กล้องโทรทรรศน์อันแรก


" ข้าพเจ้าพิศวงงงงวยจน แทบเป็นบ้า "

 กล้องโทรทรรศน์อันแรก

จากหนังสือ  ดาราศาสตร์ : Essential Atlas of Astronomy     ผู้แต่ง Parramon's Editorial Team

ผู้แปล เสถียร บุญฤทธิ์

ความว่า หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ “ดาราศาสตร์” ในทุกซอกทุกมุมอย่างถึงแก่น คุณจะได้พบกับภาพสีตระการตา แผนผังท้องฟ้า ศิลปะการให้สี แก่วัตถุต่างๆ แผนผังท้องฟ้า ศิลปะการให้สีแก่วัตถุต่างๆ ในอวกาศชั้นนอกที่ดูงดงามชัดเจน เหมือนจริง แผนภาพและภาพประกอบต่างๆ ที่ใช้อธิบายแหล่งที่มาของเอกภพและระบบสุริยะของเรา   ภาพต่างๆ ได้มาจากกล้องโทรทรรศน์กำลังสูง ทั้งภาพดาวหางที่สวยงามอย่างน่าพิศวง เนบิวลามากมาย ดากฤกษ์หลายดวงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ กาแล็กซีต่างๆ ที่อยู่ไกลโพ้น พื้นผิวของดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ต่างๆ ที่อยู่ใกล้โลก ทั้งยังได้แสดงและอธิบายถึงส่วนประกอบของดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งโลกด้วย นอกจากนี้คุณยังจะได้พบกับประวัติของดาราศาสตร์ เรื่องราวของกล้องโทรทรรศน์ทั้งสมัยโบราณและปัจจุบัน พร้อมประวัติสั้นๆ ของการสำรวนอวกาศ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเริ่มด้วยการทดลองวิทยาการด้านจรวด ไปจนถึงสถานีอวกาศที่มีมนุษย์อวกาศอยู่ประจำซึ่งในปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

      กาลิเลโอได้ยินว่าช่างทำแว่นตาชาวดัทช์ชื่อฮันส์ลิปเปอร์ชี ได้ประกอบเครื่องมือที่ทำให้วัตถุที่อยู่ไกล มองดูเหมือนอยู่ใกล้ได้ เครื่องมือนี้ก็คือกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างขึ้นจากกระบอกกลวง และกระจกรูปโค้ง ที่เรียกว่า เลนส์ กาลิเลโอได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นอันหนึ่ง คล้ายกับกล้องโทรทรรศน์แม่แบบ 2 กล้องโทรทรรศน์ทำให้กาลิเลโอมองเห็นสิ่งที่ไม่เคยมีมนุษย์คนใด เคยเห็นมาก่อนได้ เห็นว่ามีหลุมบ่อ และภูเขาบนดวงจันทร์ และ เห็นว่าทางช้างเผือกประกอบด้วยดวงดาวจำนวนมหาศาล " ข้าพเจ้าพิศวงงงงวยจน แทบเป็นบ้า " กาลิเลโอเขียนไว้อย่าง  นั้นในปี ค.ศ.1610 ซึ่งเป็นปีที่เขาค้นพบว่ามีดวงจันทร์ 4 ดวง โคจรรอบดาวพฤหัส เราเรียก กล้องโทรทรรศน์แบบที่กาลิเลโอใช้ว่า กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง หรือ รีแฟร็คเตอร์ กล้องโทรทรรศน์จำนวนมากที่เราใช้กัน ทุกวันนี้ ก็เป็นแบบหักเหแสง เลนส์ชิ้นหน้าเรียกว่า อ็อบเจ็คทีฟ หรือ เลนส์ใกล้วัตถ ุซึ่งจะเป็นเลนส์นูนเสมอ เลนส์นูนจะหนาตรง กลาง และบางตรงขอบ เลนส์ใกล้วัตถุนี้จะรับ และรวมแสงจากวัตถุที่อยู่ไกล เพื่อทำให้เกิดภาพเหมือนขนาดเล็กของวัตถุนั้นภาย ในลำกล้อง ผู้ดูดาวจะมองผ่านเลนส์ที่อยู่ทางส่วนหลังของกล้องโทรทรรศน์ เลนส์ชิ้นหลังนี้เรียกว่า อายพีซ หรือ เลนส์ใกล้ตา เลนส์ ใกล้ตานี้จะขยายภาพ เหมือนขนาดเล็กที่ปรากฏอยู่ในลำกล้อง ตอนนี้วัตถุที่อยู่ห่างไกลนั้นก็จะมองเห็นได้โดยละเอียด เลนส์ใกล้ ตาอาจจะเป็นเลนส์นูน หรือ เลนส์เว้า ก็ได้ เลนส์เว้าคือเลนส์ที่บางตรงกลางและขอบหนา

 นายศักดิ์ชัย เมฆลา

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน <
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 359335เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2010 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท