โครงการผลิตสื่อนวัตกรรม-บทเรียนสำเร็จรูป


ต้องมีสักวัน..ที่โครงการผ่าน อิอิ

โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

 

1.ชื่อโครงการ  :  บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ส่วนประกอบของพืช

2.ชื่อผู้จัดทำโครงการ :     นางกาญจนา   อินตา         

                                           รหัส 52741119    section 01

3.หลักการและเหตุผล

                ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีความจำเป็นต้องบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่อยู่แล้ว แต่นักเรียนเองยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า พืชผักที่จัดอยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่นั้น จัดเป็นส่วนประกอบใดของพืช โดยเฉพาะจะเกิดความสับสนมากที่สุดว่า พืชผักที่บริโภคอยู่นั้นเป็นราก หรือลำต้นใต้ดินที่มีหน้าที่สะสมอาหาร เช่น หัวผักกาด แครอท กระชาย มันสำปะหลัง มันเทศ มันฝรั่ง หัวหอม ขิง ข่า และรากบางชนิดอาจไม่ได้อยู่ใต้ดินเท่านั้น แต่ยังมีรากอากาศอีกด้วย เช่น รากไทร รากของกล้วยไม้ เป็นต้น และในส่วนของใบพืชนั้นนักเรียนยังแยกความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ไม่ค่อยได้

                บทเรียนสำเร็จรูปชุดนี้ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ คำชี้แจงในการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เนื้อหา และรายละเอียดของเนื้อหา ที่ได้เสนอแนวคิด และเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกความแตกต่าง หรือรายละเอียดปลีกย่อยของส่วนประกอบของพืชให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาแต่ละกรอบจะมีความสัมพันธ์กันที่เสนอเรื่องราวของส่วนประกอบของพืช มีภาพประกอบอย่างชัดเจน สื่อความหมายและสวยงาม ตลอดจนใช้ถ้อยคำอธิบายที่เข้าใจง่าย นักเรียนสามารถตอบคำถาม และตรวจคำตอบด้วยตนเองในตัว

4.วัตถุประสงค์

                1.เพื่อให้ผู้เรียนจำแนกความแตกต่างระหว่างรากหรือลำต้นใต้ดินที่มีหน้าที่สะสมอาหารได้

                2.เพื่อให้ผู้เรียนแยกความแตกต่างระหว่างใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ได้

                3.เพื่อให้ผู้เรียนบอกส่วนประกอบของพืชได้อย่างถูกต้อง

5.ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้

                การนำไปใช้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเรื่องส่วนประกอบของพืช

6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้แล้ว

                1.นักเรียนสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างรากและลำต้นใต้ดินที่มีหน้าที่สะสมอาหารได้อย่างถูกต้อง

                2.นักเรียนสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ได้อย่างถูกต้อง

                3.นักเรียนสามารถบอกส่วนประกอบของพืชได้อย่างถูกต้อง

                4.นักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียน รักในการเรียนรู้

 

7.ขั้นตอนการดำเนินงาน

7.1 ขั้นตอนการทำโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

                1.กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

                2.ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับส่วนประกอบของพืช และรูปภาพต่างๆที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง

                3.ศึกษาเทคนิคการสร้างจากหนังสือ จากเว็บไซต์ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

                4.ลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการดำเนินเรื่อง

                5.สร้างบทเรียนสำเร็จรูป

                6.นำบทเรียนสำเร็จรูปไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้วนำไปปรับแก้

                7.นำไปทดลองใช้กับเด็กนักเรียน

                8.ประเมินผลบทเรียนสำเร็จรูปก่อนส่งอาจารย์ประจำวิชา

7.2 กระบวนการเรียนในบทเรียนสำเร็จรูป

                1.แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน

                2.แสดงคำแนะนำสำหรับครู

                3.แสดงคำแนะนำสำหรับนักเรียน

                4.ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  และตรวจคำตอบในหน้าถัดไป (กล่าวชมเชย/ให้กำลังใจผู้เรียน)

                5.เนื้อหาและภาพประกอบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1

                6.ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  และตรวจคำตอบในหน้าถัดไป (กล่าวชมเชย/ให้กำลังใจผู้เรียน)

                7.ชี้แจงกับผู้เรียนว่าถ้าไม่พอใจกับผลการทดสอบสามารถเปิดกลับย้อนไปศึกษาใหม่ได้

                8.ทำขั้นตอนที่ 4-7 จนครบจุดประสงค์การเรียนรู้

                9.สรุปทบทวนทั้งหมด

                10.ทำแบบฝึกหัดประมวลผลหลังเรียนและตรวจคำตอบในหน้าถัดไป

                (กล่าวชมเชย/ให้กำลังใจผู้เรียน)

8.ระยะเวลาในการจัดทำ  : ประมาณ 2 สัปดาห์

9.งบประมาณที่ใช้จริง  :   ประมาณ 400 บาท

10.บรรณานุกรม  :

นิธิยา  รัตนาปนนท์ และดนัย  บุณยเกียรติ.  2533.  วิทยาการหลัง

        การเก็บเกี่ยวผักและผลไม้เศรษฐกิจ.       มหาวิทยาลัย

        เชียงใหม่.  213 หน้า.

ประดับ  นาคแก้ว และดาวัลย์  เสริมบุญสุข.  2551.  หนังสือเรียน

       สาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.1.             กรุงเทพฯ:

       แม็ค. 252 หน้า.

วันชัย  จันทร์ประเสริฐ.   (มปป).  เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่.  

      268 หน้า.

ศุภางค์  ทิพย์พิทักษ์.  2540.  เอกสารประกอบการสอนวิชา ชว 210

       พฤกษศาสตร์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.  235 หน้า.

 

หมายเลขบันทึก: 359215เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาทักทายและเป็นกำลังใจให้ค่ะ.

ขอบคุณครูแป๋มที่เข้ามาทักทายและให้กำลังใจมากนะคะ

เพิ่มกระบวนการเรียนภายในบทเรียนฯ ไปด้วยครับ ;)

สวัสดีค่ะอาจารย์ Ongkuleemarn

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อแนะนำนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ ครูแป๋ม

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ ในยามนี้กำลังท้อแท้มากเลย ขอบพระคุณจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท