การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอน เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3)


4.  การทดลองใช้แบบ  1:1  จำนวน  3  คน

                4.1  การนำผลจากการทดลองใช้ไปปรับปรุง / แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

                จากการนำผลจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุงแล้วนำมาทดลองใช้กับนักเรียนพบว่า  นักเรียนมีความสนใจ  กระตือรือร้นที่จะเรียน  และเข้าใจชุดการสอนง่ายขึ้น  สามารถทำแบบฝึกปฏิบัติได้         

                4.2  ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา  (E1 / E2)

                การทดลองและพัฒนา  เป็นการตรวจสอบคุณภาพของชุดการสอนที่ใช้กันโดยทั่วไป  และเชื่อถือว่ามีมาตรฐานจะมี  3  ขั้นตอน  ดังนี้

                                การทดลองแบบ  1:1  เป็นการชุดการสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียน  3  คน  ที่มีความสามารถต่างกันคือ  เก่ง  ปานกลาง  และอ่อน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการใช้งานและความสอดคล้องเหมาะสมในด้านต่างๆ อย่างละเอียดจากการสังเกตพฤติกรรมการใช้งานของนักเรียน  และนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่พบให้สมบูรณ์

                                การทดลองกลุ่มเล็ก  เป็นการนำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนตั้งแต่  5 – 10 คน  ที่มีความสามารถต่างกันทั้ง  เก่ง  ปานกลาง  และอ่อน  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของชุดการสอนที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น  และนำผลมาแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง

                                การทดลองกลุ่มใหญ่  เป็นการนำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียนตั้งแต่  30  คนขึ้นไป  เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดการสอน  ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

                                       หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอน  ซึ่งเกณฑ์ที่ยอมรับว่า  ชุดการสอนมีประสิทธิภาพนั่นคือ  ด้านความรู้  ความจำ  E1 / E2  จะต้องมีค่า  80 / 80  ขึ้นไป  ส่วนในด้านทักษะปฏิบัติ  E1 / E2  จะต้องมีค่า  70 / 70  ขึ้นไป  โดยที่ค่า  E1 / E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ  5             

                                       หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน  โดยการวิเคราะห์จากคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทำได้กับคะแนนเต็ม  ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน  ซึ่งเกณฑ์การยอมรับว่า  บทเรียนมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริง  จะต้องมีค่าตั้งแต่  0.50  ขึ้นไป

การทดลองใช้แบบ  1:1  จำนวน  3  คน  หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการ

สอน    ได้ดังนี้

                E1  =    82.22

                E2  =   80

หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน  ได้ดังนี้

                ค่าดัชนีประสิทธิผล  =     0.54

บทสรุปการหาประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา

1.  ค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC)  ที่เกิดขึ้น 

จากการหาประสิทธิภาพค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่เกิดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง  3  ท่าน  ประกอบด้วย  ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ  ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร  หาค่า  IOC ได้เท่ากับ  8.33  ซึ่งเกณฑ์ประสิทธิภาพของค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่  0.50  ขึ้นไป  แสดงว่าชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพ  สามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้

2.  ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา  (E1 / E2)

                2.1  หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอน 

จากการหาเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอน  ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ  82.22 / 80  หมายความว่า  ประสิทธิภาพกระบวนการของชุดการสอนเท่ากับ  82.22  และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ  80  ซึ่งเกณฑ์ที่ยอมรับว่า  ชุดการสอนมีประสิทธิภาพนั่นคือ  ด้านความรู้  ความจำ  E1 / E2  จะต้องมีค่า  80 / 80  ขึ้นไป  ส่วนในด้านทักษะปฏิบัติ  E1 / E2  จะต้องมีค่า  70 / 70  ขึ้นไป  โดยที่ค่า  E1 / E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 5 แสดงว่าชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพ  สามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้

               2.2  หาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน 

จากการหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน  โดยวิเคราะห์จากคะแนนที่นักเรียนทำได้ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน  พบว่ามีประสิทธิผลเท่ากับ  0.54  ซึ่งเกณฑ์การยอมรับว่า  บทเรียนมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริง  จะต้องมีค่าตั้งแต่  0.50  ขึ้นไป  แสดงว่าชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพ  สามารถนำไปใช้กับนักเรียนได้

หมายเลขบันทึก: 363260เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท