทศ [11]

                ฟัตวาระดับชาตินี้ยังแบ่งออกเป็น  2 ระดับ คือฟัตวาที่มีมติเป็นเอกฉันท์ และได้เสนอต่อสภาสภากษัตริย์แห่งสหพันธ์รัฐเพื่อนำไปประกาศใช้ในรัฐต่างๆ  และฟัตวาระดับมุซากะเราะฮฺ  ที่ผูกพันเฉพาะมุฟตีย์แห่งรัฐที่เห็นด้วยเท่านั้น [12]

ส่วนในระดับรัฐ  องค์กรที่มีอำนาจฟัตวามี     3  รูปแบบคือ

1. การฟัตวาโดยสภาศาสนาอิสลามแห่งรัฐ  ได้แก่การฟัตวาในรัฐเคดะห์  เปอร์ลิส  ตรังกานู  ญะโฮร์และกลันตัน   ในรัฐเหล่านี้ เมื่อคำขอฟัตวาในเรื่องใดๆ  เลขานุการสภาจะเป็นผู้เสนอคำขอดังกล่าวต่อคณะกรรมการกฎหมายอิสลาม ( กลันตัน เรียกว่า  สภาอุลามะอ์  ญะโฮร์และตรังกานู เรียกว่า คณะกรรมการฟัตวา ) ฟัตวาที่ออกมายึดเสียงส่วนใหญ่และออกในนามสภาศาสนาอิสลามแห่งรัฐ   

  1. การฟัตวาโดยมุฟตีย์  ได้แก่ รัฐสลังงอ  เขตสหพันธ์รัฐ   [13]  รัฐเปรักและรัฐปีนัง   รัฐเหล่านี้ มุฟตีย์มีหน้าที่เรียกประชุมคณะที่ปรึกษาศาสนา เพื่อพิจารณาปัญหาที่จะทำการฟัตวา  โดยที่มุฟตีย์มีอำนาจที่จะฟัตวาตามทัศนะที่เห็นว่าเหมาะสม และความเห็นของที่ปรึกษาไม่ผูกพันมุฟตีย์

3. การฟัตวาโดยคณะกรรมการกฎหมายอิสลาม  ได้แก่ รัฐมะละกา  ในรัฐนี้เมื่อมีคำขอฟัตวามายังมุฟตีย์  มุฟตีย์จะต้องมอบให้คณะกรรมการกฎหมายอิสลาม เพื่อศึกษาและทำร่างฟัตวา  และฟัตวานั้นออกในนามคณะกรรมการกฎหมายอิสลาม [14]  

                          มุฟตีย์และคณะกรรมการฟัตวาระดับรัฐ มีอำนาจแตกต่างกันไปตามกฎหมายของแต่ละรัฐ     เช่นกรณีรัฐญะโฮร์  พระราขบัญญัติการบริหารศาสนาอิสลาม(รัฐญะโฮร์) 2003  (EN 16/2003)  บัญญัติว่า มุฟตีย์มีหน้าที่ 

1. ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่สุลต่านและรัฐบาลแห่งรัฐ ในด้านบทบัญญัติอิสลามทั้งปวง และเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่สูงสุดในด้านดังกล่าวถัดจากสุลต่านแห่งรัฐญะโฮร์  เว้นแต่กรณีที่กฎหมายนี้ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น  ( มาตรา 45 ) 

2. อำนาจในการฟัตวา เกี่ยวเนื่องกับมาตรา  51  ตามบัญชาของสุลต่านแห่งรัฐ  ตามความประสงค์ของมุฟตีย์เอง หรือตามคำร้องอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรของบุคคลใดๆ  ที่ส่งถึงมุฟตีย์  มุฟตีย์มีอำนาจทำการฟัตวาต่อปัญหาใดๆ ที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยอันเด็ดขาดแล้ว  หรือต่อความไม่ชัดเจนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติอิสลาม ( มาตรา 45 ) 

3.  การรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฟัตวาแห่งชาติ ( มาตรา  52 )

4.  คณะกรรมการฟัตวา มีอำนาจรับการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฟัตวาแห่งชาติ ในกรณีใดๆ ที่สภากษัตริย์เห็นชอบ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นทั่วไปในสหพันธ์  ตามที่บัญญัติไว้ในบรรพ 2(b)  มาตรา  38 ในรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ (มาตรา 47)

5. การให้คำปรึกษาแก่ศาล  หากว่าศาลใดเว้นแต่ศาลชะรีอะฮฺ  มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อชี้ขาดของบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามในกรณีใดๆ  ศาลนั้นมีสิทธิที่จะขอปรึกษาคณะกรรมการฟัตวาในกรณีดังกล่าวได้  และมุฟตีย์มีสิทธิที่จะให้คำปรึกษาของคณะกรรมการฟัตวาต่อศาลที่ร้องขอนั้น ( มาตรา  53 )

 

ทัศนะหลักที่ใช้ในการฟัตวาของมาเลเซีย 

ทัศนะหลักที่ใช้ในการฟัตวาของมุฟตีย์ของรัฐต่างๆ ในมาเลเซียส่วนใหญ่ยกเว้นรัฐเปอร์ลิส คือทัศนะหลักของสำนักกฎหมายชาฟิอีย์ ดังกรณีพระราขบัญญัติการบริหารศาสนาอิสลาม(รัฐญะโฮร์) 2003  (EN 16/2003)  มาตรา  54 บัญญัติว่า

                (1)  ในการฟัตวา ตามมาตรา  48 หรือการให้คำปรึกษาตามมาตรา 53  คณะกรรมการฟัตวาจะต้องฟัตวาตามทัศนะหลักของสำนักกฎหมายชาฟิอีย์ 

                 (2) หากคณะกรรมการฟัตวาเห็นว่าการฟัตวาตามทัศนะหลักของสำนักกฎหมายชาฟิอีย์  ขัดแย้งกับประโยชน์อันสังคมพึงมีพึงได้  คณะกรรมการฟัตวามีสิทธิที่จะตามทัศนะหลักในสำนักกฎหมายหะนะฟีย์  มาลิกีย์หรือฮัมบะลีย์

                (3) หากคณะกรรมการฟัตวาเห็นว่า ไม่มีทัศนะหลักของสำนักกฎหมายทั้งสี่สามารถที่จะปฎิบัติตามได้โดยไม่นำไปสู่การ ขัดแย้งกับประโยชน์ของสังคม    คณะกรรมการฟัตวามีสิทธิที่ฟัตวาโดยไม่ยึดติดกับทัศนะหลักของสำนักกฎหมายทั้งสี่

                                กรณีของรัฐเปอร์ลิส  การฟัตวาของคณะกรรมการกฎหมายอิสลามแห่งรัฐเปอร์ลิส   ไม่ยึดทัศนะทางกฎหมายอิสลามของสำนักกฎหมายอิสลามใดๆ เป็นการเฉพาะ แต่จะใช้ทัศนะทางกฎหมายอิสลามของสำนักกฎหมายอิสลามใดๆ ก็ได้ตามน้ำหนักแหล่งที่มาของกฎหมาย ตามกฎหมายสถาปนารัฐเปอร์ลิส ( Law of the Constitution  of  Perlis ) ภาค 2 มาตรา 5 วรรค  1  ที่บัญญัติว่า “ ศาสนาประจำรัฐคือศาสนาอิสลามอะหฺลิสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ที่มีการนับถือและปฏิบัติในรัฐ ” และกฎหมายการบริหารกิจการศาสนาอิสลาม 1964  ภาค 2  มาตรา  7(4) บัญญัติว่า “ การให้คำฟัตวาของสภาและการให้คำปรึกษาของคณะกรรมการกฎหมายอิสลาม จะต้องตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺ ”   จากกฎหมายดังกล่าวปรากฎชัดเจนว่ารัฐเปอร์ลิสไม่เน้นการตามทัศนะทางกฎหมาย อิสลามของสำนักกฎหมายอิสลามใดๆเป็นการเฉพาะดังเช่นรัฐอื่นๆ[15] 

กระบวนการการฟัตวา

กระบวนการการฟัตวาในมาเลเซีย กำหนดวิธีการฟัตวาตั้งแต่เริ่มศึกษาจนกระทั่งการประกาศในหนังสือราชการดังนี้         

คำขอฟัตวาที่ถูกเสนอโดยประชาชนทั่วไปหรือหน่วยงานราชการ หรือองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นคำขอที่เป็นลายลักษณ์อักษร  โทรศัพท์  หรือผู้ขอฟัตวามายังสำนักงานด้วยตนเอง  จะมีขั้นตอนดังนี้

ก.   กรณีที่ง่ายดาย  ชัดเจน  ไม่มีผลกระทบต่อส่วนรวม  และไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้า  โดยปกติแล้วมุฟตีย์จะตอบโดยตนเองทันที

ข.   กรณีที่ไม่ชัดเจน  หรือมีผลกระทบต่อส่วนรวม หรือจำเป็นต้องศึกษาและพิจารณา จะมีการนำเข้าไปยังที่ประชุมหน่วยงานที่มีอำนาจฟัตวาในรัฐนั้นๆเพื่อศึกษา พิจารณาและตัดสินชี้ขาด  โดยที่การประชุมนั้นจะมีมุฟตีย์เป็นประธาน  และที่ประชุมประกอบด้วยคณะอุละมาอ์ในรัฐนั้นๆ ที่สภาศาสนาอิสลามแห่งรัฐแต่งตั้งและได้รับความเห็นชอบจากสุลต่านแห่งรัฐแล้ว

ค.   หากว่ากรณีที่ขอฟัตวานั้นเป็นกรณีระดับชาติ จะมีการนำกรณีดังกล่าวไปยังการประชุมระดับมุซากะเราะฮฺ  ของคณะกรรมการฟัตวาแห่งชาติ สภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย เพื่อศึกษาและชี้ขาด     โดยที่ประชุมประกอบด้วยมุฟตีย์ของทุกรัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาอิสลาม  ที่สภากษัตริย์แต่งตั้ง

 หากว่ากรณีดังกล่าวจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  มุฟตีย์แห่งรัฐต่างๆจะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยของหน่วยงานที่มีอำนาจฟัตวาทำการศึกษา และทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์  หากว่ากรณีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเทคนิคด้านต่างๆ  ผู้เกี่ยวข้องก็จะถูกเชิญมาให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ แล้วหน่วยงานที่มีอำนาจฟัตวาในรัฐต่างๆ จะทำการประชุมเพื่อตัดสินชี้ขาดต่อไป 

สถานะทางกฎหมายของฟัตวา 

ฟัตวาที่ได้รับการประกาศในหนังสือราชการ จะมีผลผูกพันต่อมุสลิมชาวมาเลเซียทุกคนไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศใด 

กรณีรัฐญะโฮร์  ฟัตวาที่ประกาศ หรือส่งไปยังผู้ร้องแล้วมีผลผูกพันตามกฎหมาย    ฟัตวาที่ประกาศ หรือส่งไปยังผู้ร้องแล้ว มีผลผูกพันผู้นับถือศาสนาอิสลามทุกคนในรัฐญะโฮร์  ในฐานะเป็นคำสอนของศาสนาอิสลาม ที่ชาวมุสลิมมีหน้าที่เชื่อฟังคำสอนของศาสนาที่ปรากฏในฟัตวาดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับการยกเว้นจากคณะกรรมการฟัตวาตามกฎเกณฑ์ทางศาสนา  (มาตรา  49)

 

การละเมิดต่อฟัตวา

                                ในกรณีฟัตวาที่ได้รับการประกาศในหนังสือราชการ  กฎหมายของรัฐต่างๆบัญญัติให้สภาศาสนาอิสลามแห่งรัฐเป็นผู้มีอำนาจฟ้องร้องมุสลิม ที่ฝ่าฝืนฟัตวาต่อศาลชะรีอะฮฺ  เช่น   สภาศาสนาอิสลามแห่งรัฐ มีอำนาจฟ้องร้องมุสลิมผู้ละเมิดฟัตวาต่อศาลชะรีอะฮฺ  และมีอำนาจประกาศว่า หนังสือ  แผ่นซีดี  เทป  ภาพยนตร์ใดๆ ว่าละเมิดบทบัญญัติศาสนาต่อศาลชะรีอะฮฺได้[16]

รัฐต่างๆของมาเลเซียทุกรัฐมีกฎหมายบัญญัติความผิดฐานละเมิดต่อฟัตวา  เป็นความผิดเฉพาะชาวมุสลิมมาเลเซียที่จำหน่าย จ่ายแจก เผยแพร่ทัศนะใดๆ เกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลามในรูปแบบของฟัตวาที่ขัดแย้งกับฟัตวาใดๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ศาลชะรีอะฮฺมีอำนาจพิพากษาบุคคลที่กระผิดความผิดฐานละเมิดต่อฟัตวา ในความผิดอาญาทางศาสนาโดยการลงโทษปรับหรือจำคุก  เช่น  ความผิดฐานละเมิดต่อฟัตวาตามกฎหมายของรัฐเคดะห์ กลันตัน เปอร์ลิส และตรังกานู  มีโทษปรับไม่เกิน  5,000  เหรียญ และหรือจำคุกไม่เกิน  3  ปี [17]

 

การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกฟัตวา กรณีรัฐญะโฮร์

การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกฟัตวา พระราขบัญญัติการบริหารศาสนาอิสลาม(รัฐญะโฮร์) 2003  (EN 16/2003)  มาตรา  50  บัญญัติว่า

(1) คณะกรรมการฟัตวามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกฟัตวาที่ประกาศ หรือส่งไปยังผู้ร้องแล้วตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายฉบับก่อนๆ

 

ข้อจำกัดของการฟัตวา

ตามกฎหมายของรัฐต่างๆ ในมาเลเซีย ไม่ว่าอำนาจของคณะกรรมการฟัตวา จะเป็นอย่างไร  เมื่อคณะกรรมการฟัตวาเห็นว่าคำขอฟัตวาที่เสนอมากระทบกับประโยชน์ของชาติ  คณะกรรมการฟัตวาต้องหยุดการพิจารณาคำขอฟัตวาดังกล่าว และเสนอต่อสภาศาสนาอิสลาม ( Majlis Agama Islam ) แห่งรัฐ

 

การฟัตวาในสิงคโปร์

                สิงคโปร์เป็นประเทศที่มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย  แต่มีสถาบันฟัตวาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย  มุฟตีย์ดำรงตำแหน่งกรรมการพิเศษของสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์ ( Majlis Ugama  Islam Singapura ) จนกระทั่งหมดวาระเวลาการดำรงตำแหน่ง  สภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์และประชาชนทั่วไปมีสิทธิขอคำฟัตวาจากคณะกรรมการ กฎหมาย ในกรณีใดๆที่เกี่ยวกับบทบัญญัติศาสนาอิสลาม [18] ในสิงคโปร์  มุฟตีย์และคณะกรรมการฟัตวาของสิงคโปร์แต่งตั้งตามพระราชบัญญัติการบริหาร กฎหมายอิสลาม ( Administration of Muslim Law Act ) มาตรา  30 – 33  การฟัตวาจะกระทำเป็นองค์คณะเรียกว่า คณะกรรมการกฎหมาย   และจะต้องเป็นมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการกฎหมายทั้งหมด  หากกรณีใดที่ไม่สามารถมีมติเป็นเป็นเอกฉันท์ได้  ก็จะถูกส่งไปยังสภาสูงสุดของสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์  สมาชิกสภาจะเลือกทัศนะใดๆ  ที่ยังประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด  อย่างไรก็ตามข้อชี้ขาดที่ได้มาจากมติที่ประชุมสภาสูงสุดของสภาศาสนาอิสลาม แห่งสิงคโปร์ไม่ถือว่าเป็นฟัตวา เป็นเพียงข้อแนะนำทั่วไปเท่านั้น

 

การแต่งตั้งมุฟตีย์และคณะกรรมการฟัตวาของสิงคโปร์

การแต่งตั้งมุฟตีย์และคณะกรรมการฟัตวาของสิงคโปร์  เป็นการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติการบริหารกฎหมายอิสลาม ( Administration of Muslim Law Act ) มาตรา  30 – 33   กฎหมายนี้บัญญัติให้ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นผู้แต่งตั้งมุฟตีย์  ตามคำแนะนำของที่ประชุมสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์ และการแต่งตั้งมุฟตีย์ของสิงคโปร์จะต้องประกาศในหนังสือ  Gazette [19]

 

การแต่งตั้งคณะกรรมการกฎหมายของสิงคโปร์

คณะกรรมการกฎหมายของสิงคโปร์ประกอบด้วย

1. มุฟตีย์เป็นประธาน

2. สมาชิกสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์ที่มีความเหมาะสมจำนวน  2 คนซึ่งปกติแล้วจะเป็นอุลามาอ์ทั้งสองคน

3. อุลามาอ์อื่นๆ ที่ไม่เป็นสมาชิกสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์จำนวน  2  คน ( มาตรา 31(1) )

คณะกรรมการเหล่านี้มีวาระการดำรงตำแหน่งตามวาระที่ประธานาธิบดีสิงคโปร์เห็น สมควร  ( มาตรา 31(3) ) ซึ่งในปัจจุบันกำหนดคราวละ  3  ปี

ตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1990  ได้มีการขยายตำแหน่งองค์ประชุมคณะกรรมการกฎหมาย  โดยการเชิญผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน  8  คน  ในการพิจารณากรณีที่มีการขอคำฟัตวา เพื่อความรอบคอบยิ่งขึ้นและเป็นการฝึกบุคลากรที่เป็นอุลามาอ์รุ่นใหม่ให้มีประสบการณ ์และพร้อมจะเป็นผู้สืบทอดในด้านนี้ต่อไป

คณะกรรมการกฎหมายทั้งสี่คนดังกล่าว ได้รับการแต่งตั้งตามความเหมาะสมโดยพิจารณาคุณสมบัติด้านการจบการศึกษาระดับ อุดมศึกษาด้านศาสนาอิสลาม   และประธานาธิบดีแห่งสิงคโปร์เป็นผู้แต่งตั้งตามคำแนะนำของสภาศาสนาอิสลามแห่ง สิงคโปร์และรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านกิจการมุสลิมสิงคโปร์  หลังจากแต่งตั้งแล้วก็จะประกาศในหนังสือราชการ

 

อำนาจหน้าที่มุฟตีย์แห่งสิงคโปร์

                อำนาจหน้าที่ของมุฟตีย์สิงคโปร์ได้แก่

-      เป็นประธานคณะกรรมการฟัตวา ตามกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลาม ตามที่บัญญัติ ในมาตรา  30 – 33

-      ให้คำแนะนำด้านศาสนาแก่สภาสูงสุดของสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์ หรือคณะกรรมการอื่นๆ ของสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์

-      กระทำการพร้อมกับประธานาธิบดีและเลขานุการประธานาธิบดี เพื่อการตัดสินใจใดๆ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

-      ประกาศการเริ่มต้นเดือนเราะมาฎอน เชาวาลและอีดิลอัฎฮา 

-      จัดทำปฏิทินอิสลาม และกำหนดเวลาละหมาดในสิงคโปร์

-      ประกาศปริมาณซะกาตฟิฎร์

-      ทำหน้าที่เกี่ยวกับคุฎบะฮฺวันศุกร์ และวันอีดทั้งสองของสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์

-      ทดสอบและเห็นชอบการแต่งตั้งอิหม่ามและบิลาล ของมัสยิดในสิงคโปร์

-      ให้คำแนะนำด้านศาสนาอิสลามในกรณีต่างๆที่เกิดขึ้น [20]

ส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฎหมายของสิงคโปร์ได้แก่  

  1. การฟัตวาและให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายอิสลามแก่ผู้ร้องขอตามที่กฎหมาย กำหนดไว้
  2. ประชุมไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง  หากมีความจำเป็นอาจจะประชุมมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้

ในการประชุมของคณะกรรมการกฎหมาย องค์ประชุมจะต้องประกอบด้วยมุฟตีย์และกรรมการอย่างน้อยสองคน ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มต่างกัน หมายถึง หนึ่งคนจากสมาชิกสภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์และอีกหนึ่งคนไม่ใช่สมาชิก สภาศาสนาอิสลามแห่งสิงคโปร์  ทั้งนี้เพื่อป้องมิให้การฟัตวามีความลำเอียงหรือหมิ่นเหม่ต่อความเข้าใจผิดได้  กรณีที่กรรมการสองคนที่มาประชุมมาจากกลุ่มเดียวกัน  ข้อชี้ขาดที่เกิดขึ้นจากการประชุมเป็นเพียงทัศนะไม่ถือว่าเป็นฟัตวา  [21]

 

ทัศนะหลักที่ใช้ในการฟัตวาในสิงคโปร์ 

พระราชบัญญัติการบริหารกฎหมายอิสลามของสิงคโปร์บัญญัติให้คณะกรรมการกฎหมาย จะต้องฟัตวาตามสำนักกฎหมายชาฟิอีย์   หากกรณีดังกล่าวเป็นทัศนะที่ขัดกับผลประโยชน์ส่วนรวมแล้ว   คณะกรรมการฟัตวามีสิทธิที่จะตามทัศนะในสำนักกฎหมายอื่นๆ ได้ แต่ต้องแสดงรายละเอียดพร้อมคำอธิบายที่จำเป็นทั้งหมด ( มาตรา 33(1) ) ในกรณีที่คณะกรรมการกฎหมายได้รับคำร้องขอความเห็นของสำนักกฎหมายใดๆ เป็นการเฉพาะ ให้ฟัตวาตามความเห็นในสำนักกฎหมายนั้นๆ ( มาตรา 33(2) ) อย่างไรก็ตามการฟัตวาของคณะกรรมการกฎหมายของสิงคโปร์มักเลือกใช้ทัศนะที่ง่าย และสะดวกที่สุด และได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการแล้ว  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้สังคมประสบกับความยากลำบากในการปฏิบัติตามคำสอน ของศาสนา

 

กระบวนการการฟัตวา

กระบวนการฟัตวาในสิงคโปร์  ทุกคนสามารถทำหนังสือถึงเลขาธิการสภาศาสนาอิสลาม ร้องขอให้สภาศาสนาอิสลามวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม( มาตรา 32(4) ) เมื่อเลขาธิการได้รับหนังสือร้องขอแล้วจะต้องส่งหนังสือนั้นไปยังประธานคณะกรรมการ กฎหมายโดยทันที ( มาตรา 32(1) )

คณะกรรมการกฎหมายจะต้องพิจารณาทุกคำร้อง เว้นแต่เห็นว่าปัญหาที่ส่งมานั้นไม่มีสาระ หรือคณะกรรมการมีเหตุผลอื่นที่จะไม่ตอบก็ได้  

ในการทำคำวินิจฉัยปัญหา จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากสมาชิก

ประธานคณะกรรมการกฎหมาย ในนามคณะกรรมการฟัตวาจะต้องนำส่งคำวินิจฉัยตามนั้นโดยทันที  แต่ถ้าในกรณีที่คณะกรรมการกฎหมายไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ จะต้องส่งปัญหาไปยังสภาศาสนาอิสลาม ในการวินิจฉัยปัญหานั้นให้ถือตามเสียงข้างมาก ( มาตรา 32(2) )

ถ้าศาลใด รวมถึงศาลชะรีอะฮฺ มีปัญหาข้อกฎหมายอิสลามในการตัดสินคดี ศาลนั้นอาจขอความเห็นของสภาศาสนาอิสลาม ปัญหานั้นจะต้องส่งไปยังคณะกรรมการกฎหมาย คณะกรรมการกฎหมายในนามของสภาศาสนาอิสลาม จะต้องสรุปความเห็นในเรื่องนั้น โดยถือเอาเสียงข้างมากและรับรองความเห็นไปยังศาลที่ขอความเห็นมา ( มาตรา 32(5) )[22]

หากมีความจำเป็นคณะกรรมการกฎหมายอาจเชิญผู้ขอฟัตวา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือองค์กร มาให้ข้อมูลเพิ่มเติม และหากจำเป็น คณะกรรมการกฎหมายอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่มีการขอคำฟัตวา มาให้ข้อมูลที่เป็นรายละเอียดก่อนที่จะมีการฟัตวา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนกิจ  เช่น  การแพทย์  วิทยาศาสตร์  เศรษฐศาสตร์และการเงิน หรืออื่นๆ

 

เปรียบเทียบรูปแบบการฟัตวาในมาเลเซียและสิงคโปร์

การฟัตวาของมาเลเซียและสิงคโปร์ มีทั้งที่สอดคล้องกันและแตกต่างกัน ในส่วนที่มีความสอดคล้องกัน ได้แก่

  1. การมีคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับของมุฟตีย์ในสังคมมุสลิม  โดยที่การแต่งตั้งมุฟตีย์ของมาเลเซีย กฎหมายบัญญัติให้แต่งตั้งจากบุคคลที่มีความเหมาะสม ส่วนของสิงคโปร์บัญญัติให้แต่งตั้งบุคคลที่สภาศาสนาอิสลามเห็นชอบ 
  2. การแต่งตั้งโดยประมุขแห่งรัฐ  โดยที่การแต่งตั้งมุฟตีย์ของมาเลเซียกฎหมายบัญญัติให้กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจ แต่งตั้ง ส่วนมุฟตีย์ของสิงคโปร์กฎหมายบัญญัติให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง 
  3. ทัศนะหลักที่ใช้ในการฟัตวา ทัศนะหลักที่ใช้ในการฟัตวามุฟตีย์ของมาเลเซียและสิงคโปร์ การฟัตวาหรือการให้คำปรึกษานั้น  คณะกรรมการฟัตวาจะต้องใช้ทัศนะหลักของสำนักกฎหมายชาฟิอีย์ แต่หากคณะกรรมการฟัตวาเห็นว่าการยึดทัศนะหลักของสำนักกฎหมายชาฟิอีย์  ขัดแย้งกับประโยชน์ของสังคม    คณะกรรมการฟัตวามีอำนาจที่จะทำการฟัตวาโดยไม่ยึดติดกับทัศนะของสำนัก กฎหมายอิสลามทั้งสี่ อันได้แก่  สำนักกฎหมายหะนะฟีย์  มาลิกีย์  ชาฟิอีย์และหัมบะลีย์  

อย่างไรก็ตาม กฎหมายของสิงคโปร์  ยังให้กำหนดว่ากรณีที่คณะกรรมการกฎหมายได้รับคำร้องขอความเห็นสำนักกฎหมาย อิสลามใดๆเป็นการเฉพาะ ก็จะต้องทำการฟัตวาตามความเห็นในสำนักกฎหมายนั้นๆ

ในส่วนที่การฟัตวาของประทศมาเลเซียและสิงคโปร์มีความแตกต่างกันนั้นมีดังต่อไปนี้

  1. โครงสร้างของสถาบันฟัตวาของทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกัน  มาเลเซียมีสถาบันฟัตวาระดับชาติและระดับรัฐ ในขณะที่สิงคโปร์มีเพียงระดับเดียว

                ในระดับชาติ มีคณะกรรมการฟัตวาของสภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย ทำหน้าที่ฟัตวา               คณะกรรมการฟัตวาระดับชาติประกอบไปด้วยมุฟตีย์ของรัฐต่างๆ ในสหพันธ์มาเลเซียทุกคนและกรรมการอื่นที่สภากิจการศาสนาอิสลามแห่งมาเลเซีย เป็นผู้แต่งตั้ง

ส่วนในระดับรัฐ  การฟัตวาสามารถแบ่งได้    3  รูปแบบคือ การฟัตวาโดยสภาศาสนาอิสลา

หมายเลขบันทึก: 363263เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หากว่าในประเทศไทยจะมีการฟัตวาปัญหาศาสนา ดังนั้น แน่นอนว่าย่อมต้องมีมุฟตีย์ที่ทำการชี้ขาดปัญหาศาสนา แล้วสถานภาพของของคนไทยที่จะขึ้นเป็นมุฟตีย์นั้น มีคุณสมบัติที่สามารถฟัตวาได้หรือเปล่า เพราะคนที่จะทำการฟัตวาได้นั้น ต้องประกอบด้วยเงื่อนไขมากมายจึงจะชี้ขาดบทบัญญัติศาสนาได้

 

ระดับขั้นของนักวินิจฉัยบทบัญญัติอิสลาม (   المجتهد )   


       ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ผู้มีสติปัญหาให้การยอมรับก็คือ  บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามนั้นไม่ได้อยู่ระดับเดียวกัน  แต่พวกเขามีหลายระดับและหลายฐานะ  และจากสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง   สำหรับผู้ที่แสวงหาวิชาความรู้  ก็คือ  ต้องทราบถึงตำแหน่งและระดับของนักปราชญ์นิติศาสตร์  จนกระทั่งเขาสามารถนำมาอยู่ในลำดับแรกกับทัศนะของนักปราชญ์ที่เขาควรนำมาอยู่ก่อนและสามารถนำมาไว้ลำดับหลังกับทัศนะของนักปราชญ์ที่ควรนำมาอยู่หลัง

        ด้วยเหตุนี้  ท่านอิมามอัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์  ได้กล่าวว่า “การตระหนักถึงระดับความรู้ของนักปราชญ์นิติศาสตร์  การกล่าวถึงความประเสริฐ  และอธิบายถึงความเลื่อมล้ำของพวกเขานั้น  ถือว่าเป็นสุนัตสำหรับนักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟะกีฮ์) เพื่อให้มนุษย์พึ่งพาพวกเขาในเจริญรอยตามประเด็นที่มีปัญหาต่างๆ  เกิดขึ้น  และก็ทำการยึดทัศนะของพวกเขา”  ดู  หนังสืออัลฟะกีฮ์ วะ อัลมุตะฟักกีฮ์ เล่ม 2 หน้า 139

ท่านอัลค่อฏีบ  ได้อ้างหลักฐานจากสิ่งดังกล่าวด้วยหะดิษมากมาย  เช่นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

إنى لا أدرى ما قدر بقائى فيكم فأقتدوا بالذين من بعدى وأشار إلى أبى بكروعمر

“แท้จริง  ฉันไม่รู้ว่าจะคงอยู่กับพวกท่านได้นานขนาดใหน  ดังนั้น  พวกท่านจงเจิรญรอยตาม 2 คนหลังจากฉัน  แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ก็ชี้ไปยังท่านอบูบักรและท่านอุมัร”  รายงานโดย  ท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์และอิบนุอบีชัยบะฮ์

           ปวงปราชญ์ได้ทำการอธิบายถึงระดับขั้นต่างๆ  ของนักปราชญ์นิติศาสตร์ไว้ในหนังสืออุซูลุลฟิกฮฺและหนังสือฟิกฮฺ  ซึ่งส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ที่ทำการอธิบายถึงขั้นระดับต่างๆ  ของนักปราชญ์นิติศาสตร์ คือ ท่านอิมาม มุหัดดิษ  อบูอัมร์ อิบนุ เศาะลาห์  , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ , ท่านอิบนุ หัมดาน อัลหัมบาลีย์ , ท่านอิบนุตัยมียะฮ์
(ของอัลเลาะฮ์ทรงเมตตาต่อพวกเขา) และท่านอื่นๆ 


บทสรุปคำอธิบายของนักปราชญ์

นักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

ประเภทที่ 1 . مجتهد مستقل   นักปราชญ์ผู้วินิจฉัยเอกเทศน์ เหตุที่เรียกดังกล่าวนี้  เพราะเขาได้มีความเป็นเอกเทศน์ในการรอบรู้ถึงฮุกุ่มต่างๆ ของศาสนา  ที่ได้รับมาจากหลักฐานต่างๆ  โดยไม่ได้ทำการตักลีดนักปราชญ์คนใด  และไม่จำกัดอยู่ในหลักพื้นฐานของการวินิจฉัยจากนักปราชญ์ที่อยู่ก่อนจากเขา 
ดังนั้น  นักปราชญ์นิติศาสตร์ประเภทนี้  ต้องมีบรรดาคุณลักษณะที่ทำให้เขามีคุณสมบัติในระดับสูงนี้

ด้วยเหตุนี้  บรรดานักปราชญ์ของเรากล่าวว่า  นักปราชญ์นิติศาสตร์ประเภทดังกล่าว  ต้องมีเงื่อนไขต่อไปนี้

1.   เขาจะต้องเที่ยงตรงในการรอบรู้ถึงบรรดาหลักฐานต่างๆ  ของศาสนา  จากอัลกุรอาน  ซุนนะฮ์  อิจญฺมาอ์  และกิยาส (เทียบเคียง) และสิ่งที่เกี่ยวข้องในเชิงรายละเอียด

2.   เขาจะต้องรอบรู้ในเงื่อนไขของบรรดาหลักฐานต่างๆ  , ข้อบ่งชี้ของมัน  , และรู้ถึงวิธีการดึงหลักการต่างๆ  จากหลักฐานเหล่านั้น  ซึ่งกรณีนี้ศึกษาได้จากวิชามูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม

3.   รอบรู้ถึงหลักการต่างๆ  ของอัลกุรอาน  หะดิษ  ตัวบทที่มายกเลิก  ตัวบทที่ถูกยกเลิก  หลักไวยากรณ์  หลักภาษาอาหรับ  หลักนิรุกศาสตร์ (ซ่อร๊อฟ)  ทัศนะขัดแย้งและเห็นพ้องของปวงปราชญ์  ด้วยขนาดที่เขาสามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการอ้างหลักฐานและดึงหลักการออกมา

4.   เขาต้องเป็นผู้มีความชำนาญและมีคุณสมบัติในการนำหลักการดังกล่าวมาใช้

5.   เขาต้องรอบรู้ถึงหลักนิติศาสตร์  และจดจำประเด็นปัญหาและข้อปลีกย่อยต่างๆ  ที่สำคัญ

         ดังนั้น  ผู้ใดที่มีคุณสมบัติเหล่านี้  เขาก็สามารถเป็นมุฟตี  มุจญฮิดมุฏลัก(ผู้ไม่จำกัดอยู่ในหลักมูลฐานการวินิจฉัยของปราชญ์ท่านอื่น) หรือมุจญฮิดมุสตะกิล(ผู้เป็นเอกเทศน์ในการวินิจฉัย)  ซึ่งถือว่าเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์

        ส่วนหนึ่งจากผู้บรรดานักปราชญ์ได้มีมติสอดคล้องกันว่า  บุคคลที่เป็นผู้ถึงขั้นระดับมุจญฮิดมุฏลักหรือมุสตะกิลนั้น  อาทิเช่น ....

       ระดับซอฮาบะฮ์  คือ  ท่านอบูบักร , ท่านอุมัร , ท่านอุษมาน , ท่านอาลี , ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด , ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบาส , ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร , ท่านมุอาซฺ , และท่านอื่นๆ  (ขออัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยแก่พวกเขาด้วยเทอญ)

       ตาบิอีน  จากนักปราชญ์ทั้ง 7 แห่งนครมะดีนะฮ์  คือ ท่าน สะอีด อิบนุ อัลมุซัยยับ , ท่านอุรวะฮ์ บิน ซุบัยร์ , ท่านอัลกอซิม บิน มุหัมมัด ,  ท่านอบูบักร บิน อับดุรเราะหฺมาน , ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อับดิลเลาะฮ์ บิน อุตบะฮ์ บิน มุสอูด , ท่านสุไลมาน บิน ยะซาร , ท่านคอริญะฮ์ บิน ซัยด์

      ระดับตาบิอิตตาบิอีน  เช่น  ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ , ท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ , ท่านอบูหะนีฟะฮ์ , ท่านอิมามมาลิก , ท่าน อัลลัยษ์ บิน สะอัด , ท่านอัชชาฟิอีย์ , ท่านอัลเอาซะอีย์ , ท่านอะหฺมัด บิน หัมบัล , และท่านอื่นๆ อีกมากมาย

ประเภทที่ 2 . มุฟตี(มุจญฮิด) ที่ไม่เป็นเอกเทศน์ แต่เขาได้ตามอิมามคนหนึ่งที่เป็นมุจญฮิดมุสตะกิล(นักวินิจฉัยที่เป็นเอกเทศน์) และทำการพาดพิงมัซฮับของเขาไปยังมัซฮับของอิมามท่านนั้น

นักปราชญ์ประเภทนี้  มีอยู่หลายระดับด้วยกัน

ระดับที่ 1 .  المجتهد المطلق المنتسب  ปราชญ์ผู้วินิจฉัยที่เป็นเอกเทศน์อีกทั้งพาดพิงไปยังมัซฮับอิมามท่านใดท่านหนึ่ง  เหตุที่เรียกว่า المطلق (มุฏลัก) เพราะว่า  การวินิจฉัยของเขานั้น  ได้ครอบคลุมถึงประเด็นข้อปลีกย่อยต่างๆ  ทางนิติศาสตร์หรือหลักมูลฐานและกฎต่างๆ ของนิติศาสตร์อิสลาม  และเพราะว่าการวินิจฉัยของเขาได้อยู่ในทุกๆ วิชาการต่างๆ  ที่เป็นมาตราในการวินิจฉัย  และบรรดานักปราชญ์ที่อยู่ในระดับนี้  คือผู้ที่ถึงขั้นรับผู้ที่มีความรู้ขั้นสูง โดยที่พวกเขาก็มีเงื่อนไขและคุณสมบัติต่างๆ เช่นเดียวกับมุจญฮิดมุสตะกิล  แต่เขาได้พาดพิงตนเองไปยังมัซฮับอิมามที่เขาตามอยู่  เพื่อเขาจะได้นำหลักการของอิมามท่านนั้นมาเป็นแนวทางในการวินิจฉัย  ทั้งที่ในความเป็นจริง  เขาไม่ได้เป็นผู้ที่ตักลีดตามอิมามท่านนั้น หรือตามมัซฮับและหลักฐานของอิมามท่านนั้น  และฟัตวาของปราชญ์ที่อยู่ในระดับขั้นนี้  ก็ย่อมเสมือนกับฟัตวาของมุจญตะฮิดมุฏลักซึ่งสามารถนำมาปฏิบัติได้ และสามารถนับเข้ามามีบทบาทอยู่ในมติหรือการขัดแย้งของปวงปราชญ์ได้

        ส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ที่มีคุณลักษณะถึงระดับขั้นนี้  อาทิเช่น  อิมามอบูยูซุฟ , อิมามมุหัมมัด บิน หะซัน อัชชัยบานีย์  จากนักปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์  , อิมามอิบนุ อัลกิซิม , อิมามอิบนุ วะฮฺบ์ , อิมามอัชฮับ  จากนักปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ , อิมามอัลมุซะนีย์ ,อิมามอัลบุวัยฏีย์ , อิมามอิบนุ มุนซิร , อิมามอิบนุ ญะรีร  อัฏฏ๊อบรีย์  จากนักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์

ระดับที่ 2 . أصحاب الوجوه  (อัศฮาบ อัลวุญูฮ์) หรือ المجتهد المقيد(มุจญฮิดมุก๊อยยัด)
นักปราชญ์ระดับนี้  ย่อมมีระดับที่ต่ำกว่านักปราชญ์ระดับแรก  เพราะฉะนั้น  การวินิจฉัยของพวกเขาได้ถูกจำกัดอยู่ในมัซฮับอิมามของพวกเขา  ดังนั้น  นักปราชญ์ที่ถึงระดับนี้  จึงมีสามารถวิเคราะห์มัซฮับอิมามของพวกเขาด้วยกับหลักฐานได้  แต่เขาจะไม่วินิจฉัยหลักฐานต่างๆ  ให้เกินเลยไปจากหลักมูลฐาน(อุซูล)และกฎเกณฑ์นิติศาสตร์(ก่อวาอิด)ต่างๆ ของมัซฮับอิมามของเขา

นักปราชญ์ระดับนี้  ต้องมีเงื่อนไขต่อไปนี้

1.   เขาต้องรอบรู้หลักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกห์)

2.   เขาต้องชำนาญในหลักวิชามูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม

3.   เขาต้องรอบรู้บรรดาหลักฐาน ของฮุกุ่มต่างๆ  แบบรายละเอียด

4.   มีความรู้แจ้งในหลักการต่างๆ ของการกิยาส(เทียบเคียง) และความหมายภาษาอาหรับ

5.   มีความชำนาญอย่างยิ่งในการดึงและวิเคราะห์ฮุกุ่มออกมา

6.   เขาต้องมีความสามารถต้องการเทียบเคียงฮุกุ่มที่ไม่มีตัวบทมาระบุในมัซฮับอิมามของเขา  ด้วยกับหลักมูลฐานและกฎเกณฑ์ต่างๆ  ทางด้านนิติศาสตร์ของอิมาม

          นักปราชญ์ที่อยู่ในระดับนี้  จะไม่พ้นจากการตักลีดตามอิมาม   สาเหตุดังกล่าว  ก็คือ  เขาไม่มีความถนัดในบางสาขาวิชาและหลักการต่างๆ  ที่เป็นคุณลักษณะอยู่ในมุจญฮิดมุสตะกิล  เช่น  เขาไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาหะดิษและหลักวิชาภาษาอาหรับ

        ท่านอิมามอิบนุ ศ่อลาห์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์ และท่านอื่นๆ ได้กล่าวอธิบายถึงคุณลักษณะของนักปราชญ์ระดับนี้ว่า  “ส่วนมากแล้ว  จะเกิดความบกพร่องด้วยกับสองวิชานี้ – คือหะดิษและหลักภาษาอาหรับ – จะเกิดขึ้นในตัวของนักปราชญ์มุจญฮิดมุก๊อยยัด

        ท่านอิมามอิบนุศ่อลาห์ , ท่านอิมามนะวาวีย์ , ท่านอิมามอิบนุ หัมดาน อัลหัมบาลีย์ , และท่านอิมามอัชชาฏิบีย์   ได้กล่าวว่า “นักปราชญ์ระดับนี้ได้เอาตัวบทต่างๆ ของอิมามของเขามาเป็นหลักมูลฐานในการวินิจฉัย  เฉกเช่นกับนักมุจญฮิดมุสตะกิลได้เอาตัวบทของอัลกุรอานและซุนนะฮ์โดยตรงมาทำการวินิจฉัย

ระดับที่ 3 . مجتهد الفتوى   ปราชญ์ผู้วินิจฉัยในด้านฟัตวา   นักปราชญ์ระดับนี้  ไม่ถึงขั้นระดับนักปราชญ์ระดับที่สอง  แต่เขามีหัวใจในความเป็นนักนิติศาสตร์  จดจำหลักการมัซฮับอิมาม  รอบรู้ถึงบรรดาหลักฐานต่างๆ  ของมัซฮับอิมาม  มีความสามารถในการยืนยันหลักฐาน  สามารถฉายประเด็น  วางระเบียบ  วิเคราะห์  วางบริบท  ขัดเกลา  และให้น้ำหนักได้  แต่เขามีระดับลดลงมาจากนักปราชญ์ระดับที่สอง  เพราะเขามีความชำนาญในการวินิจฉัยและรอบรู้หลักมูลฐานนิตศาสตร์และอื่นๆ  น้อยกว่านักปราชญ์ระดับที่สอง

         ส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ระดับนี้  คือ  ท่านอัฏเฏาะหาวีย์  , ท่านอัลกัรคีย์ ,  ท่านอัซซัรคอซีย์  จากนักปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ ,   ท่านอัลมาซิรีย์ , ท่านอัลกอฏีย์ อับดุลวะฮาบ , ท่านอัลกอฏีย์ อิยาฏ  จากนักปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ , ท่านอิมามอัลฆอซะลีย์ , ท่านอัรรอฟิอีย์ , ท่านอิมามอันนะวาวีย์  จากนักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ , ท่านอิบนุ อัลกุดามะฮ์ , ท่านอิบนุตัยมียะฮ์  จากนักปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์ 

ระดับที่ 4 . أصحاب الترجيح فى المذهب  คือ พวกเขาไม่มีความสามารถในการวินิจฉัย(อิจญติฮาด) แต่พวกเขามีความรอบรู้ในหลักมูลฐานนิติศาสตร์และมีความจำประเด็นต่างๆ ที่ได้รับจากหลักฐาน   มีความสามารถอธิบายถึงรายละเอียดของทัศนะอันรวบรัดที่ตีความได้ทั้งสองแง่มุม  หรือฮุกุ่มที่ยังมีความเข้าใจคลุมเครือที่สามารถตีความได้เป็นสองแนวทาง  ซึ่งเป็นประเด็นที่ถ่ายทอดมาจากเจ้าของมัซฮับหรือจากบรรดาสานุศิษย์ของอิมามมัซฮับนั้น

           ส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ที่อยู่ในระดับนี้  เช่น  ท่านปรมาจารย์  อาลี อิบนุ อบีบักร อัลมิรฆีนานีย์  เจ้าของหนังสือ  อัลฮิดายะฮ์  จากนักปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์ , ท่านอัลหัฏฏ๊อบ  นักปราชญ์จากมัซฮับมาลิกีย์ , ท่านอัลอิสนาวีย์  นักปราชญ์จากมัซฮับชาฟิอีย์ , ท่านอิบนุ มุฟลิหฺ  นักปราชญ์จากมัซฮับหัมบาลีย์

ระดับที่ 5 . حفظة المذهب  บรรดานักปราชญ์ที่จดจำหลักการของมัซฮับ  คุณสมบัติของพวกเขา  คือ  นักปราชญ์ที่ทำการจดจำหลักการของมัซฮับ  ทำการถ่ายทอด  และเข้าใจในประเด็นต่างๆ  ที่มีความชัดเจนและเข้าใจยาก แต่เขาไม่มีความสันทัดในการยืนยันหลักฐานและวิเคราะห์หลักการกิยาสของมัซฮับ  ดังนั้น  นักปราชญ์ระดับนี้  สามารถยึดการฟัตวาและการถ่ายทอดของเขาจากสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในมัซฮับ
หรือจากตัวบทคำพูดของอิมามของเขาได้  และสามารถยึดการแจงรายละเอียดทัศนะของนักปราชญ์มุจญฮิดในมัซฮับของอิมามของเขาได้ 

         จุดประสงค์ของการจดจำมัซฮับ  คือ  การที่หลักการส่วนมากของมัซฮับนั้น  อยู่ในสมองของเขา  และเขามีความชำนาญจากการรับรู้ส่วนประเด็นที่เหลือได้ไม่ยากนัก 

        ส่วนหนึ่งจากนักปราชญ์ที่อยู่ในระดับนี้  เช่น  ท่านอิมาม อิบนุ นุญัยม์ , ท่านอิมามอิบนุอาบิดีน จากนักปราชญ์มัซฮับหะนะฟีย์  , ท่านอิมามอัดดุซุกีย์ , ท่านอิมามอัศศอวีย์  จากนักปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ ,  ท่านอิมามอิบนุ หะญัร อัลฮัยตะมีย์ , และท่านอิมามรอมลีย์  จากนักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ ,  ท่านอิมามอัลมัดดาวีย์ , ท่านอิมามอัลบุฮูตี  จากนักปราชญ์มัซฮับหัมบาลีย์ 

ระดับที่ 6 . المشتغل بالمذهب  นักปราชญ์ที่สนใจหลักการของมัซฮับ  ซึ่งคุณลักษณะนี้จะไม่สมควรได้รับนอกจาก 3 ประการ

1.   เขาต้องรอบรู้ประเด็นการสังกัดมัซฮับ  อย่างแท้จริงหรือโดยรวม

2.   เขาต้องรอบรู้ถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ  จากทัศนะที่ได้รับยึดถือของมัซฮับ

3.   เขาต้องมีความชำนาญจากการรอบรู้อยู่  3  ข้อ

ข้อ 1 . เขาต้องรู้ถึงศัพท์เชิงวิชการของมัซฮับ

ข้อ 2 . เขาต้องรู้หลักการต่างๆ ของมัซฮับ  ซึ่งจะสามารถจะรู้ได้จาก 2  แหล่งด้วยกัน

แหล่งที่ 1 . บรรดากฎเกณฑ์และหลักมูลฐานต่างๆ ทางด้านนิติศาสตร์ของมัซฮับ  ซึ่งศึกษาได้จาก  วิชามูลฐานนิติศาสตร์อิสลาม(อุซูลุลฟิกห์)

แหล่งที่ 2 .  รู้ในด้านของเชิงปฏิบัติ  ซึ่งสามารถรู้ได้จากวิชานิติศาสตร์อิสลาม(วิชาฟิกห์)

แหล่งที่  3 . เขาต้องรู้ถึงบทต่างๆ  ที่จะค้นคว้าประเด็นข้อปลีกย่อย   เช่น  เมื่อเขาต้องการจะทราบประเด็นเรื่อง  การปิดเอาเราะฮ์   บทที่ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น  คือ  บทที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาด  ในบทย่อยของเงื่อนไขการละหมาด  ในประเด็นย่อยของเงื่อนไขการปกปิดเอาเราะฮ์  และสามารถค้นคว้าประเด็นนี้ได้ใน  เรื่องนิกาห์   บทที่ว่าด้วยเรื่อง  การอนุญาตให้ชายผู้สู่ขอมองหญิงที่ถูกสู่ขอ

ดังนั้น ผมจึงอยากทราบว่า หากว่าวันนึง มีสภาพฟัตวาขึ้นมาจริงๆ ในเมืองไทย มุฟตีย์ของไทย จะอยู่ในขั้นไหน จากระดับขั้นเหล่านี้ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท