วิชาอัล-หะดีษ การตรงต่อเวลา


การตรงต่อเวลา เป็นการประพฤติและปฏิบัติของบุคคลที่กระทำต่อกิจการงานที่ตนกระทำ ที่ตนรับผิดชอบและที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้หน้าที่การงานนั้นสำเร็จลุล่วงไปตามกำหนดเวลา หรือเป็นการปฏิบัติตามพันธะสัญญา

 

 

การตรงต่อเวลา

 

 

 

 

การตรงต่อเวลา

 

 

การตรงต่อเวลา เป็นการประพฤติและปฏิบัติของบุคคลที่กระทำต่อกิจการงานที่ตนกระทำ ที่ตนรับผิดชอบและที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้หน้าที่การงานนั้นสำเร็จลุล่วงไปตามกำหนดเวลา หรือเป็นการปฏิบัติตามพันธะสัญญา การนัดหมายที่ได้กระทำไว้กับคู่กรณีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามโอกาสต่าง ๆ โดยที่ผู้ปฏิบัติได้ตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบและรักษาคำมั่นสัญญาที่ทำไว้ ซึ่งปรากฏหลักฐานจากอัลหะดีษ ดังนี้

 

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ مَسْعُوْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قال : سَأَلْتُ رسولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم  : أَيُّ اْلأَعْمَالِ أَفْضَلُ ؟ قَالَ :  "اَلصَّلاَةُ عَلَى وَقْتِهَا " قُلْتُ : ثُمَّ أَيٌّ قَالَ : "بِرُّ الْوَالِدَيْنِ "  " قُلْتُ : ثُمَّ أَيٌّ قَالَ : " اَلْجِهَادُ فِيْ سَبِيْلِ اللهِ رواه البخاري ومسلم

 

หนึ่ง : เล่าจากอับดุลเลาะห์ บุตร มัสอูด (ร.ด.) ว่า ฉันได้ถามท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.)ว่า กิจกรรมใดประเสริฐที่สุด ?  ท่านตอบว่า  “การละหมาดตามกำหนดเวลาของมัน” ฉันถามว่า หลังจากนั้นคืออะไร ? ท่านตอบว่า “การกตัญญูต่อบิดามารดา” ฉันถามว่าหลังจากนั้นคืออะไร ? ท่านตอบว่า “การต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ” 

                                                   รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม

 

ความหมายโดยสรุป

                ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้ตอบคำถามของซอฮาบะห์ผู้ทรงเกียรติ คือ อับดุล -เลาะห์ บุตร มัสอูดที่ได้เรียนถามท่านถึงกิจกรรมต่างๆที่มีความประเสริฐที่สุด เพราะมีความต้องการจะปฏิบัติแต่กิจกรรมที่ดี ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้ตอบว่า การปฏิบัติละหมาดฟัรดู 5 เวลาทุกวัน ตามเวลาที่กำหนดเป็นกิจกรรมที่ประเสริฐที่สุด กิจกรรมทางศาสนามักจะผูกพันกับเวลาเช่นการถือศีลอดในเดือนรอมาดอนการจ่ายซะกาตเมื่อครอบ -ครองทรัพย์ไว้ครบรอบหนึ่งปี การทำฮัจย์ในเวลาที่กำหนด เป็นต้น วิทยปัญญาอย่างหนึ่งก็คือต้องการให้มุสลิมเป็นคนตรงต่อเวลา และรักษาเวลา  และกิจกรรมที่มีความประเสริฐในอันดับรองลงไปคือการทดแทนคุณบิดามารดาและการต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้นอกจากจะส่งเสริมให้มุสลิมเป็นคนตรงต่อเวลาแล้ว ยังส่ง เสริมให้มุสลิมปฏิบัติดังนี้

  1. กิจกรรมที่ประเสริฐที่สุดต่อพระองค์อัลลอฮฺคือการละหมาด
  2. กิจกรรมที่ประเสริฐที่สุดต่อมนุษย์คือการทดแทนคุณบิดา - มารดา
  3. การละหมาดตามเวลาที่กำหนดเป็นกิจกรรมที่ประเสริฐที่สุด
  4. การทดแทนคุณบิดามารดาเป็นการกระทำที่ประเสริฐ
  5. การต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺเป็นการกระทำที่ประเสริฐ

 

 

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : أَخَذَ رسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم بِمَنْكِبَيَّ فَقَالَ : " كُنْ فِي الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيْبٌ أَوْ عَابِرُ سَبِيْلٍ " وَكَانَ ابْنُ عُمَرَ رضي الله عنهُمَا يَقُوْلُ : إِذَا أَمْسَيْتَ فَلاَ تَنْتَظِرِ الصَّبَاحَ وَإِذَا أَصْبَحْتَ فَلاَ تَنْتَظِرِ الْمَسَاءَ وَخُذْ مِنْ صِحَّتِكَ لِمَرَضِكَ وَمِن حَيَاتِكَ لِمَوْتِكَ " رواه البخاري

 

สอง : เล่าจากอิบนิอุมัร (ร.ด.) ว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.)  ได้จับบ่าทั้งสองข้างของฉัน แล้วพูดขึ้นว่า  “ท่านจงอยู่ในโลกนี้เหมือนท่านเป็นคนแปลกหน้า, หรือเป็นเพียงคนที่เดินทาง ผ่าน  ”และอิบนุ  อุมัร  (ร.ด)  ได้กล่าวไว้ว่า  :  เมื่ออยู่ในเวลาเย็น  ท่านอย่าคอยจนถึงเวลาเช้า,  เมื่อท่านอยู่ในเวลาเช้าท่านก็อย่าคอยจนถึงเวลาเย็น,  ท่านจงตักตวง  (ความดี)  ขณะที่มีสุขภาพดีเพื่อยามเจ็บป่วยของท่านและท่านจงตักตวง  (ความดี)  ขณะที่ยังมีชีวิต  เพื่อความตายของท่าน  

                                                                 รายงานโดยบุคอรี

ความหมายโดยสรุป

                ท่านนบี (ซ.ล.) ได้อธิบายให้พวกเราทราบถึงสภาพที่แท้จริงของโลกนี้ว่าไม่ใช่เป็นที่พำนักที่จีรังและถาวร มนุษย์ที่มาอยู่ในโลกนี้จึงเหมือนคนแปลกหน้าหรือคนต่างถิ่นที่เดินทาง เข้ามาแล้วก็จากไป โลกนี้จึงเป็นสถานที่ที่มนุษย์จะต้องกอบโกยความดีไว้ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และจะต้องไม่ติดยึดอยู่กับโลกนี้ ด้วยความลุ่มหลงและมุ่งแสวงหาแต่ทรัพย์สินเพื่อความสุขในโลกนี้เท่านั้น ท่านอิบนุอุมัร (ร.ด.) ได้อธิบายว่า มนุษย์จะต้องไม่ผลัดวันประกันพรุ่งในการทำความดี และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยกล่าวว่า เมื่ออยู่ในเวลาเช้า อย่าคอยเวลาเย็น เมื่ออยู่ในเวลาเย็นอย่าคอยเวลาเช้า นั่นก็คือเมื่อสบโอกาสที่จะทำความดี และสิ่งที่เป็นประโยชน์จะต้องรีบทำทันทีและจงตักตวงความดีขณะที่มีสุขภาพดี เพื่อยามเจ็บป่วยของท่าน เพราะเมื่อเจ็บป่วยก็จะพลาดโอกาสในการทำความดีและจงตักตวงความดีขณะที่ยังมีชีวิต  เพื่อความตายของท่าน เพราะเมื่อเสียชีวิต ก็จะหมดโอกาสทำความดี

 

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้นอกจากส่งเสริมไม่ให้มุสลิมผัดวันประกันพรุ่ง ยังส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติ ดังนี้

  1. โลกนี้เป็นเพียงแหล่งพำนักชั่วคราว และเป็นเพียงทางผ่าน
  2. รีบทำความดีทันทีเมื่อมีโอกาส
  3. เวลาเป็นสิ่งมีค่า เมื่อผ่านไปแล้วเรียกเอาคืนไม่ได้
  4. โลกนี้เป็นแหล่งที่มนุษย์มาแข่งขันทำความดี

 

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا  قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم :    " نِعْمَتَانِ مَغْبُوْنٌ فِيْهِمَا كَثِيْرٌ مِنَ النَّاسِ : اَلصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ "  رواه الترمذي                          

            สาม : เล่าจากอับดิ้ลลาห์ บุตร  อับบาส (ร.ด.) ว่า  ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.)ได้กล่าวว่า “มีความโปรดปรานสองประการที่ผู้คนส่วนมากมักละเลยนั่นคือความมีสุขภาพดี และเวลาว่าง”     

รายงานโดยติรมีซีย์

          ความหมายโดยสรุป

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้สอนประชากรของท่านให้เห็นคุณค่าของเวลาและสุขภาพ โดยเตือนให้ได้คิดว่าคนส่วนใหญ่เมื่อได้รับความโปรดปรานมีเวลาว่าง แต่ก็ปล่อยปละละเลยไม่ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ แต่นำเวลานั้นไปใช้ให้หมดไปในทางที่ไร้สาระไม่เกิดประโยชน์ใดๆ จนในที่สุดเมื่อมีการงานรัดตัวไม่มีเวลาว่าง เขาก็ระทมทุกข์และเสียใจ   ความมีสุขภาพและพลานามัยสมบูรณ์ ก็เช่นเดียวกันเมื่อคนที่มีสุขภาพดีร่างกายแข็งแรงและไม่ใช้โอกาสอันดีนี้ตักตวงทำความดี เขาก็จะเป็นผู้ขาดทุนและเสียใจ  เมื่อร่างกายอ่อนแอ มีโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียดเบียนจนพลาดโอกาสในการทำความดีไป ดังนั้นมุสลิมจึงต้องเป็นผู้ที่รู้คุณค่าของเวลา และคุณค่าของสุขภาพพลานามัยที่  อัลลอฮฺตาอาลาประทานให้ด้วยการขอบคุณพระองค์เป็นอย่างสูง                                               

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้นอกจากจะสอนให้มุสลิมสำนึกอยู่เสมอว่า เวลา และความดี สุขภาพพลานามัยเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) แล้ว ยังสอนให้มุสลิม ดังนี้

  1. ตักตวงทำความดีเมื่อมีเวลา และมีสุขภาพดี
  2. การเจ็บไข้ได้ป่วยและภารกิจการงานที่ยุ่งเป็นอุปสรรคในการทำความดี
  3. สำนึกในบุญคุณของพระเจ้าที่ได้ประทานเวลาและสุขภาพที่ดีให้

 

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عُمَرَ قَالَ :   قَالَ رسولُ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم : "لاَ تَزُوْلَ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عَنْ أَرْبَعٍ : عَنْ عُمْرِهِ فِيْمَا أَفْنَاهُ ، وَعَنْ شَبَابِهِ فِيْمَا أَبْلاَهُ ، وَعَنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيْمَا أَنْفَقَهُ ، وَعَنْ عِلْمِهِ مَاذَا فَعَلَ بِهِ أخرجه الإمام أحمد في مسنده

               

สี่  : เล่าจากอับดิ้ลลาห์บุตร อุมัร ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า เท้าทั้งสองข้างของบ่าวจะยังคงอยู่กับที่ในวันกิยา-มะห์ จนกว่าเขาจะถูกถามสี่ประการคือ ถามถึงอายุของเขา ว่าใช้ให้หมดไปอย่างไร ? ถามถึงวัยหนุ่มของเขาว่า เขาได้ทำอะไรไว้  ? ถามถึงทรัพย์สมบัติของเขาว่าเขาได้มาอย่างไร ? และใช้จ่ายมันอย่างไร ? และถามถึงความรู้ของเขาว่าเขาได้ใช้ความรู้ทำอะไรบ้าง ?”

                     รายงานโดยอิหม่ามอะห์มัด ในหนังสือมุสนัดของเขา

 

ความหมายโดยสรุป

ท่านนบี  (ซ.ล.) ได้บอกให้พวกเราได้ทราบถึงสภาพการสอบสวนที่จะเกิดขึ้นในวันกิยามะห์ที่ทุกคนจะต้องประสบว่าจะต้องถูกสอบถามสี่ประการคือ หนึ่ง  ถามถึงอายุของเขาว่าตลอดอายุที่เขามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เขาได้บริหารจัดการอย่างไร ใช้ให้หมดไปกับการทำความดีหรือความชั่ว  สองถามถึงวัยหนุ่มของเขา ซึ่งเป็นวัยของความกระชุ่มกระชวย วัยของความเข้มแข็งว่า เขาได้ใช้พลังของวัยหนุ่มวัยสาวหมดไปในทางใดทางสร้างสรรค์หรือทางทำลา  สาม ถามถึงทรัพย์สมบัติของเขา ว่าเขาได้มาอย่างไรได้มาในทางที่ศาสนาอนุมัติหรือในทางฉ้อโกงและทุจริตที่ศาสนาห้ามและเขาได้ใช้จ่ายทรัพย์ไปในทางใดในทางที่เป็นประโยชน์ หรือทำลายมันอย่างไร้ค่า   สี่ ถามถึงความรู้ของเขา ว่าเขาได้ปฏิบัติตามความรู้หรือไม่ ซึ่งทุกคนสามารถรู้คำตอบของตนได้แม้ขณะอยู่ในโลกนี้ หากเขาเป็นผู้ที่สำรวจตนเอง

 

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้ นอกจากจะสั่งเสียให้มุสลิมรู้คุณค่าของเวลา และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ยังสั่งเสียให้มุสลิม ดังนี้

  1. ส่งเสริมให้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าสร้างสมแต่ความดี
  2. แสวงหาทรัพย์สิน และใช้จ่ายไปในหนทางที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนา
  3. ศึกษาวิชาการที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติตามความรู้นั้น
  4. มีการตรวจสอบตนเอง อยู่เสมอ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมแล้ว

 

 

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ : " بَادِرُوْا بِالأَعْمَالِ سَبْعًا هَلْ تَنْتَظِرُوْنَ إِلاَّ فَقرًا مَنْسِيًّا أَوْ غِنًى مُطْغِيًا أَوْ مَرَضًا مُفْسِدًا أَوْ هَرَمًا مُفْنِدًا أَوْ مَوْتًا مُجْهِزًا أَوِ الدَّجَّالَ فَشَرُّ غَائِبٍ يُنْتَظَرُ أَوِ السَّاعَةَ فَالسَّاعَةُ أَدْهَى وَأَمَرُّ " رواه الترمذي وقال حديث حسن

 

          ห้า : เล่าจากอบีฮุรอยเราะห์(ร.ด.)ว่า : ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า: “ท่านทั้งหลายจงรีบเร่งทำความดี ก่อนที่เจ็ดประการนี้จะเกิดขึ้นกับพวกท่าน พวกท่านไม่ได้รอคอยสิ่งใดนอกจากความจนที่ถูกลืมไปแล้วหรือความรวยที่กดขี่ หรือความเจ็บปวดที่ทำให้ถดถอย หรือความชราภาพที่ทำให้สติเลอะเลือน หรือความตายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือดัจญาลซึ่งเป็นสิ่งที่เร้นลับที่เลวร้าย หรือวันกิยามะห์ และวันกิยามะห์นั้นวุ่นวายและขื่นขมยิ่ง 

                              รายงานโดย ติรมีซี และกล่าวว่า เป็นหะดีษฮะซัน

ความหมายโดยสรุป

ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) แสดงความห่วงใยต่อประชาชาติของท่านด้วยการเตือนพวกเขาให้รีบเร่งทำความดีก่อนที่จะเกิดอุปสรรคต่างๆ ขึ้นอย่างกระทันหันจนไม่สามารถทำความดีได้อย่างเต็มที่ และอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการทำความดีก็คือความร่ำรวยที่ทำให้มีกิจการมากมาย  ความยากจนที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น ความเจ็บป่วยที่ทำให้หมดกำลังวังชา  ความชราภาพที่ทำให้สติเลอะเลือน ความตายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน  และเหตุการณ์ใกล้วันกิยามะห์ที่มีแต่ความวุ่นวาย

 

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้ สอนให้มุสลิมรีบเร่งทำความดีก่อนที่จะหมดโอกาส นอกจากนี้ยังสอนให้มุสลิม ดังนี้

  1. บอกถึงเรื่องดัจญาล ซึ่งเป็นเครื่องหมายหนึ่งของวันกิยามะห์
  2. การลงโทษในโลกดุนยานี้เบากว่าในอาคิเราะห์
  3. รีบเร่งทำความดีก่อนที่จะหมดโอกาส
  4. อุปสรรคที่ขวางกั้นความดีที่สำคัญคือความยากจน ความร่ำรวย อาการป่วย และความชรา

 

 

 

 

 

แบบประเมินตนเอง เรื่อง การตรงต่อเวลา

 

คำชี้แจ้ง          แบบประเมินนี้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ เรื่อง “การตรงต่อเวลา” แบบประเมินนี้มี 4 ระดับ  และให้นักเรียนประเมินตนเองให้ตรงกับความเป็นจริง แล้วเขียนเครื่อง (P) ลงในช่องของระดับการประเมินตนเอง เรื่อง “การตรงต่อเวลา” ซึ่งมี  จริงมาก,จริง,จริงเป็นบางครั้ง และไม่จริง

 

ที่

รายการ

ระดับการประเมิน

จริงมาก

จริง

จริงเป็นบางครั้ง

ไม่จริง

1

ประพฤติ ปฏิบัติตรงต่อเวลา

 

 

 

 

2

ปฏิบัติหน้าที่งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

 

 

 

3

ตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบ

 

 

 

 

4

รักษาคำมั่นสัญญาที่ทำไว้

 

 

 

 

5

มีความต้องการจะปฏิบัติแต่กิจกรรมที่ดี

 

 

 

 

6

เข้าแถวตามเวลาที่โรงเรียนกำหนดไว้

 

 

 

 

7

เข้าคาบเรียนตรงเวลา

 

 

 

 

8

ครูเข้าสอนตรงต่อเวลา

 

 

 

 

9

กิจกรรมที่ดีและประสบความสำเร็จ มักจะผูกพันกับเวลา

 

 

 

 

10

มุ่งแสวงหาแต่ทรัพย์สิน เพื่อความสุขในโลกนี้

 

 

 

 

11

ผัดวันประกันพรุ่งในการทำความดี

 

 

 

 

12

ปล่อยปละละเลยไม่ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

 

 

 

 

13

ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า สร้างสมแต่ความดี

 

 

 

 

14

ศึกษาวิชาการที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติตามความรู้นั้น

 

 

 

 

15

รีบเร่งทำความดี ก่อนที่จะหมดโอกาส

 

 

 

 

16

อุปสรรค์ที่ขวางกั้นความคือ ความยากจน ความร่ำรวย ความเจ็บปวด ความชรา

 

 

 

 

17

ใช้พลังของวัยหนุ่ม วัยสาวไปในทางทำลาย

 

 

 

 

18

ตักตวงความดี เมื่อมีเวลา

 

 

 

 

19

ใช้เวลาว่างไปในทางไร้สาร

 

 

 

 

20

แสวงหาทรัพย์สิน และใช้จ่ายไปในทางที่ผิดหลักศาสนา

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมท้ายบท

1.  จงเล่าประสบการณ์ของนักเรียนเองว่า เคยได้รับแรงเสริมอะไรที่ทำให้นักเรียนพัฒนาพฤติกรรมการตรงต่อเวลาที่เด่นและจำได้เท่าทุกวันนี้

2.  ตามประสบการณ์ของนักเรียนเอง โปรดเพิ่มเติมปัจจัยต่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการตรงต่อเวลาของนักเรียน มา 5 ประการ

 

การนัดหมายที่ได้กระทำไว้กับคู่กรณีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามโอกาสต่าง ๆ โดยที่ผู้ปฏิบัติได้ตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบและรักษาคำมั่นสัญญาที่ทำไว้ ซึ่งปรากฏหลักฐานจากอัลหะดีษ ดังนี้

 

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ مَسْعُوْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قال : سَأَلْتُ رسولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم  : أَيُّ اْلأَعْمَالِ أَفْضَلُ ؟ قَالَ :  "اَلصَّلاَةُ عَلَى وَقْتِهَا " قُلْتُ : ثُمَّ أَيٌّ قَالَ : "بِرُّ الْوَالِدَيْنِ "  " قُلْتُ : ثُمَّ أَيٌّ قَالَ : " اَلْجِهَادُ فِيْ سَبِيْلِ اللهِ رواه البخاري ومسلم

 

หนึ่ง : เล่าจากอับดุลเลาะห์ บุตร มัสอูด (ร.ด.) ว่า ฉันได้ถามท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.)ว่า กิจกรรมใดประเสริฐที่สุด ?  ท่านตอบว่า  “การละหมาดตามกำหนดเวลาของมัน” ฉันถามว่า หลังจากนั้นคืออะไร ? ท่านตอบว่า “การกตัญญูต่อบิดามารดา” ฉันถามว่าหลังจากนั้นคืออะไร ? ท่านตอบว่า “การต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ” 

                                                   รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม

 

ความหมายโดยสรุป

                ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้ตอบคำถามของซอฮาบะห์ผู้ทรงเกียรติ คือ อับดุล -เลาะห์ บุตร มัสอูดที่ได้เรียนถามท่านถึงกิจกรรมต่างๆที่มีความประเสริฐที่สุด เพราะมีความต้องการจะปฏิบัติแต่กิจกรรมที่ดี ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้ตอบว่า การปฏิบัติละหมาดฟัรดู 5 เวลาทุกวัน ตามเวลาที่กำหนดเป็นกิจกรรมที่ประเสริฐที่สุด กิจกรรมทางศาสนามักจะผูกพันกับเวลาเช่นการถือศีลอดในเดือนรอมาดอนการจ่ายซะกาตเมื่อครอบ -ครองทรัพย์ไว้ครบรอบหนึ่งปี การทำฮัจย์ในเวลาที่กำหนด เป็นต้น วิทยปัญญาอย่างหนึ่งก็คือต้องการให้มุสลิมเป็นคนตรงต่อเวลา และรักษาเวลา  และกิจกรรมที่มีความประเสริฐในอันดับรองลงไปคือการทดแทนคุณบิดามารดาและการต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้นอกจากจะส่งเสริมให้มุสลิมเป็นคนตรงต่อเวลาแล้ว ยังส่ง เสริมให้มุสลิมปฏิบัติดังนี้

  1. กิจกรรมที่ประเสริฐที่สุดต่อพระองค์อัลลอฮฺคือการละหมาด
  2. กิจกรรมที่ประเสริฐที่สุดต่อมนุษย์คือการทดแทนคุณบิดา - มารดา
  3. การละหมาดตามเวลาที่กำหนดเป็นกิจกรรมที่ประเสริฐที่สุด
  4. การทดแทนคุณบิดามารดาเป็นการกระทำที่ประเสริฐ
  5. การต่อสู้ในวิถีทางของอัลลอฮฺเป็นการกระทำที่ประเสริฐ

 

 

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : أَخَذَ رسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم بِمَنْكِبَيَّ فَقَالَ : " كُنْ فِي الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيْبٌ أَوْ عَابِرُ سَبِيْلٍ " وَكَانَ ابْنُ عُمَرَ رضي الله عنهُمَا يَقُوْلُ : إِذَا أَمْسَيْتَ فَلاَ تَنْتَظِرِ الصَّبَاحَ وَإِذَا أَصْبَحْتَ فَلاَ تَنْتَظِرِ الْمَسَاءَ وَخُذْ مِنْ صِحَّتِكَ لِمَرَضِكَ وَمِن حَيَاتِكَ لِمَوْتِكَ " رواه البخاري

 

สอง : เล่าจากอิบนิอุมัร (ร.ด.) ว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.)  ได้จับบ่าทั้งสองข้างของฉัน แล้วพูดขึ้นว่า  “ท่านจงอยู่ในโลกนี้เหมือนท่านเป็นคนแปลกหน้า, หรือเป็นเพียงคนที่เดินทาง ผ่าน  ”และอิบนุ  อุมัร  (ร.ด)  ได้กล่าวไว้ว่า  :  เมื่ออยู่ในเวลาเย็น  ท่านอย่าคอยจนถึงเวลาเช้า,  เมื่อท่านอยู่ในเวลาเช้าท่านก็อย่าคอยจนถึงเวลาเย็น,  ท่านจงตักตวง  (ความดี)  ขณะที่มีสุขภาพดีเพื่อยามเจ็บป่วยของท่านและท่านจงตักตวง  (ความดี)  ขณะที่ยังมีชีวิต  เพื่อความตายของท่าน  

                                                                 รายงานโดยบุคอรี

ความหมายโดยสรุป

                ท่านนบี (ซ.ล.) ได้อธิบายให้พวกเราทราบถึงสภาพที่แท้จริงของโลกนี้ว่าไม่ใช่เป็นที่พำนักที่จีรังและถาวร มนุษย์ที่มาอยู่ในโลกนี้จึงเหมือนคนแปลกหน้าหรือคนต่างถิ่นที่เดินทาง เข้ามาแล้วก็จากไป โลกนี้จึงเป็นสถานที่ที่มนุษย์จะต้องกอบโกยความดีไว้ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และจะต้องไม่ติดยึดอยู่กับโลกนี้ ด้วยความลุ่มหลงและมุ่งแสวงหาแต่ทรัพย์สินเพื่อความสุขในโลกนี้เท่านั้น ท่านอิบนุอุมัร (ร.ด.) ได้อธิบายว่า มนุษย์จะต้องไม่ผลัดวันประกันพรุ่งในการทำความดี และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยกล่าวว่า เมื่ออยู่ในเวลาเช้า อย่าคอยเวลาเย็น เมื่ออยู่ในเวลาเย็นอย่าคอยเวลาเช้า นั่นก็คือเมื่อสบโอกาสที่จะทำความดี และสิ่งที่เป็นประโยชน์จะต้องรีบทำทันทีและจงตักตวงความดีขณะที่มีสุขภาพดี เพื่อยามเจ็บป่วยของท่าน เพราะเมื่อเจ็บป่วยก็จะพลาดโอกาสในการทำความดีและจงตักตวงความดีขณะที่ยังมีชีวิต  เพื่อความตายของท่าน เพราะเมื่อเสียชีวิต ก็จะหมดโอกาสทำความดี

 

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้นอกจากส่งเสริมไม่ให้มุสลิมผัดวันประกันพรุ่ง ยังส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติ ดังนี้

  1. โลกนี้เป็นเพียงแหล่งพำนักชั่วคราว และเป็นเพียงทางผ่าน
  2. รีบทำความดีทันทีเมื่อมีโอกาส
  3. เวลาเป็นสิ่งมีค่า เมื่อผ่านไปแล้วเรียกเอาคืนไม่ได้
  4. โลกนี้เป็นแหล่งที่มนุษย์มาแข่งขันทำความดี

 

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا  قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم :    " نِعْمَتَانِ مَغْبُوْنٌ فِيْهِمَا كَثِيْرٌ مِنَ النَّاسِ : اَلصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ "  رواه الترمذي                          

            สาม : เล่าจากอับดิ้ลลาห์ บุตร  อับบาส (ร.ด.) ว่า  ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.)ได้กล่าวว่า “มีความโปรดปรานสองประการที่ผู้คนส่วนมากมักละเลยนั่นคือความมีสุขภาพดี และเวลาว่าง”     

รายงานโดยติรมีซีย์

          ความหมายโดยสรุป

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้สอนประชากรของท่านให้เห็นคุณค่าของเวลาและสุขภาพ โดยเตือนให้ได้คิดว่าคนส่วนใหญ่เมื่อได้รับความโปรดปรานมีเวลาว่าง แต่ก็ปล่อยปละละเลยไม่ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ แต่นำเวลานั้นไปใช้ให้หมดไปในทางที่ไร้สาระไม่เกิดประโยชน์ใดๆ จนในที่สุดเมื่อมีการงานรัดตัวไม่มีเวลาว่าง เขาก็ระทมทุกข์และเสียใจ   ความมีสุขภาพและพลานามัยสมบูรณ์ ก็เช่นเดียวกันเมื่อคนที่มีสุขภาพดีร่างกายแข็งแรงและไม่ใช้โอกาสอันดีนี้ตักตวงทำความดี เขาก็จะเป็นผู้ขาดทุนและเสียใจ  เมื่อร่างกายอ่อนแอ มีโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเบียด

หมายเลขบันทึก: 361745เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครอบครัวผม และผม รัก ศาสนา อิสลาม

เพาะเป็นศาสนา ที่ดีที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท