คุณธรรมนำความรู้......สู่คนในสังคมไทย


คุณธรรมนำความรู้......สู่คนในสังคมไทย

             คุณธรรมนำความรู้......สู่คนในสังคมไทย

                                                                                   จิราณี  เป็นสุข*

สภาพปัจจุบันที่ถูกกระทบจากปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจหรือการเมืองก็ตาม ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย เช่น ปัญหาความยากจน ครอบครัวแตกแยก หนี้สิน  ยาเสพติด การพนัน การใช้ความรุนแรงต่อคนในครอบครัว การใช้ความรุ่นแรงของกลุ่มคนเสื้อแดง ฯลฯ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลให้คนไทยมีพฤติกรรมด้านลบและพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เช่น การไม่เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย การใช้ยาเสพติด การแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดคือ ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย

การที่จะพัฒนาให้คนสังคมไทยเป็นคนดี มีคุณธรรมควบคู่กับความรู้นั้น ควรเริ่มจากคนที่อยู่ใกล้ตัว สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้จากการดำเนินชีวิตให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในสังคมเล็ก ๆ ไปสู่คนในสังคมใหญ่  โดยยึดรูปแบบแนวทางที่เป็นพระราชจริยวัตรที่ดีงามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนควรน้อมนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ และยังเป็นการทำความดีเพื่อถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยทุกคนคุณธรรมนำความรู้ สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนในสังคมไทยโดยการใช้คุณธรรม 

 

 

* นักศึกษา สาขานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาคนในสังคมไทย เป็นคนดีมีความรู้ และอยู่ดีมีสุข

                ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตประสบความสำเร็จ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

“ ๘ คุณธรรมพื้นฐาน ”  

๑.       ขยัน

        มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

๒.     ประหยัด

         ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายรู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่าไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ

๓.      ซื่อสัตย์

         มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงในปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อมรับรู้หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง

๔.      มีวินัย

         ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

๕.     สุภาพ

มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าวรุนแรง หรืวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย

๖.       สะอาด

         รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้ง กาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

๗.     สามัคคี

         เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดีมีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและอย่างสมานฉันท์

๘.     มีน้ำใจ

         เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคมรู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเห็นอก เห็นใจและเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

๙.       กตัญญู

         ปฏิบัติตนเห็นคุณค่าแห่งการกระทำดี หรืออุปการคุณของผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูอาจารย์ หรือผู้อื่น พร้อมที่จะแสดงออกเพื่อบูชา และตอบแทนคุณความดีนั้นด้วยการกระทำ การพูดและการระลึกถึงด้วยความบริสุทธิ์ใจ

         จากคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ สามารถนำไปกำกับการแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสมกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม ภูมิใจในความเป็นไทย มีสำนึกนำในการดูและรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ การสำรวจตนเองทางด้านบุคลิกภาพ คุณธรรม ความฉลาดทางอารมณ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การวางแผนชีวิตและงาน และแนวทางในการบริหารจัดการชีวิต ครอบครัว สังคม การมองโลกในแง่ดี โดยการนำคุณธรรม ความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและยั่งยืน

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. คู่มือกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม. ตรัง : สำนักงานเขต

   พื้นที่การศึกษาตรัง เขต ๑, ๒๕๕๒.

 

 

 

 

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 361828เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท