R2R : นำเสนอโครงร่าง R2R


นี่คือสิ่งที่เรา "ชาว รพ.ยโสธร" ร่วมด้วยช่วยกันอย่างมีพลังมาก

       แรกเริ่มเดิมที วันนี้(9 มิ.ย. 49)เขาประกาศเป็นวันหยุดเฉิมฉลอง 60 ปีครองราชฯ ของในหลวง แต่ตามกำหนดการเดิมเรามีประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งหมด 4 วัน ผู้จัดจึงสอบถามผู้เข้าประชุมทุกคนว่าจะเอาอย่างไรดี ก็ให้ทุกคนคิด-ตัดสินใจเองแต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีวันชดเชยซึ่งอาจจะเป็นวันจันทร์ก็ได้แต่ให้ทุกคนเลือกว่าเราจะดำเนินต่อเลย หรือว่าหยุดก่อนแล้วค่อยมาต่อวันจันทร์ แล้วมติกลุ่มใหญ่ก็ลงความเห็นว่าประชุมต่อวันศุกร์...ตามกำหนด

       พอเช้าดิฉันไปรับวิทยากรมาถึงที่ห้องประชุม บรรยากาศในโรงพยาบาลค่อนข้างเงียบเพราะเป็นวันหยุด และท่านผู้อำนวยการประกาศให้ทุกคนมาทำกิจกรรม "มหกรรม 5 ส" คนส่วนใหญ่ก็จะมาสายหน่อย แต่พอเราไปถึงห้องประชุมการณ์กลับพบว่ามีคนมานั่งคอยอยู่แล้วพอสมควร ประทับใจมากตอนนั้นรู้สึกเลยว่าเรามาสายแต่พอชำเลืองดูนาฬิกา เอ๊ะ!ก็ประมาณเวลาเดิม สักพักคนก็ทยอมกันเข้ามาจนเกือบครบทุกคน เป็นภาพที่น่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีของโรงพยาบาลเพราะไม่มีใครโดดหรือหนีการประชุม หากมาอย่างพร้อมเพียงด้วย"ใจ"จริงๆ  เป็นเรื่องที่เกินคาดจริงๆ เพราะเราคิดว่าวันนี้คนมาน้อยแน่ๆ

พี่ดา กำลังนำเสนอโครงร่างกลุ่ม DM

       ช่วงเช้าของวันนี้เราให้ทุกกลุ่มเตรียมความพร้อมของตน แล้วให้ออกมานำเสนอ พอประมาณ 10 โมง เมื่อทุกกลุ่มพร้อมก็เริ่มนำเสนอโดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่ม DM นำเสนอโดยพี่ดา ที่ช่วงหลังๆ มาพี่ดาจะได้มาทำหน้าที่เป็นคุณลิขิตของกลุ่มด้วย เพราะน้องที่เป็นลิขิตกลุ่มจดไม่ทันและทำประเด็นหล่นหายไป หลังจากที่กลุ่มนี้กระท่อนกระแท่นในช่วงแรก แต่พอหัวปลาชัดก็เดินเรื่องต่อได้ จนมาถึงนำเสนอโครงร่างก็มองเห็นภาพชัดเจนว่า มีทิศทางแห่งความเป็นไปได้ที่ไปสู่การทำ R2R เรื่องที่กลุ่ม DM นำเสนอนี้ คือ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของ รพ.ยโสธร โดยมีวิจัยย่อยที่แทรกอยู่เนื้อในอีก 3 เรื่อง คือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเครือข่ายใน รพ. และพัฒนาเครือข่ายในชุมชน

คุณวีระวัฒน์ ทั้งอำนวยและนำเสนอ

       เมื่อกลุ่มที่สองนำเสนอไปแล้วเป็นกลุ่มศัลย์นำเสนอต่อ ซึ่งเรื่องที่กลุ่มนี้ทำให้เรามองว่าเป็นเรื่องที่ใกล้เคียงกับการทำยุทธศาสตร์ได้หากมีการพัฒนาต่อไป เพราะกลุ่มนี้ทำเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดใน case elective ใน รพ.ยโสธร จุดเริ่มของเรื่องกลุ่มนี้มองที่ความเครียดของผู้ป่วย และการเยี่ยมที่มีความซ้ำซ้อน แต่กลุ่มมองว่าหากแก้ไขที่สาเหตุต้นๆ ก็ลดความเครียดได้และลดความซ้ำซ้อนได้ด้วย ดิฉันมองว่ากลุ่มนี้มองลงไปลึกเพราะโดยส่วนใหญ่ หากว่าเรื่องความเครียด ก็แก้ไขความเครียด โดยหากิจกรรมเพื่อลดเครียด แต่กลุ่มนี้เขามองไปที่สาเหตุเลยว่าความเครียดที่ว่าเกิดมาจากอะไร พอพบว่าเกิดมาการเยี่ยมของเจ้าหน้าที่ที่มีความซ้ำซ้อน เขาก็เข้าไปแก้ไขและพัฒนาระบบการเยี่ยมใหม่ นี่แหละคะที่ถือว่าเป็นจุดดีที่ได้มีการมาคิดช่วยกันต่อยอดเติมแต่งจนได้เรื่องที่ดี

พี่แดง คนขยันแห่งกลุ่มสูติ-เด็ก

       กลุ่มที่สามของการนำเสนอเป็นกลุ่มสูติ-เด็ก โดยโครงร่างที่มานำเสนอนี้เป็นเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอนสุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดในโรงพยาบาลยโสธร โดยกระบวนการนั้นเขาจะเริ่มตั้งแต่หญิงที่มาฝากครรภ์ที่ คลินิกฝากครรภ์และทำงานเชื่อมต่อไปจนถึงหลังคลอด โดยการสอนสุขศึกษานั้นจะเป็นแบบหลอมรวมไม่สอนซ้ำซ้อนกัน กลุ่มนี้การทำงานเชื่อมต่อเป็นทีมดีมาก และรูปแบบการทำวิจัยที่กลุ่มนี้นำมาใช้เป็นแบบ PAR(Pacipatory Action Research)

 

น้องจิ๋ว หลังนำเสนอนั่งฟังข้อเสนอแนะ

       กลุ่มสุดท้ายของการนำเสนอครั้งนี้ คือกลุ่ม CVA ทำเรื่อง กระบวนการพัฒนาการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบสหวิชาชีพใน รพ.ยโสธร กลุ่มนี้เริ่มมาชัดเจนเมื่อได้โจทย์หรือคำถามวิจัยที่ว่า "ทำอย่างไรจึงจะได้มาซึ่งกระบวนการพัฒนาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย CVA" ดังนั้นสิ่งที่กลุ่มทำ คือ เป็นเรื่องศึกษากระบวนการ ไม่ใช่เรื่องของการพัฒนารูปแบบ หากมองแล้วจะเป็นเรื่องที่อยู่ในงานวิจัยสาขาทางด้านการบริหาร และการบริหารทางด้านการพยาบาลระหว่างที่มีการนำเสนอแต่ละกลุ่มนั้น ก็มีการช่วยเหลือเติมเต็มกันในผู้เข้าประชุมด้วยกัน ทำให้รู้สึกดีมากว่านี่คือสิ่งที่เรา "ชาว รพ.ยโสธร" ร่วมด้วยช่วยกันอย่างมีพลังมาก หลังจากนำเสนอโครงร่างเสร็จสิ้นทุกคนดูมีความสุขและต่อยอดกันต่อในกลุ่มย่อยของตนเอง จนถึงเวลาพักจึงแยกย้ายกันไปทานข้าว แล้วนัดกันมาอีกทีเพื่อทำ AAR

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 35906เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ในขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ บรรยากาศของการ ลปรร.ดีมาก มีการซักถามและตอบข้อสงสัยข้ามกลุ่มกันอย่างสนุกสนาน นี่ผมมองว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่งว่า KM เกิดได้ไหมในการนำมาใช้เพื่อพัฒนา
     อีกอย่างนะครับทุก ๆ กลุ่มจะมองเห็นว่าการที่คนไม่พอในการทำงานนั้นยังมีงานที่ทำซ้ำซ้อนกัน และไม่เกิดผลดีต่อผู้รับบริการเลย นี่ก็เป็นจุดร่วมที่ผมสังเกตเห็นว่าการใช้ R2R ค้นหาสิ่งเหล่านี้ได้ ภายใต้ปัญหาทั้งหมด จะมีปัญหาเพียง 20% ที่เหมาะสมในการนำมาแก้ไข/พัฒนา แล้วปัญหาอีก 80% ก็จะหายไปเสียเฉย ๆ หากเราคิดเชิงระบบนะครับ
ดิฉัน...เคยได้ยิน...บางท่านพูดว่า R2R และ KM  คือ กระแสใหม่ที่เราวิ่งตาม...หากแต่ในมุมมองส่วนตนมองว่า..R2R เป็นเรื่องที่มีอยู่ หากแต่เราหันกลับมามอง...ให้ลุ่มลึกและจริงจัง...ยิ่งขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท