ปลูกป่า มิใช่เพียงรอวันเติบโตของต้นไม้


กิจกรรมจิตอาสา”ของกลุ่มภาคเอกชน ที่มีความคิดจะนำ คน เดินออกจากรอบรั้วที่ทำงาน เพื่อก้าวสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
 “ ผมรับโทรศัพท์หลังจากเสียงเรียกเข้าที่ดังขึ้น... บอกเจตนาดีที่จะทำกิจกรรมจิตอาสา”ของกลุ่มภาคเอกชน ที่มีความคิดจะนำ คน เดินออกจากรอบรั้วที่ทำงาน เพื่อก้าวสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
บ่ายวันฟ้า แดด แรง ร้อน การเดินทางของกลุ่มคนที่มีจิตใจดีจากเมืองระยอง มาถึงถิ่นสามน้ำ “เมืองแม่กลอง” โดยมี อบต.บางจะเกร็ง และกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูดอนหอยหลอด คอยต้อนรับ และมีทีมงานเฉพาะกิจ ของแม่กลองแคมป์ ทำหน้าที่เชื่อมโยงเรื่องราว เพื่อนำสู่การร่วมแรง ร่วมใจ พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่สันดอนแห่งอาหาร (ดอนหอยหลอด)
เมื่อเดินทางมาถึง ทีมงานได้จัดการต้อนรับแบบอบอุ่นและเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความหมายของการพูดคุยทำความเข้าใจ จากสามองค์ประกอบ คือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น , ชาวบ้าน และ องค์กรเอกชนภายนอก
หลังจากพูดคุยกันและทำความเข้าใจแล้ว กิจกรรมเริ่มขึ้นเมื่อทุกคนเตรียมตัว ด้วยชุดพร้อมลุย และแบ่งแยกกลุ่มตามที่จัด  “ต้นไม้โกงกาง ใบใหญ่ ใบเล็กถูกจัดเตรียมไว้บริเวณท่าเรือ ทุกคนต่างช่วยกันขนต้นไม้ และอุปกรณ์ ลงเรือจนครบ
“พร้อมแล้ว” เรือเริ่มออกเดินทาง จากท่าเรือบ้านฉู่ฉี่สู่ปากคลอง รอยต่อของสันดอน ทะเลอ่าวไทย ณ จุดนี้เป็นพื้นที่ กัดเซาะชายฝั่งน้ำทะเล  การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อป้องกันการกัดเซาะ โดยการปลูกป่าชายเลนแสมเข้าไปในพื้นที่เดิม เพื่อให้รากได้ยึดเกาะพื้นดิน เป็นการสร้างความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ให้สัตว์น้ำได้เป็นแหล่งอาศัย พักพิง และ หาอาหาร  จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ชุมชนบ้านฉู่ฉี่ ได้เลือกทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแกนนำจากกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ดอนหอยหลอด ทำหน้าที่ดูแลจัดการพื้นที่ และมีความคาดหวังในอนาคตว่า “ ต้องทำแนวเขตป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากไม้ไผ่เพิ่มเติม ” ซึ่งจะช่วยสามารถป้องกันแนวการกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวันนี้
เมื่อเรือยนต์เดินเครื่องมาจอดใกล้ฝั่งป่าไม้ชายเลน  ภาระกิจของกลุ่มคนจิตอาสา จึงเริ่มต้นด้วยการขนย้าย และทำการปลูก โดยนำต้นไม้ แกะออกจากถุง ขุดดินโคลนลงไปพอประมาณ จากนั้นก็นำต้นไม้วางลงในหลุม กลบ และนำไม้ค้ำยันมาปักไว้ข้างๆ นำเชือกมาผูกรัดป้องกันการล้มของลำต้น
เวลาผ่านไปด้วยความสนุกสนาน จากเสียงหัวเราะ และหยาดเหงื่อที่ไหลปนกับน้ำทะเลท่ามกลางแสงแดดร้อนแรง และความอ่อนล้าจากการเดินทางไกล  แต่ด้วยจิตใจมุ่งมั่น ตั้งใจ ในที่สุดภาระกิจนี้ก็สำเร็จด้วยความยินดีของทุกฝ่าย 
 "เพียงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการให้  ด้วยจิตอาสา" ซึ่งผมได้สื่อความหมายของกิจกรรมนี้ “เป็นจุดเชื่อมต่อ” ให้คนในชุมชนได้พูดคุยกันมากขึ้น เพื่อสร้างวิธีจัดการแบบเป็นระบบ และเรียนรู้ที่จะอยู่ พึ่งพากันอย่างสมดุล 
และนี่คือเรื่องราวดีๆ ของการนำกลุ่มคนจาก บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)  คงมิใช่เพียงเพื่อรอการเติบโตของต้นไม้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผล “ได้สร้างความร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องของคนในชุมชนในอนาคต
 
หมายเลขบันทึก: 360869เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2010 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากเลยค่ะ ถ้ามีโอกาสก็อยากมีส่วมร่วมทำสิ่งดีๆแบบนี้

ขอบคุณครับ

มีกิจกรรมดีๆ จะส่งข่าวนะครับ

ต้นไม้ ก็เหมือนกับคน ที่ต้องการคนค่อยดูแล

ปลูกป่าต้องเข้าใจป่า

เป็นอีกกิจกรรมดีๆ เห็นแล้วน่าสนุกจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท