เด็กพิเศษ


เด็กพิเศษ

 

  

          เด็กพิเศษคนหนึ่งที่เขามาเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ  ใคร ๆ ก็มองว่าเขาเป็นแบบนั้นแต่ในฐานะครูคนหนึ่งกลับมองว่า เด็กคนนี้กำลังถูกรังแกจากสังคมและสังคมนั้นก็คือ สังคมครอบครัว ถัดมาคือ สังคมแห่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน ครูเพื่อน นักเรียนและพี่อีกหลายๆคน

 เขามีพฤติกรรมที่ดื้อรั้นไม่เชื่อฟังครู เมื่อครูดุก็มักจะวิ่งหนี หรือถ้าวิ่งไม่ได้เขาก็จะเอามือปิดหูฟัง 2 ข้างแล้วก้มหน้า ซึ่งเป็นอาการที่บอกให้รู้ว่าเขาไม่อยากฟังไม่อยากได้ยิน

นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมอีกหลายด้าน เช่น นั่งร้องเพลงในห้องเรียนขณะที่ครูสอน เมื่อถูกดุ ว่าก็จะเอามือปิดหู พอครูหันหลังก็นั่งร้องเพลง,โวยวายเสียงดังเช่นเดิม หรือในบางครั้งก็นอนหลับในห้องเรียน ตลอดจนมีพฤติกรรมที่ทำอะไรตามใจตัวเองมากๆเป็นเด็กที่ขาดระเบียบวินัย ซึ่งครูทุกคนก็จะปล่อยเพราะนักเรียน 40 คนต่อ1ห้องถ้ามาดูเขาเพียงคนเดียวเด็กที่เหลือจะเกิดอะไรขึ้น แล้วในที่สุดเขาก็ได้เรียนรู้ว่า เขาทำตัวแบบนี้ เขาจะได้รับการยกเว้น  เขาจะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆมากมาย

นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น ครูไม่สามารถจะทำโทษเขาได้ เขาก็จะได้ใจ

 

            จากการสังเกต เขาจะทำตัวโวยวายบ้างบางครั้ง นอนหลับบ้างบางครั้ง บางครั้งก็วิ่งหนีครู หรือแม้แต่เข้าแถว ถ้าอยากจะลุกก็ลุก อยากจะเดินก็เดินออกมาจากแถวหน้าตาเฉย และก็ยิ้มเดินออกไป นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น

            แล้วทำไม เขาจึงมาอยู่ที่แห่งนี้ มาเรียนในที่แห่งนี้ คำตอบคงไม่ต้องไปค้นหา แต่อยากให้มองดูว่า ทฤษฎีการเรียนรู้มีมากมาย แต่ขอให้ทุกคนเชื่อ

อย่างหนึ่งว่า “  มนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ แต่ใช้เวลาไม่เท่ากัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพภายในตัวบุคคล ” 

            การที่เขามาเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ เป็นการทำร้ายเขาหรือไม่ เป็นคำถามต้องการคำตอบในอนาคต  แน่นอน เขาจะได้สังคมแห่งความเป็นเพื่อน, การอยู่ร่วมกับผู้อื่น , แต่กลับกัน ในด้านของสมอง  IQ EQ เขามีการพัฒนาขึ้น หรือต่ำลง มีใครหาคำตอบได้หรือไม่

            ถ้าเขา ได้เรียนรู้ตามศักยภาพของเขา เขาจะสามารถโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีด้วย เพียงแต่ตอนนี้ เขาถูกจำกัด ถูกกีดกัน  ถูกกักขัง ทางด้านการเรียนรู้ ถ้าเขาได้เรียนรู้ในลักษณะห้องเรียนพิเศษ โดยใช้เวลา ใช้เทคนิคหลากหลาย มาจัดการ การศึกษาให้กับเขา สักวันหนึ่งเขาจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

ขณะที่เรียนในบางรายวิชา เราเห็นด้วยที่เขาจะได้เรียนกับเพื่อนตามปกติ เช่น ศิลปะ พละ ดนตรี แต่บางรายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ เราควรจะแยกให้เขาได้เรียนเฉพาะ และมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าเปรียบเทียบเขา กับนักวิ่ง กรณีที่นักวิ่ง กรีฑาต้องการดื่มน้ำเพียง 1 แก้วก็หายเหนื่อย แต่เขาต้องการดื่มน้ำถึง 3 แก้วมากกว่า แต่ท้ายที่สุด เขาก็หายเหนื่อยเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น การศึกษา ของเขาก็ต้องใช้เวลาที่มากกว่าเด็กปกติทั่วไป 

สิ่งที่จะต้องบอกกันตรง ๆ ก็คือ การยอมรับความจริง ใน 2 เรื่อง คือ

1.  ถ้ารักเขา ก็ต้องมีการดูแลอย่างจริงจัง

2. ให้ยอมรับความจริงว่า เขาเป็นอย่างไร พิเศษ ไม่พิเศษ สิ่งเหล่านี้ทุกคนรู้ดี อย่าฝืน อย่าหลอกเด็ก อย่าหลอกตนเอง เมื่อได้ความจริงแล้ว ก็หันหลับมาช่วยเขา ช่วยให้เขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพ ของเขา ให้เขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรม คุณภาพและช่วยเหลือตนเองได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคมจะดีกว่า

ขอยกเอาบทความของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มาวรรคหนึ่งว่า

“  พระองค์ท่านไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้  แต่พระองค์ท่านต้องการนักเรียนนักศึกษาที่มีระเบียบ มีวินัย  มีความรับผิดชอบ ” พอสรุปสั้นๆเท่านี้

ในอนาคตข้างหน้า เด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ต้องเข้ามาสู่สังคมการเรียนรู้ หรือมันอาจจะเป็นสังคมแห่งการเลียนรู้ ( เลียนแบบ ) เราคงไม่มีคำตอบให้ เขาอาจจะได้ประกาศนียบัตร ใบปริญญา แต่ทว่า IQ EQ  ยังคงที่  ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้  คงมีคำตอบว่าการศึกษาของ เขา นั้นล้มเหลว และต้องคิดกันต่อไปว่า “  . ใครทำร้าย ใครรังแก  ” หรืออาจจะไม่มีคำพูดนี้เลยก็ได้


 

ถ้าคุณอ่านแล้ว มีคำแนะนำดี ๆ  ก็ช่วยเขียน แสดงความคิดเห็นมาด้วยค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เด็กพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 360315เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2010 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2017 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท