การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรการบูรณาการเนื้อหาระหว่างสาขา (1)


 

บทที่  1

พลังความรู้ ความสำเร็จและประสบการณ์ของผู้ขับเคลื่อนงาน

 

ความนำ 

หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เป็นหลักสูตรใหม่เริ่มจัดการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2550 เปิดรับทั้งผู้เรียนชาวต่างประเทศและชาวไทย ในปัจจุบันมีมีนักศึกษารวม 3 ชั้นปี จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 92.30 และมีนักศึกษาชาวไทยจำนวน 5 คนจากการดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ ดังกล่าวนั้นพบว่ามีปัจจัยหลายด้านที่เป็นปัจจัยความสำเร็จและบางปัจจัยก็เป็นอุปสรรคปัญหา ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการความสำเร็จของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะคณาจารย์ผู้สอน คณะกรรมการบริหารสาขา เพื่อรวบรวมความรู้ ประสบความสำเร็จของการทำงานทุกฝ่ายใช้เป็นแนวทางของการพัฒนาสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

นอกจากนี้หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจยังมีลักษณะโครงสร้างหลักสุตรที่มีการบูรณาการเนื้อหาวิชาระหว่างสาขาต่างๆ ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับสาขาวิชาในคณะวิทยาการจัดการ ดังนั้นการจัดการความรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอนในเชิงบูรณาการระหว่างสาขาวิชาและระหว่างคณะวิชาก็เป็นสิ่งสำคัญที่ค้นหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จของผู้เกี่ยวข้องร่วมกัน

การดำเนินการจัดการความรู้ของสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจครั้งนี้จึงมุ่งเน้นใน 2  ประเด็นคือ การบริหารจัดการหลักสูตรที่มีผู้เรียนเป็นชาวต่างประเทศ และด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ ได้ดังนี้

กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันของคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ในครั้งนี้เริ่มขึ้นในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ระหว่างเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม 2553 ได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์สังกัดคณะวิทยาการจัดการ  คณะครุศาสตร์และ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 16 คน ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนหมู่วิชาบังคับ อาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาเลือก อาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และกลุ่มผู้บริหารระดับคณะและระดับสาขา เข้าร่วมประชุมกันเป็นระยะๆ ผลงานดำเนินการจัดการองค์ความรู้ครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางานสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจต่อไป

 

 

พลังความรู้ ผู้ขับเคลื่อนงาน KM

ตลอดระยะเวลา 3 ปีการศึกษาของการดำเนินงานการจัดการเรียนเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น พลังสำคัญของการทำงานคือคณาจารย์ผู้สอนและคณะกรรมการบริหารสาขาวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณาจารย์ผู้สอนวิชาหลักหรือวิชาเนื้อหา (ทั้งวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือก) ที่บูรณาการระหว่างเนื้อหาวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชาซึ่งต้องอาศัยคณาจารย์จากคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิชาบังคับ    หมู่วิชาการจัดการธุรกิจ   หมู่วิชาการจัดการการท่องเที่ยว  หมู่วิชานิเทศศาสตร์   หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ในการแสวงหาประสบการณ์ ความสำเร็จ ความรู้ของคณาจารย์ผู้สอนและกรรมการบริหารสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนงานการผลิตบัณฑิตของสาขาโดยตรงนั้นได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ 16 คน   ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาบังคับ

8 คน   หมู่วิชาการจัดการธุรกิจ 3 คน   หมู่วิชาการจัดการการท่องเที่ยว 3 คน   หมู่วิชานิเทศศาสตร์  1 คน   หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 1 คน   ในจำนวนนี้อาจารย์บางท่านเป็นกรรมการบริหารสาขาวิชาด้วย

            คณาจารย์ทั้ง 16 คนที่ร่วมดำเนินงานจัดการความรู้ดังกล่าวมีรายละเอียดข้อมูลพื้นฐานดังต่อไปนี้

 

3

 

อาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาบังคับ 

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

วุฒิการศึกษา

สังกัดสาขาวิชา/คณะ

หมายเหตุ 

1.

ผศ.จำลอง 

คำบุญชู

อม.ภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

- ประธานสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

- คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

2.

อาจารย์ภาณุวัฒน์ 

สกุลสืบ

ศศ.ม.ภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

- คณะกรรมการบริการสาขาสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

3.

อาจารย์อุบลพรรณ  วรรณสัย

ศศ.ม. วิจัยและพัฒนาท้องถิ่น

 (ล้านนาคดี)

สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 - คณะกรรมการบริการสาขาสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

4.

อาจารย์สุประวีณ์ 

แสงอรุณเฉลิมสุข

ศษ.ม.

การสอนภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 - คณะกรรมการบริการสาขาสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

5.

อาจารย์ธนพร  หมูคำ

 

ศษ.ม.

การสอนภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทย(ศศ.บ.)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 - ประธานสาขาวิชาภาษาไทย(ศศ.บ.)

6.

อาจารย์ตุลาภรณ์   แสนปรน

ศศ.ม.  ภาษาและวรรณกรรมล้านนา

สาขาวิชาภาษาไทย(ศศ.บ.)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

7.

อาจารย์พาณี ศรีวิภาต

ศศ.ม.ภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทย(ศศ.บ.)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

8.

อาจารย์ชุติมา  คำบุญชู

อม.ภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาไทย

คณะครุศาสตร์

- คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

อาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป     

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

วุฒิการศึกษา

สังกัดสาขาวิชา/คณะ

หมายเหตุ

1.

อาจารย์สุภาพ  ต๊ะใจ

ศศม.การสอนสังคมศึกษา

สาขาวิชาสังคมศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

อาจารย์ผู้สอนหมู่วิชาการจัดการธุรกิจ

1.

รศ. ดร.บุญฑวรรณ  วิงวอน

ปรด.บริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ  

- คณบดีคณะวิทยาการจัดการ

2.

อาจารย์สรัญญา  บัลลังก์

บธ.ม.บริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการจัดการทั่วไป  คณะวิทยาการจัดการ  

 

3.

อาจารย์ศิรญา  จนาศักดิ์

บธ.ม.บริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

คณะวิทยาการจัดการ  

 

อาจารย์ผู้สอนหมู่วิชาการจัดการการท่องเที่ยว

1

อาจารย์กนกอร  ศิริฐิติ

 ศศ.ม. การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 

คณะวิทยาการจัดการ  

- หัวหน้าสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 

- คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

2

อาจารย์ ดร.เครือวัลย์ 

วงษ์ไพบูลย์

Ph.D. หลักสูตรและการสอน

สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

คณะวิทยาการจัดการ  

 

3

อาจารย์ฤาชุตา  เนตรจัด

 ศศ.บ.  อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

คณะวิทยาการจัดการ  

 

อาจารย์ผู้สอนหมู่วิชานิเทศศาสตร์ 

1

อาจารย์อัจฉรา  มลิวงค์

ศศม.นิเทศศาสตร์

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ  

 

4

 

5

            การดำเนินงานของกลุ่มคณาจารย์ผู้จัดการความรู้ดังกล่าวขั้นต้น ได้ร่วมมือกันพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จในช่วงเวลาที่ว่างจากภาระกิจการเรียนการสอนของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 เป็นระยะๆตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนถึงเดือน พฤษภาคม 2553  ประเด็นสำคัญที่คณาจารย์ทั้ง 16 คน มาร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นมี 2 ประเด็นย่อยดังนี้

          1. การบริหารจัดการหลักสูตรที่มีผู้เรียนเป็นชาวต่างประเทศ

 1.1  แนวคิด นโยบาย วิสัยทัศน์ต่อการบริหารจัดการ หลักสูตรที่มีนักศึกษาชาวต่างประเทศ

 1.2 หลักในการบริหารจัดการหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะวิทยาการจัดการ
             1.3  หลักในการเลือกคณาจารย์ที่มาสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศ

1.4 การมองความสำเร็จใน 3 ปีที่ผ่านมา  

         2. การจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

 2.1 วิธีการในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาชาวต่างประเทศ

 2.2  วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

 2.3  ความสำเร็จในการสอนที่ผ่านมา

 2.4 ขอเสนอแนะสำหรับสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ

หลังจากที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาตลอดนั้น ทางคณะทำงานจึงได้สังเคราะห์ประเด็นต่างๆ โดยการทำ KM

หมายเลขบันทึก: 359742เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 02:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท