โรงเรียน บ้านทุ่งหงาว ระนอง กับการเริ่มต้นหลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีที


สถานการณ์การใช้ไอซีทีของเด็กนักเรียนในโรงเรียนยังเห็นแต่สถานการณ์เทียม ครูในโรงเรียนสนใจหลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน้ต เกมคอมพิวเตอร์และ มือถือ

เป็นโรงเรียนที่สองที่ได้ลงมาเยี่ยมเยียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีที หลังจากไปเยี่มเยียนโรงเรียนบางละมุงวิทยาที่ชลบุรีมาแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

เป้าหมายในการมาเยี่ยนเยียนครั้งนี้ เพื่อมาตรวจสอบสถานการณ์ความต้องการหลักสูตรที่คุณครูในโรงเรียนอยากได้เพื่อไปใช้กับเด็กนักเรียนในการพัฒนาการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีที นอกจากนั้น ยังมาแสวงหาความร่วมมือในการทดลองใช้หลักสูตร การร่วมออกแบบการประเมินผลสัมฤทธิของหลักสูตรที่จะมาใช้กับนักเรียน

ดังนั้น คำถามสำคัญในการมาเยี่ยมเยียนโรงเรียนบ้านทุ่งหงาว มี สี่ ข้อ ใหญ่ ๆ

(๑) สถานการณ์ในการใชไอซีทีของเด็กนักเรียนที่โรงเรียนนี้เป็นอย่างไร มีข้อเด่น และ ข้อกังวลใจของคุณครูอย่างไร ?

  • พบว่า จำนวนนักเรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นไม่มีปัญหา ประกอบกับได้งบไทยเข้มแข็งจึงได้คอมพิวเตอร์มาใหม่อีก ๔ เครื่อง ถึงแม้จะไม่ได้มีถึงขนาด ๑ ต่อ ๑ แต่ก็น่าจะเพียงพอ (ในขนาด ๒ คน ต่อ ๑ เครื่องในการเรียนการสอน)
  • มีครูสอนคอมพิวเตอร์ ๒ คน
  • มีระบบการกำกับดูแลการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กนักเรียนโดยครูคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการใช้โปรแกรมการกลั่นกรองเนื้อหา
  • ปัญหาเด็กไปอยู่ในร้านเกมคาเฟ่ ยังคงเป็นปัญหาหลักๆที่พบในโรงเรียน
  • เพราะระบบการกำกับดูแลการใช้ไอซีทีในโรงเรียนค่อนข้างเข้มแข็ง ทำให้เราพบสถานการณ์ของการใช้ไอซีทีของเด็กที่ปรากฎต่อครู เป็นสถานการณ์เทียม คือ ไม่ปรากฏสถานการณ์จริงๆ เพราะมาตรการในการกำกับดูแลที่เข้มแข็งทำให้การใช้ไอซีทีในโรงเรียนเป็นไปตามมาตรการกำกับดูแล ทำให้ครูไม่เห็นสถานการณ์ของการใช้งานไอซีทีของเด็กในชีวิตจริง เช่น การห้ามนำโทรศัพท์มาโรงเรียน การมีโปรแกรมติดตามการใช้งานคอมพิวเตอร์ในห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • แต่เมื่อถามเจาะลึก เราจะพบสถานการณ์ที่แท้จริง เช่น การไปเล่นเกมในร้านเกมคาเฟ่ในเวลาเรียน ร้านเกมคาเฟ่มีเสื้อผ้าให้เปลี่ยน การเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์ลามก เป็นต้น
  • ส่วนสถานการณ์ด้านเชิงบวก พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการส่งเสริมให้เด็กใช้ไอซีทีเชิงสร้างสรรค์มากนัก

(๒) หลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีที่มีอยู่แล่วในโรงเรียน และ ที่โรงเรียนอยากได้เพิ่มเติมจากทีมวิจัยคืออะไร ?

  • โดยทั่วไปในทุกโรงเรียนจะมีหลักสูตรการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในหมวดหมู่ ๘ กลุ่มสาระหลัก โดยวิชากคอมพิวเตอร์ในช่วงชั้น ม ๒ ถึง ม ๓ จะมีการเรียนการสอนใน ๖ หมวดหมู่ ใน ๔๐ ชั่วโมง ๖ หน่วย (ความรูทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การประมวลผล การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การนำเสนองาน การสร้างเว็บเพจ การประยุกต์ใช้ขั้นสูง)
  • แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในหลักสูตรการเรียนที่เกี่ยวกับ การปกป้องคุ้มครองระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น สื่อลามก การล่อลวงผ่านแช็ต การหมิ่นประมาท การละเมิดลิขสิทธิ์ การติดเกม การใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย ยังไม่มีอย่างชัดเจน
  • หรือ หลักสูตรเกี่ยวกับการส่งเสริม เช่น การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาตนเอง และ ขยับไปถึงการพัฒนาสังคม ยังไม่ชัดเจน
  • โดยในแต่ละเรื่องทั้ง การคุ้มครองและการส่งเสริม จะมีการจัดหลักสูตรให้มีสองส่วนหลัก คือ เนื้อหาทั่วไป และ กิจกรรมในการเรียนการสอน

(๓) การบริหารจัดการหลักสูตรที่จะพัฒนาขึ้นด้วยกันนี้จะบริหารจัดการอย่างไร จะแทรกเข้าไปในในรายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หรือ จะแทรกเข้าไปในรายวิชาอื่นด้วย ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการไปเพิ่มภาระอันเกินสนควรให้กับครู ?

  • ในเบื้องต้น มีการหารือกันว่า หลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีทีจะถูกนไปใช้ในโรงเรียนเพื่อทดลองหลักสูตรอย่างไร พบว่ามีความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียนอย่างน้อย ใน ๔ รายวิชา กล่าวคือ
  • วิชาคอมพิวเตอร์ ที่มีจะมีการเรียนการสอนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองเด็กในระบบอินเทอร์เน็ต และ เกมคอมพิวเตอรื
  • วิชาแนะแนว ในส่วนของการใช้ไอซีทีเพื่อการศึกษาหาความรู้ในการพัฒนาตนเอง รวมไปถึง การเรียนรู้เท่าทันมือถือ
  • วิชาชุมนุม เกี่ยวกับการเรียนรู้การดูแล การสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อช่วยเหลือเพื่อนในการใช้ไอซีที เช่น เครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน เครือข่ายอาสาเฝ้าระวังสื่อ เป็นต้น
  • วิชาที่เกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะ เน้นการใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนา และ ขับเคลื่อนสังคม เช่น การจัดทำเว็บไซต์วัฒนธรรมชุมชน

(๔) การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ครูได้ทดลองใช้หลักสูตรนี้กับนักเรียนในโรงเรียนแล้ว จะวัดผลอย่างไร ?

  • หลังจากที่มีการพัฒนาหลักสูตรแล้ว กระบวนการต่อไปก็คือ การอบรมครูในการใช้เครื่องมือที่จะนำไปใช้กับนักเรียน ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นจะมีการติดตามประเมินผลถึงประสิทธิภาพของหลักสูตร
  • การออกแบบประเมินผลหลักสูตร ในเบื้องต้นจะมีการออกแบบร่วมกันระหว่างทีมวิจัยและครูที่จะใช้หลักสูตร
  • กรอบของการออกแบบประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ การวัดระดับความรู้ ความเข้าใจ การวัดระดับการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม
หมายเลขบันทึก: 361682เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2010 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท