มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

การบริหารงานวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่เก่า


ความคิดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อชุมชน คือความคิดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อชุมชน โดยมองว่าในชุมชนมีความต้องการสิ่งใด (สินค้าหลักที่ชุมชนต้องใช้) ที่ชาวชุมชนสามารถทำได้ด้วยตนเอง

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2553 ผู้เขียนได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ณ ศูนย์วัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์และการท่องเที่ยว ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งครั้งนี้สำนักงานเกษตรอำเภอสามร้อยยอด เป็นเจ้าภาพการจัดสัมมนาของอำเภอสายเหนือ การสัมมนาในครั้งนี้มีประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การดำเนินงานโครงการ Food Safety  การขึ้นทะเบียนข้าวตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร และการบริหารงานวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่เก่า  โดยผู้เขียนรับหน้าที่เป็นผู้ลิขิตในประเด็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งจะขอนำองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น "การบริหารงานวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่เก่า" มาแบ่งปันค่ะ

         

กำนันชลอ  เจิมวงศ์รัตนชัย คือผู้ที่มาเล่าเรื่องราวการบริหารงานวิสาหกิจชุมชนตำบลไร่เก่าให้กับพวกเราชาวส่งเสริมการเกษตรได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ดังนี้

  • จุดเริ่ม กำนันชลอ เป็นผู้ริเริ่มการรวมกลุ่ม โดยได้จากการประชุมหมู่บ้านแล้วเกิดความคิดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อชุมชน โดยมองว่าในชุมชนมีความต้องการสิ่งใด (สินค้าหลักที่ชุมชนต้องใช้) ที่ชาวชุมชนสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งผลสรุปก็คือ การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่มดังนี้

       1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปุ๋ยน้ำชีวภาพและปุ๋ยหมัก ตำบลไร่เก่า

        

       2. วิสาหกิจชุมชนร้านค้าชุมชนคนหมู่ 3

        

       3. วิสาหกิจชุมชนน้ำดื่มและน้ำแข็งสามร้อยยอด

  • การบริหาร  ทุกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะมีคณะกรรมการของกลุ่มแยกจากกัน โดยคณะกรรมการทุกกลุ่มจบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ยกเว้นเพียงกำนันชลอ ผู้เดียวที่จบการศึกษาชั้นประถม 7 แต่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของทั้ง 3 วิสาหกิจชุมชน และเป็นผู้ที่เป็นกลไกหลักในการบริหารงาน ด้วยความเป็นผู้ที่เสียสละ รับผิดชอบ และมากประสบการณ์ จึงทำให้ทุกคนในชุมชนให้ความไว้วางใจ  ซึ่งวิธีการบริหารงานทั้ง 3 กลุ่มจะคล้ายคลึงกัน ดังนี้

       1. การประชุม ที่นี่จะให้ความสำคัญกับการประชุมคณะกรรมการและสมาชิกเป็นอย่างมาก โดยมีการประชุมทุกเดือนเพื่อแจ้งผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค ตลอดจนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน จึงทำให้การดำเนินงานสามารถผ่านพ้นปัญหาต่างๆ เสมอมา

       2. การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน โดยสมาชิกทุกคนต้องลงหุ้นในการดำเนินกิจการ มากน้อยตามกำลัง และมีการปันผลกำไรกลับคืนสมาชิกตามหุ้นทุกปี จากการดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่เคยประสบปัญหาขาดทุน แต่กลับได้รับผลตอบแทนสูงกว่าฝากเงินกับธนาคาร

       3. มีการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนางาน ซึ่งเกี่ยวเนื่องจากการประชุมอย่างสม่ำเสมอ โดยนำปัญหาอุปสรรคที่พบมาร่วมกันวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เช่น ระบบการทำบัญชีและจำหน่ายสินค้าของร้านค้าชุมชน มีความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ จึงได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างระบบงานให้สมบูรณ์ขึ้นและง่ายต่อการตรวจสอบ  หรือการจูงใจให้สมาชิกมาซื้อสินค้าที่ร้านค้าที่ชุมชนให้มาก ก็มีการกำหนดการเฉลี่ยผลกำไรคืนแก่ลูกค้าที่เป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น เป็นต้น

       4. การสร้างขวัญและกำลังใจ โดยการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีกรรมการฝ่ายตรวจสอบทำหน้าที่สุ่มตรวจสอบการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน หากพบว่ามีการดำเนินงานที่ดี ก็จะมีการประกาศยกย่องชมเชยในที่ประชุม แต่หากพบข้อผิดพลาดจะแจ้งกรรมการชุดใหญ่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงและหาแนวทางแก้ไขร่วมกันในทันที

           

       จากรูปแบบการบริหารงานนี้ กำนันชลอ บอกว่าได้นำหลักสหกรณ์มาใช้ เนื่องจากเป็นกรรมการสหกรณ์ชาวไร่สามร้อยยอดมาก่อน และเห็นว่าเป็นระบบที่ดีจึงนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานวิสาหกิจชุมชน  และในท้ายที่สุด กำนันชลอก็ได้ให้ข้อคิดกับพวกเราชาวส่งเสริมการเกษตรว่า องค์ความรู้ในครั้งนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวสำหรับการบริหารงานวิสาหกิจชุมชน เพียงแต่สามารถนำหลักการไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และศักยภาพของชุมชนนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 362610เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีครับน้องมุ่ยฮวง
  • การที่นักส่งเสริมได้ลงไปปฏิบัติงานในเวทีลปรร.
  • เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการทำงานงานส่งเสริม ณ.ปัจจุบัน
  • ทำให้เราได้ทราบถึงศักยภาพของกลุ่มและชุมชน
  • อย่างน้อยๆก็จะได้กระตุ้นหรือมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
  • ตลอดจนการกำหนดแนวทางในการพัฒนากลุ่มซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่การกำหนดกิจกรรมกลุ่มหรือกำหนดแผนพัฒนากลุ่มต่อไป

    ท้ายนี้ต้องขอชื่นชมน้องมุ่ยฮวงที่ได้มีโอกาสลงไปร่วมเวที ลปรร.กับกลุ่มแต่ก็อย่าลืมเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพไปพร้อมกันนะครับ ขอบคุณครับ......

  • สวัสดีครับน้องมุ่ยฮวง
  • การที่นักส่งเสริมได้ลงไปปฏิบัติงานในเวทีลปรร.
  • เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการทำงานงานส่งเสริม ณ.ปัจจุบัน
  • ทำให้เราได้ทราบถึงศักยภาพของกลุ่มและชุมชน
  • อย่างน้อยๆก็จะได้กระตุ้นหรือมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน
  • ตลอดจนการกำหนดแนวทางในการพัฒนากลุ่มซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่การกำหนดกิจกรรมกลุ่มหรือกำหนดแผนพัฒนากลุ่มต่อไป

    ท้ายนี้ต้องขอชื่นชมน้องมุ่ยฮวงที่ได้มีโอกาสลงไปร่วมเวที ลปรร.กับกลุ่มแต่ก็อย่าลืมเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพไปพร้อมกันนะครับ ขอบคุณครับ......

  • สวัสดีครับคุณมุ่ยฮวง
  • ตามลุงสายัณห์มาครับ
  • เยี่ยมมากเลยครับ

P P

  • สวัสดีค่ะพี่เขียวมรกต และพี่สิงห์ป่าสัก
  • สบายดีนะคะ  มุ่ยฮวงหายไปนานค่ะ แล้วจะแวะเข้าไปเยี่ยมนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท