สรุปประเด็น ครั้งที่ 3 "มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับล่าสุด...เป็นอย่างไร"


เราควรจะไม่ให้เกิดผู้สูบหน้าใหม่ สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ ไม่ต่อต้านคนที่สูบบุหรี่

คณะนิติศาสตร์ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สสส.  ซึ่งได้จัดไปแล้ว  2  ครั้ง  โดยครั้งแรกจัดในประเด็นเรื่อง   "สวมหมวกกันน๊อคในมหาวิทยาลัย...พื้นที่บังคับของกฎหมายหรือไม่" และในครั้งที่สอง  ได้จัดในประเด็นเรื่อง  “สิทธิการรักษาพยาบาลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยนเรศวร... อย่างไรถึงจะดี” 

     มาในวันนี้ ถือเป็นครั้งที่  3  ในการจัดเวทีสาธารณะ "กฎหมายกับสุขภาพ" เรื่อง มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ตามประกาศกระทรวงสาธ ารณสุขฉบับล่าสุด...เป็นอย่างไร" ใน วันจันทร์ที่ 31 พ.ค.53 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องนิติสัมพันธ์ ชั้น 3 ซึ่งก่อนถึงเวลาในการจัดเวทีสาธารณะในครั้งนี้ได้มีการจัดห้องให้คำปรึกษาสำหรับผู้สูบบุหรี่และให้คำแนะนำ โดยมีผู้เข้าร่วมสนใจเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

     ขอสรุปประเด็นดังนี้
ผลการสำรวจ  ประมาณ  52  หน่วยงานในมหาวิทยาลัยนเรศวร  ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา พบว่า
     นิสิต สูบ  จำนวน 435  คน
     บุคลากร  สูบ   จำนวน 186  คน
คิดเป็นร้อยละ  2.196  หรือ  ประมาณร้อยละ  2  ที่เป็นผู้สูบบุหรี่

     พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ มีวัตถุประสงค์  ที่ทำขึ้นเพื่อ  คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่

      ซึ่งฉบับปัจจุบัน  ที่จะออกในวันที่  28  มิถุนายน  2553 จะไม่อนุญาตให้สูบในอาคาร แต่นอกอาคารสามารถทำได้

นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

     ปีนี้มีนโยบายให้รณรงค์ผู้หญิงเป็นหลัก 

     จังหวัดนำร่องให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงฯ คือ   สุโขทัย 

     แต่เราจะส่งเสริมอย่างไรไม่ให้เกิดผู้สูบหน้าใหม่  สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่  ไม่ต่อต้านคนที่สูบบุหรี่ 

     คำว่า ปลอดบุหรี่  ในสุโขทัย  เราจะทำอย่างไร
     1.  ไม่ต่อต้าน     2.  ให้กำลังใจ

     วิทยากรเสนอให้มหาวิทยาลัยต้องมีประกาศที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวง  ซึ่งให้เห็นถึงความสำคัญ  มีแนวทางดังนี้

1.  ตั้งคณะทำงานในการดูแลเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง
2.  เครือข่ายต่างๆ  เช่น มีกิจการนิสิตนักศึกษา  บุคลากร  ร้านค้า  โรงแรม หอพัก และชุมชนที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมช่วยกัน
3.  เชิดชูผู้ที่เลิกบุหรี่ได้
4.  จัดชุดเฝ้าระวังทั้งหวัด  เช่น ห้องน้ำ หลังรถ  โรงเรียน 
5.  การติดป้ายบอกเพื่อรณรงค์

     มหาวิทยาลัยอาจสร้างพันธะผูกพันร่วมกันเดินหน้าต่อไป  อาจจะจัดกิจกรรมให้กลุ่มนิสิต  นักศึกษา จัดอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคนสูบบุหรี่  นั่นคือ

“ไม่มียาที่ไหนวิเศษเลิกได้เท่ากับจิตใจ”

     ดร.ชวนชม  ธนานิธิศักดิ์  อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์  ได้เล่าประสบการณ์ในการช่วยเหลือบุคลากรที่ประสงค์เลิกบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการ  “เภสัชกรนเรศวร...ชวนเพื่อนเลิกบุหรี่” 

          “การจัดตั้งในวันนี้มีผู้ให้ความสนใจมาก  และทางเราไม่ได้ทำวันนี้และหยุดแต่เราจะทำต่อไป

          โครงการดังกล่าวนี้  ทำร่วมกับบริการวิชาการของทางมหาวิทยาลัย  มีการจัดตั้งคลินิกเลิกบุหรี่ 

          คลินิกทำอะไรบ้าง

1.  ประเมินนิสิตว่าติดนิโคตินระดับไหน  โดยจับตรวจปัสสาวะ 
2.  แนะนำการเลิกบุหรี่  โดยส่วนใหญ่คิดที่จะเลิกบุหรี่จะที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ กำหนดวันเลิก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  แนวทางจัดการถอนบุหรี่  อื่นๆ

 สิทธิประโยชน์

1. บุคลากร
2. นิสิต
3.  ญาติบุคลากรและนิสิต 
4.  บุคคลนอกมหาวิทยาลัย  จะมีการคิดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่ายา

     ตัวแทนของนิสิตจากชมรมคริสเตียน นายทะนงศักดิ์  แสงสว่างวัฒนะ  ได้มาเล่าถึง  การจัดตั้งโครงการ  “พลังนิสิตในการรณรงค์และช่วยเหลือเพื่อนเพื่อเลิกบุหรี่”

     “วัตถุประสงค์ เพื่อให้มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่อย่างชัดเจน  และออกเป็นนโยบาย  นิสิตปัจจุบันขาดมานำสิ่งที่ดีเข้าสู่ตนเอง  เพื่อให้นิสิตมีบทบาทต่อการดำเนินกิจกรรม  และอยากให้นิสิตมีแนวคิดที่ว่าชีวิตดีตามสภาวะแวดล้อมที่เป็นอยู่”

วิธีการ 
1.  ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ 
2.  ทำผลสำรวจ
3.  สมัครอาสาแกนนำ
4.  ติดป้ายรณรงค์
5.  จัดโครงการให้แกนนำที่เลิกบุหรี่  และอาสาและประชาสัมพันธ์ให้ช่วยพิษณุโลกได้เห็น

 

 

ข้อเสนอแนะอื่นๆจากผู้เข้าร่วม

  1. ควรเสนอให้เพื่อนไม่ยื่นบุหรี่ให้กันด้วย 

  2. ครอบครัวก็มีส่วนสำคัญในการต้านหรือหยุดไม่ให้มาสูบุหรี่ได้

  3. ให้ผู้สูบตระหนักเห็นผลกระทบต่อสุขภาพ

  4. การสร้างกระแสให้เห็นโทษของการสูบบุหรี่  โดยจับกลุ่มเสี่ยงหรือที่สูบจริงๆในการรณรงค์ให้ตระหนักเห็นผลกระทบให้เห็นตัวอย่างผู้ที่ได้ผลกระทบจากการสูบบุหรี่จริงๆ

  5. มีคณะกรรมการมาดูแล  และสร้างความร่วมมือสโมสรนิสิตแต่ละคณะ 

  6. การแบ่งขายบุหรี่ไม่ควรมีเกิดขึ้น 

  7. ให้คนเข้าใจกฎหมายห้ามสูบว่าเป็นอย่างไรอย่างจริงจัง  รณรงค์เรื่ององค์ความรู้ต่างๆ  ให้ทราบ

  8. หากยังไม่สามารถห้ามผู้สูบบุหรี่ได้ ควรจัดเขตให้มีความชัดเจนสำหรับคนสูบบุหรี่ อาจจะแบ่งโซนในการให้สูบบุหรี่  เพื่อไม่ให้สูบนอกโซนเหล่านี้

  9. ระดับการบังคับ  มหาวิทยาลัยควรจะรับผิดชอบในส่วนนี้  ทำขึ้นให้เป็นระบบ   

10.  อาจจะสร้างกฎเกณฑ์ให้รับรู้ตั้งแต่ต้นตอนเข้ามาตั้งแต่แรกในมหาวิทยาลัย

11.  เพิ่มกลุ่มประชาสัมพันธ์รอบๆนอกมหาวิทยาลัย

คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้ขอข้อแนะนำ  นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ 

     อยากได้ความคิดแนวปฏิบัติที่ดีให้กับคนที่สูบบุหรี่กับไม่สูบบุหรี่  เพื่อเป็นข้อแนะนำสำหรับคนไม่สูบบุหรี่แนะนำผู้ไม่สูบบุหรี่อย่างไรให้เค้าไม่รู้สึกว่าเรารังเกียจหรือฟังแล้วรู้สึกไม่ทำลายจิตใจผู้สูบ

     นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์   กล่าวว่า  “ให้มองแง่บวก  เข้าใจความรู้สึกของเค้า มองว่าทำไมเค้าถึงสูบ  ให้โอกาสผู้สูบให้กำลังใจ  ต้องพูดคุยเฉพาะ  หาคนให้กับกลุ่มสูบว่าเค้าจะมีวิธีอย่างไร หาทางออกอย่างไร  วัฒนธรรมในการสูบอย่างไร  ในกลุ่มของเค้าเอง  เพื่ออยู่ในกลุ่มสังคมเดียวกันได้  ส่วนร่วมทุกภาคส่วนมาพูดคุยกัน  ให้เกียรติเค้าเพื่อร่วมหาทางออก สรุปบทเรียนเป็นระยะ”

          คณบดีกล่าวเพิ่มเติม  ปิดท้าย

          “ควรจัดให้คนสองกลุ่มได้มีโอกาสได้แสดงความรู้สึกซึ่งกันและกัน  และฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน  ซึ่งจะมีแนวโน้มการเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น  แทนที่ผู้ไม่สูบจะทำท่ารังเกียจเค้า  แต่อาจจะหันเปลี่ยนเป็นเข้าใจซึ่งกันและกัน และหาแนววิธีหรือข้อแนะนำในการเลิกหรือลดสูบบุหรี่ต่อไป”

    อย่างไรก็แล้วแต่ผู้เขียนเองมีความเห็นด้วยกับนพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ กับที่กล่าวว่า  "เราควรจะส่งเสริมไม่ให้เกิดผู้สูบหน้าใหม่  สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่  ไม่ต่อต้านคนที่สูบบุหรี่"

คำสำคัญ (Tags): #วันงดสูบบุหรี่
หมายเลขบันทึก: 363116เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท