โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ : การสนับสนุนกระบวนการจัดการความรู้ของ สคส. ตอนจบ


              (ต่อจากตอนที่แล้ว)

              โดยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการจัดการความรู้  ให้กับทีมแกนนำก่อน  เพื่อให้แกนนำของ สพท. และสถานศึกษาสามารถนำกระบวนการจัดการความรู้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานต่อไป  ซึ่งทีมวิจัยกำหนดการจัดเวทีดังกล่าว  จำนวน  6  ครั้ง  ดังนี้  คือ 

                 ครั้งที่  1  วันที่  1 – 3  มิถุนายน  2549  เป็นกลุ่มของ สพท. กทม. เขต  2  และ สพท. ฉะเชิงเทรา  เขต  1    จัดขึ้นที่  โรงแรมทาวน์  อิน  ทาวน์  กรุงเทพฯ                ครั้งที่  2  วันที่   15  -  17  มิถุนายน  2549   เป็นกลุ่มของ  สพท.  พระนครศรีอยุธยา  เขต  1,  สพท. ลพบุรี  เขต  1  และ  สพท. สุพรรณบุรี  เขต  2  จัดขึ้นที่  โรงแรมคุ้มสุพรรณ  จ. สุพรรณบุรี                ครั้งที่  3  วันที่  22 -  24  มิถุนายน  2549  เป็นกลุ่มของ  สพท.  พิษณุโลก  เขต  1,  สพท. แม่ฮ่องสอน  เขต  1  และ สพท. นครสวรรค์  เขต  3   จัดขึ้นที่  โรงแรมท็อปแลนด์  จ. พิษณุโลก                ครั้งที่  4  วันที่  29  มิถุนายน  -  1  กรกฎาคม  2549  เป็นกลุ่มของ  สพท. สุรินทร์  เขต  1,  สพท. นครราชสีมา   เขต  1  และ สพท. สกลนคร  เขต  2   จัดขึ้นที่  โรงแรมราชพฤกษ์  แกรนด์     โฮเทล   จ. นครราชสีมา                ครั้งที่  5  วันที่  6 -  8  กรกฎาคม  2549  เป็นกลุ่มของ  สพท.  อุดรธานี  เขต  3,  สพท. หนองบัวลำภู  เขต  1  และ สพท. มหาสารคาม  เขต  2   จัดขึ้นที่  โรงแรมนภาลัย   จ. อุดรธานี <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                ครั้งที่  6  วันที่  13 – 15  กรกฎาคม  2549  เป็นกลุ่มของ  สพท. สุราษฎร์ธานี  เขต  1,  สพท. สงขลา  เขต  3  และ สพท. ยะลา  เขต  1  จัดขึ้นที่โรงแรม  บี พี  แกรนด์  ทาวเวอร์  จ. สงขลา</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                กิจกรรมช่วงนี้เอง  ที่  สคส.  เข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการฯ  นี้    คือ  การทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการจัดการความรู้ให้ดูเป็นตัวอย่างแก่ทีมนักวิจัยของโครงการฯ  จำนวน  2  ครั้ง  ส่วนครั้งที่  3 – 6    ทีมนักวิจัยต้องเป็นวิทยากรกระบวนการเอง   และ  สคส.  ลดบทบาทของตัวเองมาเป็นพี่เลี้ยงและให้กำลังใจแก่ทีมวิทยากรกระบวนการจัดการความรู้มือใหม่แทน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                ต่อจากนั้น  สพท.  และสถานศึกษาจะต้องนำกระบวนการจัดการความรู้ไปขยายผล และกระจายลงสู่การปฏิบัติ  โดยทีมนักวิจัยทำหน้าที่เสมือนทีมที่ปรึกษาการวิจัยและพัฒนา  พร้อมทั้งเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ  และข้อมูลที่จะนำมาสู่การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในสถานศึกษาและ  สพท. ต่อไป </p>             ดังนั้น  ผลลัพธ์ที่จะได้รับหลังเสร็จสิ้นระยะเวลา  2  ปี  ของโครงการฯ   คือ                1.  มีระบบการจัดการความรู้ใน สพท.  17  เขต  และสถานศึกษาอีก  78  แห่ง                2.  มีการขยายผลการจัดการความรู้ในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ  (อย่างน้อยร้อยละ  50  ขึ้นไป) และขยายไปยังสถานศึกษาและ สพท. อื่นๆ  ด้วย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                3. มีนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ใน สพท. และสถานศึกษา</p>                 หากโครงการฯ  นี้สำเร็จเสร็จสิ้นสมตามความมุ่งหวังของทีมนักวิจัย  คาดว่า วงการศึกษาของไทยน่าจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรที่จัดและที่สนับสนุนการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้ในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี                น่าดีใจแทนวงการศึกษาและเยาวชนไทยจริงๆ  ค่ะ <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 35839เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท