เกร็ดคุณธรรม


ทำได้ถ้าคิดว่าทำได้

คุณธรรม ๙ ประการ 

หลักการ

  การพัฒนาคุณธรรมในผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน มุ่งเน้นการกระตุ้นจิตสำนึกและส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีการประพฤติปฏิบัติคุณธรรมอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในสังคม โดยบูรณาการการประเมินคุณธรรมไว้ในทุกรายวิชาและกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประเมินคุณธรรมจากการปฏิบัติจริง มีหลักฐานและร่องรอยแสดงการปฏิบัติ

  วัตถุประสงค์

  -เพื่อเสริมสร้างความตระหนัก และกระตุ้นจิตสำนึกในการพัฒนาคุณธรรมของผู้เรียน -เพื่อให้บุคลากรของสถานศึกษาประเมินคุณธรรมด้วยวิธีการที่ได้มาตรฐาน มีความชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกัน

  กรอบของคุณธรรม

  •คุณธรรมเบื้องต้นที่ สำนักงาน กศน.กำหนด เพื่อใช้เป็นหลักในการประเมินมีจำนวน 9 คุณธรรม ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  •กลุ่มที่ 1 คุณธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง

- สะอาด  หมายถึง  การปารศจากความหมัวหมองทั้งกายใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ

  •สุภาพ  หมายถึง เรียบร้อยอ่อนโยน ละมุนละม่อมมีกิริยา มารยาทที่ดีงามมีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว ข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเองเป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรม

  •กตัญญูกตเวที  หมายถึง  การดูแลเอาใจใส่พ่อแม่ บุพการี บุคคลในครอบครัว ครูและผู้มีพระคุณ ด้วยความยินดีและเต็มใจอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที คือ ผู้ที่แสดงออกถึงการระลึกถึงผู้มีพระคุณและหาโอกาสตอบแทนเมื่อมีโอกาส

  •กลุ่มที่ 2  คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน

 -ขยัน  หมายถึง    ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทน ต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ ผู้ที่มีความขยัน คือผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานและตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง

  •ประหยัด  หมายถึง ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียนง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของตนเองเสมอ

  •ซื่อสัตย์  หมายถึง   ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่ความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ตรงต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่อย่างถูกต้อง

  •กลุ่มที่ 3 คุณธรรมเพื่อพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม

-สามัคคี  หมายถึง  ผู้ที่มีความสามัคคี คือผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้งานสำเร็จลุล่วง เป็นผู้ที่มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

  •มีน้ำใจ  หมายถึง  ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปันเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อทำประโยชน์ แก่ผู้อื่น เข้าใจเห็นใจผู้ที่มีความเดือดร้อนอาสาช่วยเหลือ สังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อ บรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสิ่งดีงามให้เกิดขึ้น ในชุมชน

  •มีวินัย  หมายถึง      การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและ ข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม  ผู้ที่มีวินัย  คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของ สถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กศน.คลองหลวง
หมายเลขบันทึก: 359997เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลองมาอ่านนะครับนักศึกษา กศน.ทุกท่านหรือผู้ที่ต้องการใช้หลักการนี้ในชีวิตประจำวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท