ประวัติเสือป่า


ประวัติเสือป่า สโมสรเสือป่าที่ราชบุรี

สวัสดีครับ  วันนี้มาเล่าให้ฟังเรื่อง ประวัติเสือป่าและ สโมสรเสือป่าที่ราชบุรีครับ

เรื่องก็มีอยู่ว่า อาคารสโมสรเสือป่าตั้งอยู่ที่ในศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี  ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว  อาคารหลังนี้  รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จประทับเมื่อ พ.ศ. 2456    และเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมา มีพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพุทธคุณหลวงพ่อแก่นจันทน์ 100 ปีเสือป่า มหามงคล   ทางศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี จะได้หาทุนบูรณะอาคารสโมสรเสือป่าและตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์

ในการนี้จะได้มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ตามหัวข้อที่ทางศูนย์ฯ ต้องการ  ผมได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการให้ข้อมูลต่าง ๆ ไป  ซึ่งก็คงมีการรวบรวม  เรียบเรียงกับส่วนอื่น ๆ อีก

วันนี้ผมจึงขอเอาข้อมูลที่ส่งไปร่วมพิจารณา 13 หน้า  มาลงให้ท่านได้อ่านกันนะครับ ก็ไม่ทราบว่าข้อมูลจะมากไปเกินกว่าจะลงได้หรือเปล่า  แต่ที่ทราบอย่างหนึ่งก็คือ ภาพประกอบคงต้องแยกลงต่างหากนะครับ  หวังว่าผู้อ่านจะได้ทราบพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ในอีกหลาย ๆ ด้านที่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบนะครับ

*******

ประวัติเสือป่า   โดย  ครูเล็ก   ราชบุรี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปี พ.ศ. 2453 แล้ว    พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำรัสที่ตรัสแก่ราษฎรเมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีความตอนหนึ่งว่า      

“  การตั้งกองเสือป่าขึ้นด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่า ความจงรักภักดีต่อผู้ดำรงรัฐสีมาอาณาจักร โดยต้องตามมติธรรมประเพณีประการ 1  ความรักชาติบ้านเมืองและนับถือศาสนาประการ 1  ความสามัคคีในคณะและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน”

นอกจากนี้ยังมีพระราชปรารภในการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น(จดหมายเหตุเสือป่า พ.ศ.2454) ว่า  “มีพลเรือนบางคนที่เป็นข้าราชการและที่มิได้เป็นข้าราชการ มีความปรารถนาจะได้รับความฝึกหัดอย่างทหาร แต่ยังมิได้มีโอกาสฝึกหัด เพราะติดหน้าที่ราชการเสียบ้าง หรือเพราะติดธุระอย่างอื่นเสียบ้าง  การฝึกเป็นทหารนั้นย่อมมีคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองอยู่หลายอย่างที่เป็นข้อใหญ่     ข้อสำคัญก็คือกระทำให้บุคคลซึ่งได้รับความฝึกฝนเช่นนั้นเป็นราษฎรดีขึ้น กล่าวคือ ทำให้กำลังกายและความคิดแก่กล้าในทางที่เป็นประโยชน์ ด้วยเป็นธรรมดาของคน ถ้าไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดบังคับให้ใช้กำลัง และความคิดของตนแล้วก็มักจะกลายเป็นคนอ่อนแอไป  อีกประการหนึ่ง การฝึกหัดเป็นทหารนั้นทำให้คนรู้วินัย คือฝึกหัดตนให้อยู่ในบังคับบัญชาของผู้ที่เป็นหัวหน้าฤานายเหนือตนซึ่งนำประโยชน์มาให้แก่ตนเป็นอันมาก เพราะว่าถ้ารู้จักเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาดี  ต่อไปก็จะเป็นคนบังคับบัญชาคนได้ดี จะเป็นนายที่รู้จักน้ำใจผู้น้อย ทั้งเป็นทางสั่งสอนอย่างหนึ่งให้คนมีความยำเกรงตั้งอยู่ในพระราชกำหนดกฎหมายของประเทศบ้านเมือง ทั้งจะปลุกใจคนให้มีความรู้สึกรักพระเจ้าแผ่นดิน ชาติและศาสนา จนยอมสละชีวิตถวายพระเจ้าแผ่นดิน ฤาเพื่อป้องกันรักษาชาติศาสนาของตนได้”

อธิบายเพิ่มเติม – แรงบันดาลพระราชหฤทัย

  1. การก่อตั้งเสือป่านี้  พระองค์มิได้เริ่มขึ้นในขณะนั้นเสียทีเดียว  แต่ทรงทดลองฝึกหัดมาก่อนแล้วตั้งแต่ยังมิได้ขึ้นครองราชย์  โดยทรงฝึกทหารมหาดเล็กจำนวนหนึ่งที่วังสราญรมย์ตามแบบอย่างใหม่ที่พระองค์ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรบนอกแบบ สงครามกองโจรและการซ้อมรบกลางคืน ซึ่งในสมัยนั้นเป็นของใหม่ คนที่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้มักกล่าวเชิงตำหนิพระองค์ว่าทำเป็นของเล่น ๆ เพื่อสำราญพระราชหฤทัย  กระทั่งนายทหารก็ยังเข้าใจกันเช่นนั้น  แม้เมื่อตั้งกองเสือป่าแล้วก็ยังพูดกันว่า ทรงตั้งเสือป่าขึ้นมาแข่งกับทหาร
  2. การซ้อมรบในเขตพระราชฐานอุทยานสราญรมย์  เมื่อเริ่มมาสะดวก  พระองค์ทรงมองไปถึงการมีเมืองหลวงสำรองหากเกิดวิกฤติการณ์สงครามกับมหาอำนาจ  ทรงซื้อที่ดินสนามจันทร์  นครปฐม จำนวน 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  ด้วยทรงเห็นชัยภูมิที่เหมาะสมทุกประการ  การซื้อที่ดินหรือสงวนที่ดินในรัชกาลของพระองค์ มักจะทรงประกาศว่าโปรดไว้สำหรับสร้างที่ประทับหรือพระราชวังอยู่เสมอ  เพื่อมิให้ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติล่วงรู้เหตุผลที่แท้จริง   ที่สนามจันทร์นี้พระองค์ได้นำกองเสือป่ามาฝึกซ้อมและตั้งกองบัญชาการเสือป่าในเวลาต่อมา
  3. ความมุ่งหมาย ย้อนหลังไปถึงรัชกาลที่ 5  ปัญหาการถอนทหารออกจากภาคใต้ของไทยตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้กับอังกฤษ  ผนวกกับการถอนทหารออกจากชายแดนตะวันออกเนื่องจากวิกฤติการณ์ ร.ศ.112  ทำให้ขาดความมั่นคงอย่างมาก  แนวพระราชดำริการตั้งกองอาสารักษาดินแดนซึ่งเป็นกองกำลังอาสาสมัครฝ่ายพลเรือน  ช่วยปิดช่องว่างทางการทหารได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเสือป่ากระจายออกไปทั่วประเทศ  จะมีกองกำลังนักรบประชาชนที่อยู่ในท้องที่ มีความชำนาญในท้องถิ่นประจำการอยู่  เป็นการป้องปรามข้าศึกอย่างดียิ่ง
  4. พระราชดำริที่จะตั้งเป็นกองเสือป่าชัดเจนเป็นรูปธรรมในเรือพระที่นั่งจักรี  ครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลปักษ์ใต้  เดือนเมษายน พ.ศ. 2454  ทรงปรึกษากับผู้ใกล้ชิดหลายท่าน  และได้เริ่มจดชื่อผู้ที่จะเป็นเสือป่าในชั้นแรกที่เรือพระที่นั่งจักรีนั้นเอง
  5. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเสือป่าขึ้นไว้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454  มีสมาชิกครั้งแรก  141 ท่าน  ทรงดำรงพระยศนายกองใหญ่ผู้บังคับการกองเสือป่า
  6. การใช้ชื่อเสือป่า   ทรงอธิบายไว้ว่า “เป็นชื่อเก่าที่มีปรากฏได้ใช้มาในเมืองเราแต่โบราณกาล........มีทหารโบราณจำพวกหนึ่ง  เรียกว่า  เสือป่า  คู่กับ แมวเซาหรือแมวมอง......ตรงกับที่ในกองทัพบกทุกวันนี้เรียกว่า “ผู้สอดแนม” หรือเรียกตามภาษาอังกฤษว่า “สเค๊าท”.........ส่วนแมวเซาหรือแมวมองนั้น.......เรียกว่า “กองระวังด่าน” หรือเรียกตามภาษาอังกฤษว่า     “เอ๊าตโป๊สต์”  ....ฯลฯ
  7. การถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาครั้งแรก  ทรงพระราชดำริว่า          “.......บัดนี้ มีผู้มาสมัครเข้ามีจำนวนพอที่จะตั้งเป็นกองร้อยขึ้นได้กองหนึ่งแล้ว  ควรจะให้กระทำสัตย์สาบาลตนเข้าประจำกอง....”   กำหนดวันที่ 6  พฤษภาคม พ.ศ. 2454  เวลา 14.00 น. ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  8. เครื่องแบบเสือป่า  เมื่อทรงเริ่มเสือป่านั้น  ทรงมุ่งให้ใช้ม้าเป็นหลักเพื่อการลาดตระเวนเป็นหน่วยแรก  ดังนั้นหากวันที่ต้องฝึกหัดเกี่ยวกับม้าให้ใช้กางเกงขี่ม้า หากมีการอบรมปกติก็ให้นุ่งขาสั้นได้  เครื่องแบบที่เห็นในภาพวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา  เป็นเครื่องแบบสนาม
  9. ครื่องแบบเสือป่าโดยปกติ นั้น “.....นุ่งกางเกงดำขาสั้น ใส่เสื้อเชิ้ตสีดำแขนยาว  ถุงเท้าก็เป็นสีดำยาวดึงสูงขึ้นมาจนถึงใต้เข่า  แล้วแถมยังมีขอบถุงเท้าโตเท่าฝ่ามือลายเป็นเสือพาดกลอนเสียอีกด้วย    และยังแถมห้อยริบบิ้นทิ้งชายออกมาทั้งสองข้าง.......ที่เสื้อนั้นใส่ดุมที่คอเป็นคอเชิ้ต  แต่ผ้าผูกคอนั้นสิช่างเตะตาเสียเหลือเกิน  เป็นผ้าผูกคอแพรสีเหลืองมีริ้วเสือลายพาดกลอน........หมวดสักหลาดสีดำปีกกว้างมีริบบิ้นลายเสือพันโดยรอบ ที่ปีกขวามือพับขึ้นไปติดแน่นไว้กับตัวหมวก  ประดับโบจีบเป็นรูปดอกจันทร์สีเหลืองแนบไว้ด้วยตราดุนหน้าเสือ มีขนนกขาวปัก  เข็มขัดดำหัวทองเหลืองแล้วห้อยด้วยมีดพกอย่างชาวป่า  ชั้นผู้บังคับบัญชามีไม้เท้าสีดำถือประจำตัว ที่ไหล่ติดอินทรธนู

 

กำเนิดลูกเสือไทย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนากิจการเสือป่าผ่านไปได้ 2 เดือน ก็ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม  พ.ศ. 2454   (ประกาศจัดตั้งระเบียบปกครองลูกเสือขางชาติ)  โดยทรงมีพระราชปรารภว่า

 “กองเสือป่าได้ตั้งขึ้นเป็นหลักฐานแล้ว พอจะเป็นที่หวังได้ว่าจะเป็นผลดีตามพระราชประสงค์ แต่ผู้ที่จะเป็นเสือป่าต้องเป็นผู้ที่นับว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฝ่ายเด็กผู้ชายที่ยังอยู่ในปฐมวัยก็เป็นผู้ที่สมควรจะได้รับความฝึกฝน  ทั้งในส่วนร่างกายและในส่วนใจ ให้มีความรู้ในทางเสือป่า  เพื่อว่าเมื่อเติบโตใหญ่ขึ้นแล้วจะได้รู้จักหน้าที่ ซึ่งผู้ชายไทยทุกคนควรจะประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง อันเป็นที่เกิดเมืองนอนของตน  และการฝึกฝนปลุกใจให้คิดถูกเช่นนี้  ต้องเริ่มฝึกฝนเสียแต่เมื่อยังเยาว์อยู่ เปรียบเหมือนไม้ที่ยังอ่อนจะดัดไปเป็นรูปอย่างไรก็เป็นไปได้โดยง่ายและงดงาม  แต่ถ้ารอไว้จนแก่เสียแล้ว เมื่อจะต้องดัดก็ต้องเข้าไฟและมักจะหักได้ในขณะที่ดัด  ดังนี้ฉันใด  สันดานคนก็ฉันนั้น”     จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีกำหนดข้อบังคับลักษณะปกครอง ลูกเสือขึ้น และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นตามโรงเรียน และสถานที่อันสมควร กิจการลูกเสือ  จึงเริ่มกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นต้นมา โดยพระองค์ได้ทรงพระราชทาน    คำขวัญให้กับลูกเสือไว้ว่า “เสียชีพอย่างเสียสัตย์” ในปี พ.ศ. 2456

เมื่อแรกเริ่มก่อนจะตั้งลูกเสือขึ้นนั้น   พระองค์ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะเครื่องแบบ  ทรงให้นักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวง นายชัพน์ บุนนาค  (ต่อมารับราชการเป็น  นายลิขิต  สารสนอง)แต่งให้ทอดพระเนตร      โดยตัดเครื่องแบบที่ร้านวิวิธภูษาคาร  เป็นดังนี้

  1. หมวกสักหลาดดำใบกว้าง พับข้างขวามีผ้าแพรเหลือทำเป็นดอกไม้วงกลมกว้าง 5 ซม.ติดข้างขวาที่พับมีตราหน้าเสือทองเหลือติดบนดอกไม้ มีผ้าสีเหลืองกว้าง 2 ซม. พันหมวก(สีมณฑลกรุงเทพ)
  2. เสื้อเชิ้ตคอพับสีดินแดง (กากี) แขนยาว มีดุมที่คอ 1 เม็ด  ที่หน้าอก 2เม็ด  ที่ข้อมือ 2 เม็ดกระเป๋าทั้งสองข้างทีใบปกกระเป๋าดุมกลัด
  3. ผ้าผูกคอสี่เหลี่ยมสีดำ ขนาด 75 ซม. พับทแยงมุมแล้วพันรอบคอ ชายผูกข้างหน้าห้อยที่หน้าอก
  4. กางเกงไทยขาสั้นเสมอ สะบ้าหัวเข่า  สีดำ
  5. เข็มขัดหนังเหลือง
  6. ถุงเท้ายาวสีดำ สวมรัดใต้เข่า
  7. รองเท้าหุ้มข้อผูกเชือกหนังดำ

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นวันที่นายชัพน์ บุนนาค แต่งเครื่องแบบเข้าเฝ้า        กล่าวคำสาบาล   พระองค์มีพระกระแสรับสั่ง “ในหน้าที่ซึ่งข้าได้เปนผู้ประสิทธิ์ประสาทลูกเสือของชาติขึ้นมา  ข้าขอให้เจ้าเปนลูกเสือคนแรกของประเทศสยาม”

 

ภายหลังจากที่ได้ตราข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือออกมาแล้ว เพื่อให้กิจการได้ดำเนินไปดังพระราชประสงค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภากรรมการกลางขึ้นโดยได้ทรงพระกรุณาเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ เป็นสภานายกแห่งสภากรรมการกลางด้วยพระองค์เอง

พร้อมกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ซึ่ง    ขณะนั้นยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จกรมพระฯ และกำลังดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยอยู่เป็นผู้ตรวจการใหญ่ และเป็นอุปนายกด้วยตามข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือนั้น กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) ซึ่งขณะนั้นกำลังดำรงตำแหน่งผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นกรรมการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยา บุรีวราษฎร์เป็นเลขานุการ

ตำแหน่งผู้ตรวจการใหญ่  และอุปนายกดังกล่าวนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ถวายกราบบังคมลาพักราชการไป จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระเสด็จ        สุเรนทราธิบดี เข้ารับตำแหน่งแทนสืบมา จึงถึงเวลาที่ท่านผู้นี้ต้องป่วยหนักและชราภาพมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ (รื่น ศยามานนท์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาราชนกูลวิบูลภักดี)  อธิบดีกรมศึกษาธิการเข้ารับตำแหน่งแทนต่อมาตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 และได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้ตลอดมาจนสิ้นรัชสมัย

ต่อจากนั้นสภากรรมการกลาง และผู้ตรวจการใหญ่แล้ว   เพื่อให้กองลูกเสือได้ตั้งขึ้นโดยเร็วในมณฑล  กรุงเทพ ฯ อันเป็นมณฑลราชธานี เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างแก่มณฑลอื่น ๆ ต่อไป จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีสภากรรมการประจำมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้นในอันดับต่อมา โดยโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาลอยู่ในขณะนั้น เป็นสภานายก การที่พระองค์ทรงตั้งกิจการลูกเสือไทยนั้น นอกจาก   พระราชปรารภที่พระองค์ได้ทรงกล่าวไว้แล้ว   พระองค์ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ  วัตถุประสงค์ของการ    ตั้งกองลูกเสือไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่องประโยชน์แห่งเสือป่า และลูกเสือในเวลาสงครามว่า

การที่จะคิดหวังให้ลูกเสือทำการต่อสู้กับศัตรูจริง ๆ จัง ๆ นั้น ย่อมไม่ได้อยู่เอง เพราะโดยมากลูกเสือไม่มีปืนที่จะยิงแต่ก็มีหนทางที่จะปลดเปลื้องกังวลแห่งฝ่ายทหารมี อาทิ คือ

  1. อาจจะเล็ดลอดไปสืบข่าวคราวได้ในที่บางแห่ง
  2. เป็นผู้ส่งข่าวระหว่างกองกับกองได้ ข้อนี้เป็นประโยชน์ได้มากเพราะไม่ต้องถอนพลรบไปทำหน้าที่ ไปรษณีย์บุรุษ
  3. ช่วยสะกดรอยตามและจับผู้ที่น่าสงสัยว่าเป็นผู้ลักลอบสอดแนมได้ กิจนี้ปรากฏว่าอังกฤษได้ใช้แล้วได้ประโยชน์ดีมาก ในการสงครามคราวนี้ลูกเสืออังกฤษจับคนลักลอบสอดแนมของเยอรมันในเมืองอังกฤษได้ แล้วหลายคน กระทรวงทหารบกอังกฤษ จึงออกประกอบรับรองคณะลูกเสือเป็นคณะผู้ช่วยพลรบคณะหนึ่ง
  4. ช่วยระวังรักษาการติดต่อ เช่น สายโทรเลข สะพานและทางรถไฟ เป็นต้น ซึ่งทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสใช้ลูกเสือในงานสงครามปีนี้
  5. ช่วยคุมเสบียงส่งที่ฐานทัพ กิจนี้ฝรั่งเศส ได้ใช้ลูกเสือกระทำอยู่โดยมาก นับว่าเป็นประโยชน์เพราะไม่ต้องถอนกำลังพลรบไปในทางที่ห่างไกลสนามรบ
  6. ช่วยรักษาความสงบในเมืองใหญ่ ๆ  กิจนี้ลูกเสือทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสได้แสดงให้ปรากฏแล้วว่า สามารถทำได้ดี เช่น ที่ปารีสเมื่อก่อนจะเกิดสงครามหน่อยหนึ่ง ลูกเสือฝรั่งเศสประมาณ 40 คน                            ได้ต่อสู้กับพวก  “อะปัช” (คนจรจัด) 100 กว่าคน  ซึ่งมีปืนพกใช้ยิงและถือไม้กับขว้างก้อนอิฐ  พวก    ลูกเสือใช้พลองเข้าลุกไล่ตี    พวกจรจัดเจ็บถึงต้องเข้าโรงพยาบาล 2 หรือ 3 คน หัวแตกอีกหลายคน นอกนั้นหนีไป

    7.   ช่วยในการพยาบาลคนถูกอาวุธ และคนไข้คือช่วยห้ามเลือด และวิ่งเต้นต่าง ๆ เป็นต้น

  กิจเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งซึ่งลูกเสือสามารถกระทำได้โดยแท้ และเป็นข้อควรลูกเสือไทยเราจะ  เตรียมตัวไว้พร้อมที่จะทำ เพื่อประโยชน์และเพื่อกล่าวได้ว่า ถึงยังเป็นเด็กก็ได้ทำการช่วยบ้านเมือง

 กองลูกเสือกองแรกของประเทศไทย

 กองลูกเสือกองแรกของประเทศไทยได้ตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) พระองค์ทรงได้เอาเป็นพระราชธุระในการอบรมสั่งสอน ตลอดจนดำเนินงานทั่ว ๆ ไป ของกอง

ลูกเสือนี้โดยตรง ทั้งนี้ เพื่อทรงหวังให้เป็นแบบอย่างสำหรับโรงเรียนอื่นๆ หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความประสงค์จะตั้งกอง  ลูกเสือขึ้น จะได้ยึดเป็นแบบอย่างต่อไป กองลูกเสือกองนี้จึงได้นามว่า “กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1” ผู้ที่เป็นลูกเสือคนแรกคือ นายชัพน์ บุนนาค เพราะว่าสามารถกล่าวคำปฏิญาณได้เป็นคนแรก

ครั้นต่อมาวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2454 ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้กองลูกเสือที่ 1 ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ สโมสรเสือป่า และได้สอบซ่อมวิชาลูกเสือตามแบบที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้สำหรับสั่งสอนเสือป่าและลูกเสือ และได้พระราชทานนามกองลูกเสือมหาดเล็กหลวง ซึ่งเป็นกองแรกในประเทศไทยนี้ว่า “กองลูกเสือหลวง”

ต่อมาการฝึกอบรมลูกเสือได้ปรากฏผลดีเป็นอย่างยิ่ง พระองค์จึงทรงให้มีพิธีเข้าประจำกองลูกเสือขึ้นมาเป็นครั้งแรกในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2455 โดยให้ลูกเสือหลวงที่สอบไล่แล้วนั้นเข้ากระทำพิธีประจำกองต่อหน้าพระ  ที่นั่ง ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ในพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กองลูกเสือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกรุงเทพ ฯ ในเวลานั้น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย เพื่อศึกษาวิธีการเข้าประจำกองด้วย เมื่อลูกเสือ

ได้ทำพิธีเข้าประจำกองกันบ้างแล้ว จึงทรงพระราชทานธงประจำกองเพื่อรักษาไว้ต่างพระองค์ตามลำดับไป กองลูกเสือหลวงได้รับพระราชทานธงเป็นกองแรกในปี พ.ศ. 2457  และได้ทรงพระราชทานให้กับกอง

ลูกเสือต่างๆในโอกาสอันสมควร เช่น การเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ เป็นต้น ธงที่พระราชทานให้กอง

ลูกเสือนี้  มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันไปสุดแต่จะทรง คิดขึ้น พระราชทานให้ตามความเหมาะสมของแต่ละมณฑล         (เรื่องกิจการลูกเสือมณฑลต่าง ๆ  นับได้ 14  มณฑล ตามการพระราชทานธง ดังนี้

1. 13 มิ.ย. 2458 กองลูกเสือมณฑลปัตตานี

2. 14 มิ.ย. 2458 กองลูกเสือจังหวัดสงขลา  มณฑลนครศรีธรรมราช

3. 6 ก.ค. 2458 กองลูกเสือมณฑลภูเก็ต

4. 29 ธ.ค. 2458 กองลูกเสือมณฑลกรุงเทพ

5. 13 ม.ค. 2459 กองลูกเสือมณฑลนครไชยศรี

6.  22 ก.พ. 2467 กองลูกเสือมณฑลราชบุรี (พื้นธงสีน้ำเงินแก่  กลางธงมีฉลองพระบาทประดิษฐานไว้บนพานทอง)

             รัชกาลที่ 7

7.  15 พ.ย. 2469 กองลูกเสือมณฑลอยุธยา

8. 8 ม.ค. 2469 กองลูกเสือมณฑลพิษณุโลก

9.  23 ม.ค. 2469 กองลูกเสือมณฑลพายัพ  (เชียงใหม่) 

10. 26 ก.พ. 2470 กองลูกเสือมณฑลจันทบุรี

11. 26 ก.พ. 2470  กองลูกเสือมณฑลนครราชสีมา  

12. 26 ก.พ. 2470  กองลูกเสือมณฑลนครสวรรค์

13. 26 ก.พ. 2470 กองลูกเสือมณฑลปราจิณ (ฉะเชิงเทรา)   

14. 26 ก.พ. 2470 กองลูกเสือมณฑลอุดร

บางที่ว่ามี  18  มณฑล  ถ้าเป็น  18  มณฑลจริง.......15 – 18   ไม่มีข้อมูล

(ใครมีช่วยบอกด้วยครับ)

การเข้าเป็นสมาชิกของคณะลูกเสือโลก 

ในปี พ.ศ. 2465  คณะลูกเสือไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะลูกเสือโลกซึ่งในขณะนั้นมีสมาชิก  รวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ทั้ง 31 ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกรุ่นแรกนี้ ถือว่าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง (Foundation Members) ของคณะลูกเสือโลก

 

การลูกเสือไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 7)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตลงได้ทำให้ตำแหน่งสภานายก สภากรรมการกลางว่างลง คณะกรรมการสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูล

พระกรุณา ขออัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขออัญเชิญให้ทรงรับตำแหน่งนายกสภากรรมการกลาง ฯ ก็ปรากฏว่าได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงรับตำแหน่ง ความก้าวหน้าของกิจการลูกเสือไทยจึงก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ในปี พ.ศ. 2468 ผู้อำนวยการสมาคมลูกเสือนานาชาติ ได้แจ้งมายังคณะลูกเสือไทยว่า คณะลูกเสืออังกฤษจะให้มีการจัดประชุมในเรื่องเกี่ยวกับลูกเสือวิสามัญ (Rovers)ขึ้น ณ กรุงลอนดอน   พระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คัดเลือก นักเรียนไทย 2 คน ไปร่วมประชุม คือ นายปุ่น มีไผ่แก้ว กับนายประเวศ จันทนยิ่งยง ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษเป็นผู้เข้าร่วมประชุม

ในคราวชุมนุมลูกเสือนานาชาติ ณ เมืองกันเดอร์เสตก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 22-28 สิงหาคม พ.ศ. 2469   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คัดเลือกนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ  ซึ่งเคยเป็นรองผู้กำกับหรือนายหมู่ลูกเสือเอกแล้วไปเข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้   และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้เรียนฝึกหัดวิชาผู้กำกับ (Scoutmaster’s Training Course) ด้วย 

อันเนื่องมาจากการเตรียมการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 6 ได้หยุดชะงักลงอย่างฉับพลัน เนื่องด้วยเหตุมหาวิปโยค ดังนั้นในปี พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งแรกขึ้นในพระราชพิธีฉัตรมงคลในปลายปี พ.ศ. 2470    โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดงานชุมนุมขึ้นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 3 มีนาคม ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้มีลูกเสือเข้าร่วมชุมนุมรวมทั้งสิ้น 14  มณฑล ด้วยกัน โดยมีการจัดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ 

เนื่องจากงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งต่อไปทุก 3 ปี ต่อครั้ง

ตำแหน่งอุปนายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ (ซึ่งในเวลานั้นใช้คำว่า “แห่งสยาม”)  ซึ่ง  พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ ดำรงตำแหน่งสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลาช้านาน นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้สร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วงการลูกเสือไทยเป็นอเนกประการนั้น ครั้นมาในตอนนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ จากกระทรวงธรรมการไปรับราชการทางด้านกระทรวงมหาดไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ  (ต่อมาคือพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น ทรงเข้ารับหน้าที่นี้แทนตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา

ต่อมาสภากรรมการกลางต้องการที่จะให้มีการปรับปรุงกิจการลูกเสือให้มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นจึงได้จัดให้มีการอบรมวิชาผู้กำกับขึ้น ณ สามัคยาจารยสมาคม   (เดิมตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย)ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2472

และในปี พ.ศ. 2473 จึงได้ทรงจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่สองขึ้น โดยกำหนดให้ในวันที่

1 มกราคม ถึงวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2473 ซึ่งให้มีการจัดขึ้นที่พระราชอุทยานสราญรมย์เช่นเดิม ซึ่งตรงกับอภิลักขิตสมัยคล้ายวันพระบรมราชสมภพแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การชุมนุมครั้งนี้

ลูกเสือญี่ปุ่นได้มาร่วมชุมนุมด้วยจำนวน 22 คน  เมื่อเสร็จสิ้นงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 นี้  ซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง  และเพื่อให้กิจการลูกเสือมีความเจริญยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นโรงเรียน

ผู้กำกับลูกเสือซึ่งเคยดำเนินมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 6 ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยได้พระราชทานสถานที่ในบริเวณพระรามราชานิเวศน์  จังหวัดเพชรบุรี (พระราชวังบ้านปืน) เป็นสถานที่อบรมโดยจัดขึ้นทุกปี โดยใช้เวลาระหว่างหยุดภาคเรียนฤดูร้อนสองเดือนในการอบรม

ประเทศไทยได้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นผลให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สภานายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ ต้องสละราชสมบัติในกาลต่อมา  ทำให้กิจการลูกเสือไทยที่

พระองค์ทรงเกื้อกูลอยู่ต้องพลอยซบเซาไปด้วย ประกอบกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติได้ทรง

ลาออกไป เนื่องจากต้องทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาประมวญวิชาพูล(วงศ์ บุญหลง) เข้ารับหน้าที่แทนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2475 แต่ดำรงตำแหน่งอยู่เพียงปีเศษก็กราบบังคมทูล ลาออกเนื่องจากต้องย้ายตำแหน่งหน้าที่จากตำแหน่งเดิม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริม ปันยารชุน) ดำรงตำแหน่งแต่อยู่ในตำแหน่งไม่ถึงปีก็ต้อง

กราบบังคมทูลลาออกอีก เนื่องจากมีอาการเจ็บป่วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้พระยาประมวญวิชาพูล กลับเข้ามารักษาการในตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง จนกระทั่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ น.ท. หลวง

ศุภชลาศัย (ยศขณะนั้น) เป็นอธิบดีกรมพลศึกษา เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2477 ตำแหน่งอุปนายกสภากรรมการกลางจักการลูกเสือแห่งชาติ จึงตกมาอยู่แก่อธิบดีกรมพลศึกษานับตั้งแต่บัดนั้น

ความผันผวนทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองยังไม่มีที่สิ้นสุดลง  ทั้งนี้ เนื่องจากการปฏิวัติเกิดขึ้น เรียกกันว่า “กบฏบวรเดช” การปฏิวัติครั้งนี้ปรากฏว่าลูกเสือได้เข้าช่วยฝ่ายราชการทหารอย่างกล้าหาญจน ได้รับคำชมเชยจากฝ่ายทหารเป็นอันมาก และในระหว่างที่มีความผันผวนทางการเมืองอยู่นี้

ได้มีการประกาศใช้  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับใหม่ด้วย ซึ่งทำให้ต้องมีผลแก้ไขข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ พุทธศักราช 2461 ไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแผ่นดินนั่นเอง  โดยให้มีการยุบสภากรรมการจัดการลูกเสือมณฑล และให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดขึ้น โดยขึ้นตรง ต่อสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือและให้คณะกรรมการจัดการ

ลูกเสืออำเภอขึ้นโดยขึ้นตรงต่อกรรมการจัดการ ลูกเสือจังหวัด ทำหน้าที่บริหารกิจการลูกเสือจังหวัดและอำเภอด้วย ในขณะเดียวกันได้มีการจัดรูปแบบการบริหารราชการของกระทรวงธรรมการเสียใหม่ ทำให้มีกรมใหม่ขึ้นคือ กรมพลศึกษา และกรมพลศึกษาได้มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็นกองต่าง ๆ  โดยมีกอง

ลูกเสือสังกัดอยู่ในกรมพลศึกษาด้วย  การลูกเสือไทยจึงอยู่ในความรับผิด-ชอบของกรมพลศึกษานับแต่นั้นมาเนื่องด้วยรัฐบาลในสมัยนั้นได้มียโยบายที่จะให้มีการฝึกหัดอบรมวิชาทหารแก่นักเรียน ดังนั้น กระทรวงธรรมการจึงได้ออกระเบียบว่าด้วยนักเรียนที่จะสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหารขึ้นมาฉบับหนึ่ง ซึ่งในระเบียบนี้ได้มีอยู่หนึ่งข้อที่กำหนดไว้ว่า นักเรียนที่จะสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหารได้นั้น “จะต้องสอบวิชาลูกเสือเอกได้แล้ว และยังเป็นลูกเสือประจำกองอยู่”  แสดงให้เห็นว่าช่วงระยะนี้ กิจการลูกเสือได้รับความเอาใจใส่จากรัฐบาลเป็นอย่างดี ทั้งนี้ เป็นผลสะท้อนมาจากการที่ลูกเสือได้ช่วยปราบจลาจล ทำให้รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการลูกเสือเป็นอย่างดี

กิจการลูกเสือของไทยในยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีลูกเสือเกิดขึ้นอีกเหล่าคือ

เหล่าสมุทรเสนา โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เป็นการสมควรที่จะจัดการฝึก

อบรมและอบรมเด็กที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นที่สมควรจะต้องมีความรู้ความสามารคในวิทยาการทางทะเล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกองลูกเสือสมุทรเสนาในจังหวัดชายทะเล หรือในท้องถิ่นที่มีการคมนาคมทางน้ำติดต่อกับทะเล ก็ให้ตั้งกองลูกเสือสมุทรเสนาได้ ความเจริญการลูกเสือสมุทรเสนานี้ มิใช่เป็นของแปลกใหม่อันใด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้มีการฝึกอบรมกันขึ้นตามจังหวัดชายทะเลมาแล้ว โดยเลียนแบบจาก  “กองเสือป่ารักษาพระองค์”  แต่ว่าในครั้งนั้นมิได้มีการ

แยกหน่วย ประเภทหลักสูตร  และการฝึกฝนอบรมตลอดจนเครื่องแบบต่างกันแต่อย่างใด คงใช้วิธีฝึกรวม ๆ กันไปในหน่วยของลูกเสือเสนานั่นเอง หลังจากที่มีการประกาศ  ตั้งการลูกเสือสมุทรเสนาได้เพียง 7 วัน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงสละราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เป็นต้นไป

 

การลูกเสือไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติแล้วพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล ก็ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลราชสมบัติสืบสนองตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันติวงศ์ต่อมาเป็นรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ขณะนั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์มาก มีพระชนม์มายุเพียง 9 พรรษา และกำลังประทับศึกษาวิชาการอยู่ ณ ต่างประเทศ   จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธย

การลูกเสือในยุคประชาธิปไตยที่เริ่มต้นเป็นยุคแห่งความซบเซาของลูกเสือเป็นอันมาก ทั้งนี้เกิดจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก วิกฤตการณ์ภายในนั้นได้เกิดข้อขัดแย้งทั้งในฝ่ายสถาบันบริหารและสถาบันนิติบัญญัติ จนถึงต้องยุบสภาเปลี่ยนรัฐบาลใหม่หลายครั้ง วิกฤตการณ์ภายนอกเกิดจากลัทธิเผด็จการได้คุกคามสันติภาพของโลกโดยทั่วไป ในที่สุดก็เกิดสงครามโลกขึ้นในปี พ.ศ. 2482

ประเทศไทยก็เกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสขึ้นอีก จนถึงขั้นปะทะกัน เป็นสงครามที่มิได้ประกาศ แต่พอเรื่องสงบประเทศญี่ปุ่นก็จุดชนวนสงครามทางด้านเอเชียบูรพาขึ้นมา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 สงครามได้ลุกลามมาถึงประเทศไทยด้วย

วิกฤตการณ์เหล่านี้มีผลกร

หมายเลขบันทึก: 363002เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2010 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เพิ่มเติครับ

สำหรับมณฑลราชบุรี ได้รับพระราชทาน 2 ครา คือ

1. 22 ก.พ. 2467 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็นผืนสุดท้ายในรัชสมัยครับ

2. เมื่องานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 พ.ศ. 2473 ณ สวนสราญรมย์

เพราะผมเห็นธงทั้ง 2 ผืนนั้นแล้ว

ขอขอบคุณท่าน jesswildtiger มากนะครับ มีข้อมูลอะไรดี ๆ ก็เผื่อแผ่มาอีกนะครับ

นายวงศ์วาศ จรรย์สุนทร

อยากให้อาตารย์เพิ่มเติมข้อมูลจากหอจดหมายเหตูแห่งชาติอีกครับ

ราชบุรีที่ ๑(ประจำมณฑล)

พระราชทานแล้วไม่น่าพระราชทานซ้ำนะครับ
หรือหากมี๒ผืนขอความกรุณาชี้แนะด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท