การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอน เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (1)


1. กระบวนการจัดทำ / การผลิต

                ชุดการสอน เรื่องการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

                1.1  ขั้นวางแผน  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ดังนี้

                             1.1.1  ศึกษาหลักสูตร ขั้นแรกสุดต้องศึกษาให้ละเอียดเพื่อให้ทราบว่าจะต้องสอนอะไร มีเนื้อหาอะไร ศึกษาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เอกสารคู่มือครู ตำราเรียน สมุดแบบฝึกหัด คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นต้น  เมื่อเลือกเนื้อหาที่จะนำมาสร้างชุดการสอนได้แล้ว นำมาวางแผนในการจัดทำชุดการสอน

                             1.1.2  กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง  โดยอาศัยข้อมูลจากหลักสูตรกว้าง ๆ และจุดมุ่งหมาย เชิงพฤติกรรม ที่สามารถสังเกตและวัดผลได้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน

                                1.1.3  วิเคราะห์เนื้อหา  เป็นการนำเอาเนื้อหาทั้งหมดที่จะสร้างมาแตกเป็นหัวข้อย่อย ๆ อย่างละเอียด และเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจบทเรียนได้ดีตลอดบทเรียน

                                ผู้จัดทำได้กำหนดเนื้อหา (สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์) เรื่องการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9  ให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาของผู้เรียน โดยจัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากตามลำดับ แบ่งเนื้อหาออกเป็น

                                -  การบวกด้วยรูปภาพ

                                -  การบวกด้วยตัวเลข

                                -  การบวกด้วยรูปภาพและตัวเลข

                                1.1.4  การสร้างเกม  เป็นการเรียนที่ใช้เกมเข้ามีส่วนร่วมในด้านการคิด  เพื่อเป็นการผ่อนคลาย  โดยการใช้เกมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในด้านการคิดอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งเกมที่ใช้ประกอบมีดังนี้

                                -  เกมโดมิโน

                                -  เกมปิงโกเจ้าปัญหา

                                -  เกมจริงหรือมั่วนิ่ม

                                1.1.5  การสร้างแบบทดสอบ เป็นการสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในบทเรียน เรื่องนั้น ซึ่งสร้างโดยยึดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นหลัก แบบทดสอบ จะช่วยให้ทราบผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว ยังช่วยให้ทราบถึงความงอกงามในการเรียน จากจุดเริ่มต้นถึงจุดท้ายสุดโดยการพิจารณาคะแนนทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับคะแนนก่อนเรียน  (Pre-test) ถ้าผลการสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมากแสดงว่าผู้เรียนเกิดความงอกงามและชี้ให้เห็นว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพ แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบถามตอบที่มีความเชื่อมั่น (Reliability) ซึ่งแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกัน

               1.2  ขั้นดำเนินการประดิษฐ์ชุดการสอน มีขั้นตอนดังนี้

                               1.2.1  เขียนโครงร่างตั้งแต่ศูนย์ที่  1  ถึงศูนย์ที่  4

                               1.2.2  ทำการประดิษฐ์ชุดการสอนตามที่ออกแบบไว้

                               1.2.3 ทบทวนและแก้ไข หลังจากสร้างชุดการสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนได้ทบทวนหาจุดบกพร่องและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งทางด้านเนื้อหา ภาษา  เป็นต้น

               1.3  ขั้นประเมินชุดการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ

                      ให้ผู้ชำนาญทางด้านการสร้างนวัตกรรมและทางด้านเนื้อหาตรวจสอบหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) ของนวัตกรรม ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้  เนื้อหา  กิจกรรมแต่ละนวัตกรรม สื่อประกอบบทเรียน  การวัดและประเมินผล พร้อมข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 ท่าน

                      นำนวัตกรรมที่ปรับปรุงแล้ว  และมีค่า (IOC) 0.5 ขึ้นไป ไปหาประสิทธิภาพ

               1.4  ขั้นทดลองและปรับปรุง ดังนี้

        ขั้นการทดลองเป็นรายบุคคล หรือแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one to one) เมื่อสร้างชุดการสอนเสร็จแล้ว  ได้นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทีละคนโดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 3 คน ซึ่งเป็นนักเรียนเก่ง 1 คน กลุ่มปานกลาง 1 คน และนักเรียนกลุ่มอ่อน 1 คน ก่อนทำการทดลองได้สร้างความเข้าใจแก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนให้ดีขึ้น จากนั้นได้ซักถามถึงปัญหาต่าง ๆ ที่นักเรียนพบขณะเรียนจากบทเรียนสำเร็จรูปและนำข้อบกพร่องไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

              1.5 ขั้นนำไปใช้

             ขั้นนำไปใช้เป็นขั้นที่นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการทดลองขั้นตอนมาแล้วไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนวัดป่าสัก ซึ่งมีปัญหาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ต่อไป อย่างไรก็ตามผู้จัดทำชุดการสอนยังต้องติดตามผลการใช้ชุดการสอนนี้ต่อไป  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 363250เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท