ประวัติฟุตบอล


บอล

ประวัติกีฬาฟุตบอล

สมัยกรีกโบราณ มีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งคล้ายฟุตบอลในปัจจุบัน เรียกว่า อิพิสไครอส (Episkyros)  ในสมัยโรมัน ชาวโรมันได้นำกระเพาะปัสสาวะวัว (Ox’ s Bladder) แล้วหุ้มด้วยขนเตะกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งเกมนี้เรียกว่า ฮาร์ปาสตัม (Harpastum) โดยชาวโรมันได้นำเอาแบบอย่างมาจากกรีกต้นศตวรรษที่ 11  ทหารโรมันได้ยกกองทัพมาตีหมู่เกาะทางตอนใต้ของอังกฤษและปกครองอังกฤษเรื่อยมา  ขณะที่ปกครองอังกฤษอยู่นั้น ทหารโรมันได้นำเกม (Harpastum) มาเล่นฉลองวันโชรพทิวส์เดย์ (Shrove  Tuesday) ที่ Ainwick  ทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษและอื่นๆ ด้วย ต่อมาการเล่นฟุตบอลได้พัฒนาและมีแบบแผนมากขึ้น ในที่สุดมีการเล่นกันอย่างแพร่หลายตามโรงเรียนทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันว่า กีฬาฟุตบอลเป็นกิจกรรมนันทนาการ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงทางด้านร่างกาย 

หลังศตวรรษที่ 18  ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศอังกฤษ และทั่วโลก  ดังจะเห็นได้จากมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นทุก 4 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากชนทุกชาติในหลายๆ ประเทศ มีการเรียกชื่อเกมที่เล่นคล้ายฟุตบอลต่างๆ กัน  ดังนี้

                จีน  เรียก  ที ซู ซุ (Tsuchu)

                ญี่ปุ่น  เรียก  เคร์มาริ หรือเคอร์นาร์ท (Kermari or Kernart)

                อิตาลี  เรียก  คาลซิโอ (Calcio)

                เม็กซิโก  เรียก  โกมาคาริ (Komakari)

                โรมัน  เรียก  ฮาร์ปาสตัม (Harpastum)

                อังกฤษ  เรียก  ฟุตบอล (Football)

                ประเทศแถบยุโรป เช่น เยอรมันนี  ฝรั่งเศส ฯลฯ เรียก ซอกเกอร์ (Soccer)

ประวัติและวิวัฒนาการของฟุตบอลในประเทศไทย มีดังนี้

  กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5  “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากสมัยนั้นได้มีพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ  และข้าราชบริพาลไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และ “เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)” เป็นผู้นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรก  และมีการเล่นกันอย่างแพร่หลาย

 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่ง  ถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง  และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์ชื่อทีม “เสือป่า” และได้เสด็จพระราชดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นราชกิจวัตรเสมอ จากพระราชกิจวัตรของรัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอล  นับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริง  อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร  หนังสือพิมพ์  และบทความต่างๆ ทางด้านฟุตบอล

  พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม  ซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท. และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “The Football Association of Thailand Under the Patronage of His Majesty The King” ใช้อักษรย่อว่า F.A.T.

  พ.ศ. 2468 ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาคมฟุตบอลระหว่างชาติ  เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ซึ่งมีชื่อย่อว่า ฟีฟ่า (FIFA) และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “Federation  International De Football Association” ใช้อักษรย่อว่า F.I.F.A.

  พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน “กีฬาโอลิมปิก” ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน  เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ณ นครเมลเบอร์น  ประเทศออสเตรเลีย

  พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย  ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอ เอฟ ซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “Asian Football Confederation” ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.

  จากนั้นสมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ รวมทั้งเชิญทีมจากต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขันรายการต่างๆ พร้อมทั้งส่งทีมฟุตบอลไปแข่งขันยังต่างประเทศเป็นประจำ

กีฬาฟุตบอลมีวิวัฒนาการโดยสรุปดังนี้

ค.ศ. 1857 สมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด (King Edward) ของอังกฤษ  จารึกไว้ว่าอังกฤษชนะโรมันในการแข่งขันที่ เดอร์บี้ (Derby) ในต้นศตวรรษที่ 17 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลถูกเรียกว่า เดอร์บี้ในอังกฤษ 35 ปี หลังจากนั้น

พ.ศ. 2366 เกิดเกมส์ 2 ชนิดคือ ฟุตบอลกับรักบี้  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอเมริกันฟุตบอล

พ.ศ. 2398 สโมสรฟุตบอล เชฟฟิลด์ (Sheffield) เกิดขึ้นในอังกฤษ

พ.ศ. 2403 มหาวิทยาลัยฮาร์เวอร์ด (Harward  University) ได้ตั้งทีมฟุตบอลขึ้น

พ.ศ. 2406 ตั้งสมาคมฟุตบอลอังกฤษในลอนดอน และมีระเบียบกฎเกณฑ์ในการเล่น

พ.ศ. 2428 มีฟุตบอลอาชีพในอังกฤษครั้งแรก

พ.ศ. 2429 แข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกระหว่างสหรัฐอเมริกา-แคนาดา

พ.ศ. 2431 เริ่มเปิดการแข่งขันระบบฟุตบอลลีก/ยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ/เพิ่มจำนวนการควบคุมผู้ตัดสิน

พ.ศ. 2443 ตั้งสหพันธ์ฟุตบอลโลกขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส

พ.ศ. 2451 เริ่มการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก  ในลอนดอน  และอังกฤษชนะเลิศ

พ.ศ. 2468 ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ Federation

International De Football Association ใช้อักษรย่อว่า F.I.F.A.

พ.ศ. 2473 มีการแข่งขันชิงถ้วยฟุตบอลโลกครั้งแรกที่อุรุกวัย  และอุรุกวัยได้ตำแหน่ง

ชนะเลิศ  โดยชนะอาร์เจนตินา  4 : 2

พ.ศ. 2499 ทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกที่กรุงเมลเบอร์น

ประเทศออสเตรเลีย (โอลิมปิกครั้งที่ 16)

พ.ศ. 2500 ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย  Asian  FootballConfederation ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.

หมายเลขบันทึก: 359081เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากเลยน้ะขอบอกกก

นี่สั้นแล้วเหรอค่ะ


ดีมากค่ะสั้นด้วยสะดวกกับการทำรายงานมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท