ไตรสิกขา : หลักการพัฒนาแบบบูรณาการ


     ไตรสิกขาเป็นกระบวนการศึกษาที่แท้ของธรรมชาติ  กล่าวคือจะต้องฝึกหัดพัฒนาด้านพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม  ด้านจิตใจและด้านปัญญา  เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม  เพราะต้องประสานสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน  แต่เมื่อปฏิบัติแล้วจะต้องมีการวัดหรือแสดงผล  ในพระพุทธศาสนาจำแนกไตรสิกขาออกเป็น  ๔  ประการ  เพื่อชี้ให้เห็นหลักการปฏิบัติแบบองค์รวมเรียกว่า  หลักภาวนา  หรือหลักพัฒนาดังนี้

     ๑.  กายภาวนาหรือหลักพัฒนากาย  มีปัจจัยสี่สมบูรณ์หรือสิ่งแวดล้อมดี  ในความพยายามหรือต่อสู้เพื่อความอยู่รอด  การมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในทางที่เกื้อกูลและได้ผลดี  เริ่มแต่การรู้จักใช้อินทรีย์  เช่น  ตา  หู  เป็นต้น  อย่างมีสติ  ถ้าดูเป็น ฟังเป็นก็ได้ปัญญา  บริโภคปัจจัยและสิ่งของเครื่องใช้  ตลอดจนเทคโนโลยีอย่างฉลาด  ย่อมเกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาด้านร่างกาย  พระพุทธศาสนากล่าวถึงสัป ปายะ (ความสบาย)  ๔  ประการ  อันเป็นเบื้องต้นของความสุข  คือ  เสนาสนสัปปายะ  ที่อยู่อาศัยสะดวกสบายปราศจากแหล่งเพาะเชื้อโรค  ๑  อาหารสัปปายะ  มีอาหารที่สบาย  บริโภคแล้วไม่มีโทษ  ไม่เกิดโรคภัยไข้เจ็บ  ๑  บุคคลสัปปายะ  อยู่ร่วมกับคนดี  มีระเบียบ  มีคุณธรรม  เป็นกัลยาณมิตร  ๑  ธรรมสัปปายะ  ประพฤติธรรมที่ช่วยให้จิตใจเบิกบานถูกกับจริตของตน

     ๒.  ศีลภาวนาหรือหลักพัฒนาศีล  คือการมีระเบียบวินัย  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางกายและทางคำพูด  การพัฒนาศีละรรม  คุณค่าทางศีลธรรมและจริยธรรม  เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตมนุษย์  ทุกคนสามารถฝึกตนเองให้เป็นคนมีอุปนิสัยที่ดีได้  ความสำเร็จทุกด้านต้องอาศัยคุณสมบัติด้านศีลธรรม  จริยธรรม  และต้องอาศัยการเคารพกฎทางศีลธรรม 

          หลักเบญจศีลเบญจธรรม  ถือเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับบุคคลทุกอาชีพ  สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและจิตใมนุษย์ให้สูงขึ้นทำให้บุคคลก้าวหน้า  มีความสุขในสังคมได้

     ๓.  จิตตภาวนาหรือพัฒนาจิต  คือ  มีจิตใจมั่นคง  ไม่ปล่อยให้จิตใจคิดฟุ้งซ่านจนขาดพลังจิตใจ  ขาดความสงบ

          ในการพัฒนาจิตวิญญาณนั้น  มนุย์มีวิญญาณธาตุ  ธาตุแห่งความใฝ่รู้เป็นเหตุให้สามารถพัฒนาได้สูงกว่าสัตว์โลกชนิดอื่น  การพัฒนาสังคมจะต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพด้านวิญญาณมนุษย์ให้สูงขึ้น  ที่เรียกว่า  อริยชน  หรือ  อารยชน  มีชีวิตอันประเสริฐ  การพัฒนาจิตใจนั้น  เป็นการฝึกอบรมเสริมสร้างจิตใจให้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติทั้ง  ๓  ด้าน  คือ  คุรภาพจิต  ได้แก่  จิตที่ประกอบด้วยคุณธรรม  เช่น  เมตตา  กรุณา  กตัญญู  เพื่อเสริมสร้างจิตใจให้ดีงามเป็นจิตใจที่สูงปราณีต  ๑  สมรรถภาพจิตหรือความสามารถของจิต  มีจิตเข็มแข็งมั่นคง  มีความพากเพียรพยายาม  กล้าหาญ  อดทน  รับผิดชอบ  มีสติสัมปชัญญะ  เป็นต้น  ๑  สุขภาพจิต  คือ มีจิตที่มีสุภาพดี  มีจิตใจที่เป็นสุข  สดชื่น  ร่าเริง  เบิกบาน  ปลอดโปร่ง  ผ่องใสสงบสุข

          การพัฒนาจิตให้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์  สะอาด  สว่าง  สงบ  ปลอดจากกิเลส  เพื่อใช้งานได้ดี  เพื่อตวามสงบสุข  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะจิตเป็นนาย  กายเป็นบ่าว  เมื่ออบรมจิตได้แล้ว  กายทั้งหมดก็ชื่อว่าได้รับการอบรมพัฒนาไปด้วย

     ๔.  ปัญญาภาวนาหรือหลักพฒนาปัญญา  คือ  ปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในชีวิตและโลกอย่างชัดเจน  จนสามารถทำให้จิตและกิเลสสงบไปพร้อมกัน  สามารถนำสติและปัญญามาใช้อย่างเหมาะสมในการดำเนินชีวิต  รู้จักคิด  รู้จักพิจารณา  รู้จักวินิจฉัย  รู้จักแก้ปัญหา  และรู้จักจัดทำดำเนินการต่างๆ ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์  ซึ่งมองดูรู้เข้าใจเหตุปัจจัย  มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็น  ปราศจากคติและแรงจูงใจแอบแฝง  เป็นผู้กิเลสครอบงำบัญชาไม่ได้  เป็นอยู่ด้วยปัญญารู้เท่าทันโลกและชีวิตเป็นอิสระ  ไร้ทุกข์ 

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์6
หมายเลขบันทึก: 363178เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท