การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ต่อเนื่อง ครบวงจร


สำหรับโรงพยาบาลสมุทรสาครมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกมากที่สุดในจำนวนผู้ป่วยโรคทาง อายุรกรรมประเภทไม่ติดเชื้อ และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี

            ด้วยเจตนารมย์ ของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร โรงพยาบาลสมุทรสาคร ตระหนักดีในความสำคัญของโรคเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวาน ที่เพิ่มทวี ไม่หยุดหย่อนการดำเนินการเรื่องเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ครบวงจรจึงกำเนิดขึ้น ด้วย

หลักการและเหตุผลดังนี้

            โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากเบต้าเซลล์ในตับอ่อนซึ่งอาจเป็นการผลิตไม่ได้เลย ผลิตได้น้อย หรือผลิตได้แต่ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่ได้รับจากอาหารไปใช้อย่างเหมาะสม จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ             

                 โรคเบาหวานจัดเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก โดยมี อุบัติการณ์ของโรคประมาณ 2.8% ของประชากรโลกทั้งหมด(ประมาณ 171 ล้านคน) ในปี  ค.ศ. 2000  ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้คาดการว่าอุบัติการณ์ ของโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 4.4% (ประมาณ 366 ล้านคน) ภายในปี  ค.ศ. 2030  และเมื่อมีการสำรวจล่าสุดในปี พ.ศ. 2553 นี้ โดยสหพันธ์สมาคมโรคเบาหวานระหว่างประเทศ (IDF) ได้สำรวจความชุกของผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก มีจำนวน 285 ล้าน และคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยเบาหวานในปี พ.ศ. 2573  เป็น 439 ล้านคน (1)  ซึ่งเป็นจำนวนผู้ป่วยที่สูงมากขึ้นกว่าการคาดการณ์ไว้เมื่อปี 2543 ทั้งนี้เป็นผลเนื่องจากการที่อายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้น (population aging) การขยายตัวของเขตเมือง  (urbanization) ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์โรคอ้วน(2, 3) สำหรับประเทศไทยเบาหวานจัดเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุดโดยมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 1.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2543  และคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มเป็น 2.7 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2573 (4) นอกจากนี้โรคเบาหวานยังจัดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 โดยคิดเป็น 5 %  ของสาเหตุการตายทั้งหมดในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2545 (5)

                 เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ โรคเบาหวานสร้างภาระทั้ง ทางด้านคลินิกและด้านเศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วยครอบครัวผู้ป่วยตลอดจนตลอดจนระบบสาธารณสุขโดยรวม  โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเบาหวานรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานคิดเป็น 5-10% ของงบประมาณทางสุขภาพทั้งหมดในประเทศเขตเอเชียแปซิฟิก (6) นอกจากนี้ข้อกังวลสำคัญในปัจจุบัน คือ การพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มเด็กและวัยหนุ่มสาว (7)

                สำหรับโรงพยาบาลสมุทรสาครมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกมากที่สุดในจำนวนผู้ป่วยโรคทาง อายุรกรรมประเภทไม่ติดเชื้อ และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีจากผู้ป่วยจำนวน2,333 คนในปี พ.ศ. 2543 เป็นจำนวน 2,579 คนในปี พ.ศ. 2544  และเพิ่มเป็น 2,888 คนในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ  1.45 1.5  และ 1.7  ของผู้ป่วยนอกทั้งหมดตามลำดับ และในปี 2551 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 6,817 คน และในปี 2552  มีจำนวนผู้ป่วย 7,237 คนซึ่งคิดเป็นร้อยละ  4.45 และ 4.88 ของผู้ป่วยนอกทั้งหมดตามลำดับ (8)

หน้าห้องตรวจอายุกรรม ผู้ป่วยเยอะมากๆ ทุกวันเลย

หมายเลขบันทึก: 359533เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ยอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆทุกปีเลยนะครับ
  • ถ้ารักษาแบบองค์รวมจะช่วยได้มาก
  • รอดูสถิติปีนี้ว่ายอดผู้ป่วยจะลดไหม
  • พี่มดสบายดีนะครับ

ว้าว...ไว้ขวับเลยคุณน้องด๊อกเตอร์........ดีใจจัง

  • ตัวชี้วัด ที่ต้องการลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยใหม่ มันบีบหัวใจเหลือเกินครับ
  • แต่ก็ ค้องสู้ครับ เพราะอย่าที่พีมดบอก ต้ององค์รวมครับ  ถ้าองค์ลง เมื่อไหร่ล้มไม่เป็นท่าแน่
  • ปัจจัยที่มีผลหลากหลาย  ช่วยกันคนละไม้ละมือ ต้องทำได้อยู่แล้วครับ ขอแต่มีใจละกัน
  • นะครับ

 

ขอบคุณค่ะ น้องเอนก ไม่ค่อยว่าง ยังอุตส่าห์แวะ..มาเยี่ยมพี่

ตัวชี้วัด อัตราผู้ป่วยรายใหม่นี่ ...ม่ายไหวว

อย่างที่เอนกว่าจริงแหละ คงต้องรับผิดชอบกันเป็นงาน

งานเราเกี่ยวกับผู้ที่ป่วยแล้ว ตัวชี้วัด ก็ต้องเกี่ยวกับการชลอโรคซิเนอะ

การดูแล ติดตามผู้ป่วยให้ ลดความทุกข์ มีปีสุขภาวะเพิ่มขึ้น

พี่ว่า TCEN นี่เหมาะนะ ดูแล ติดตาม ปรับทิศ พัฒนางานได้ค่ะ

แต่ถ้าลดผู้ป่วยใหม่นี่ต้อง..เข้าถึงไปเลยก่อนเกิดโรค

วิถีชิวิต ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ดูแล ความเป็นอยู่ อาหารการกิน สื่อโฆษณา ต้องมี ตัวชี้วัดที่ตอบให้ ตรงกับ งานที่กำลังทำสักนิด

... ถ้าไกลเกินไป..ทำเท่าไรก็ไม่ตอบโจทย์ ..ง่ะ... ท้อแท้นะ เอางี้ดีไหม

...การันตี แม่ค้า ที่ขายอาหารสุขภาพ ตัวชี้วัด ปริมาณ จำหน่ายอาหารผัก สุขภาพ/ต่อ junk food

   ("ล้อเล่น")                     

น้องมดจ๋า

ทำห้องอาหารตัวอย่างดีไหม อิอิ

จะเป็นลูกค้ารายแรก..จอง!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท