หลักการโครงงาน


หลักการ
หลักการโครงงาน
PRINCIPLE  OF  PROJECT

แนวคิดพื้นฐาน ( Conceptual  Review )

วิสัยทัศน์ประเทศไทย  พ.ศ. 2563

ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ( 15  พฤศจิกายน  2539 )

1.  ประชากรไทย  70  ล้านคนจะ  " ปลอด " ความยากจน

2.  เด็กไทยจะเรียนขั้นต่ำถึงมัธยมปลายและกว่าร้อยละ 50 เรียนถึงขั้นมหาวิทยาลัย

3. เศรษฐกิจไทยจะไปอยู่อันดับที่ 16 ของโลกและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกลายเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ

ขณะที่วิสัยทัศน์ของกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดให้  "…ไทยจะเป็นผู้นำของโลกในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าสูงขึ้น…" โดยกำหนดพันธกิจในการเป็นผู้นำคือ   " ประเทศไทยเป็นครัวของโลก " และคนกลุ่มหนึ่งกำลังพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน  โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์   ( One  Tombon  One  Product ; OTOP ) สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า……มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะทำอะไร ? ……..  แต่มันสำคัญอยู่ที่ว่า " คุณจะทำอย่างไร ? ….กับปัญหาต่างหาก "

ข้อมูลดังกล่าวพบว่าปัจจุบันศักยภาพของการวางแผนมีความจำเป็นที่ต้องนำวิสัยทัศน์ (Vision) ค่านิยม( Value ) พันธะกิจ (Mission)และยุทธศาสตร์ (Strategies) มาประกอบการพิจารณาดำเนินการเพื่อประสิทธิภาพของงานและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในปัจจุบันและอนาคต

         

ประโยชน์โครงงาน ( Benefit of  Project )

การศึกษาการดำเนินการจัดสร้างโครงงานหรือหัวข้อกรณีศึกษาประกอบด้วยความรู้เชิงวิชาการกระบวนการปฏิบัติงานและการบูรณาการของเนื่อหาสาระเพื่อการจัดสร้างผลงาน เรียกว่า“ ชุดโครงงาน          ( Project  Document ) ”  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน   ดังนี้

1. รายงาน ( Report )หมายถึงเอกสารทางวิชาการภาคทฤษฎีใช้รับรองการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยข้อมูลเชิงวิชาการ สาระสำคัญ กระบวนการปฏิบัติงาน การประเมินผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ เรียกว่า “ แผนโครงงาน ( Project  Planning ) ”  เช่น  คู่มือปฏิบัติงาน เอกสารประกอบการปฏิบัติงานหรือคู่มือการใช้งาน เป็นต้น

2. ผลผลิต ( Product ) หมายถึง ชิ้นงานที่ผ่านขั้นตอนการเตรียมการกระบวนการแปรสภาพ (Conversion Process) กระบวนการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Process) หรือการประเมินคุณภาพได้ผลงานที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

 โครงงานเชิงระบบ  ( System  Approach )

การแปรสภาพวัตถุดิบเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของกระบวนการระหว่างความรู้และเทคโนโลยี  ด้านปัจจัยพื้นฐานได้แก่ ด้านการศึกษา ( Education ; E ) ด้านทักษะอาชีพ (Occupational Skill ; O ) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ( Social & Environment ; S ) และข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งต้องเติมเต็มหรือสภาพปัญหา (Problem ; P)ทำให้เกิดเป็นชิ้นงาน ( Out Put ) หรือผลของกระบวนการแปรสภาพเชิงระบบที่ประกอบส่วนสำคัญ  4  ด้าน  ดังนี้ 

 E; Education 

O; Occupation 

S; Social

P; Problem  

       1.  ด้านปัจจัยนำเข้า ( Input )

1.   ข้อมูลวิสัยทัศน์ พันธะกิจ ค่านิยม  เนื้อหาสาระข้อมูลและขอบเขตต้องชัดเจน

               2.   การวางแผนดำเนินการ การประเมินผล ตรวจสอบ กำหนดขั้นตอนให้ชัดเจน

               3.  ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือและวัสดุทดแทนสามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น

      2.  ด้านกระบวนการ ( Process )

            1.   การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดปลอดภัย

               2.  ขั้นตอนกระบวนการแปรสภาพ(Conversion  process)และบันทึกผลปฏิบัติงาน

               3.  ส่งเสริมการระดมความคิดและระบอบประชาธิปไตยในการดำเนินการ

      3.  ด้านผลผลิต ( Output )

1.  ผลผลิตหรือชิ้นงานต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม                                    2.  ส่งเสริม ความคิด  ริเริ่ม  สร้างสรร  พัฒนาภูมิปัญญาและกำหนดตัวชี้วัดได้ 

3.  คุณภาพผลผลิต (Ouality  product) ตรงตามเป้าหมายและจัดตั้งเกณฑ์มาตรฐาน

      4.  ข้อมูลป้อนกลับ ( Feed Back )

1.  การตรวจสอบระบบกำหนดรูปแบบวิธีการทุกขั้นตอนอย่างชัดเจน

2.  การประเมินผล  ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตตรงตามเป้าหมายทุกขั้นตอน

3.  ข้อมูลการปฏิบัติงานนำไปพัฒนาปรับปรุงระบบและข้อเสนอแนะ

                                                                                         

สรุป  ( Conclusion )

โครงงาน (Project) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเปิดโอกาส สนับสนุน แนวคิดริเริ่ม  วิเคราะห์  การวางแผนโดยบูรณาการความหลากหลายในเนื้อหาสาระมาสร้างชิ้นงานตามความสนใจและเป็นที่ยอมรับในการประเมินศักยภาพและเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละระดับ

               ความสำคัญ(Important)โครงงานประการหนึ่งคือการสร้างลักษณะนิสัยรักการศึกษาค้นคว้า นิสัยรักงานฝึกทักษะอาชีพ  สรรสร้างคุณภาพชีวิตให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

               ประโยชน์ (Benefit ) โครงงานประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ เอกสารรายงาน การศึกษา     ค้นคว้าเชิงวิชาการประกอบผลผลิตหรือชิ้นงานที่แสดงถึงหลักฐานการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการ นำเสนอประกอบด้วย  ด้านการศึกษา  ด้านทักษะอาชีพและ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

               หัวข้อโครงงาน (Title) คือการคัดสรรกรณีศึกษา ขอบเขตุ  เนื้อหาสาระของปัญหาเพื่อสะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า  การเตรียมการวางแผน  โดยยึดหลัก " Title -METER" เครื่องมือและรูปแบบการประเมินโครงงาน เช่น ด้านการบริหารจัดการ  ด้านพลังงาน เป็นต้น

               การประมาณการ (Project   Estimating ) คือการวางแผนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายและประสานแผนงานในสภาพจริงของการปฏิบัติงานประการแรกคือการเสนอโครงงานเพื่อขออนุมัติดำเนินการและข้อมูลที่ต้องนำมาพิจารณาคือ ความสำคัญและประโยชน์

               โครงงานเชิงระบบ (System  Approach ) คือรูปแบบหรือแนวคิดกระบวนการพื้นฐานเชิงระบบซึ่งประกอบด้วย  ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ  ผลผลิตและข้อมูลป้อนกลับ

การผลิตสมาชิกของสังคมที่ดีและมีคุณภาพ  ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบยั่งยืน  ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2545- พ.ศ.2549) และหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544ด้วยหลัการดังกล่าวจึงต้องนำเสนอข้อมูลเพื่อชี้แนะผู้เรียนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ สามารถปรับตัวรับได้กับสิ่งที่คาดหวังและไม่คาดหวังให้เกิดขึ้น ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและก้าวทันความก้าวหน้าด้านการศึกษา  เทคโนโลยี อาชีพ สังคมและสภาพแวดล้อม  ดังคำกล่าวที่ว่า " มันไม่สำคัญดอกว่าจะมีอะไรขวางอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังเพราะว่า…..มันไม่มีอะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าตัวเรา…….มันสำคัญอยู่ที่ว่าภายในตัวเรามีอะไรอยู่…ต่างหาก "  

 

คำศัพท์ท้ายบท ( VOCABULARY )

หลักการโครงงาน

( PRINCIPLE  OF  PROJECT )

 

โครงงาน ( Project )

หมายถึง  วิชาที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างงานอย่างมีระบบภายใต้การควบคุมของผู้สอน ผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา  

ชุดโครงงาน  ( Project  Document )

หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ประกอบด้วยรายงาน( Report )หรือทฤษฏีและผลผลิต( Product ) หรือชิ้นงานหรือผลงานภาคปฏิบัติ

แผนโครงงาน ( Project  Planning )

หมายถึง  เอกสารเชิงวิชาการประกอบสาระขั้นตอนการวางแผนดำเนินการโครงงาน

การประมาณการ ( Project   Estimating )

หมายถึง การวิเคราะห์ คาดหมายล่วงหน้าเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงงานครอบคลุมถึงการประมาณราคาขาย การตั้งราคาและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย

ต้นทุน ( Cost )

หมายถึง ผลรวมของรายจ่ายและราคาวัสดุต่างๆที่นำมาดำเนินการจัดซื้อ จัดหาหรือการจัดสร้างและการบริหารการจัดการระบบ  เป็นต้น

ราคา ( Price )

หมายถึง มูลค่าที่กำหนดหรือจัดตั้งระดับมูลค่าในการออกจำหน่ายโดยมีการบวกผลกำไรด้วย

เครื่องมือวัดหัวข้อ ( Title - METER )

หมายถึงแนวทางการกำหนดหรือเลือกหัวข้อกรณีศึกษาหรือหัวข้อโครงงานโดยใช้อักษรนำหน้าของขอบเขตแต่ละคำมารวมกันตรงกับคำว่า  " METER "ประกอบด้วย

ด้านการบริหารและการจัดการ  ( Management )  ด้านพลังงาน  ( Energy )ด้านเทคโนโลยี      ( Technology ) ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ ( Environment & Economics ) ด้านการศึกษา  ( Research )

คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน
หมายเลขบันทึก: 358710เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีรูปภาพให้ดูหน่อยซิครับมันจะได้ยืนยันความเป็น

มีรูปให้ดูหน่อยซิครับจะเจ็งไปเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท