รักวลัยลักษณ์ (5)


การจัดการแบบเมทริกหมุนเกลียวความรู้

ผมตัดสินใจเลือกทำรายงานสังเคราะห์งานวิจัยกองทุนหมู่บ้านที่กรุงเทพแทนไปเขื่อนเชี่ยวหลานในโครงการรักวลัยลักษณ์วันที่5-6ก.ย.ที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์มากกว่า
กลับมาถึงได้สอบถามคนเข้าร่วมว่า เป็นอย่างไรบ้างและมีแผนดำเนินการอย่างไรต่อไป
คำบอกเล่าคือ ได้สรุปความรู้ในการทำงานเป็น 8 กลุ่ม/เรื่อง ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่ที่แน่ ๆคือคงเกิดBlogเรียนรู้ในWU Blog และทีมผู้จัดจะคุยสรุปงานกัน และคงมีการจัดรุ่นต่อ ๆไปอีก
ผมสะดุดกับข้อสรุปว่า จะจัดรุ่นต่อ ๆไปเพื่อให้ครบทั้งหมด เพราะตามความเข้าใจของผม กระบวนการจัดการความรู้ไม่ใช่การอบรมภาษาอังกฤษที่ทำเป็นรุ่น ๆต่อเนื่อง แต่น่าจะเป็นการใช้กลุ่มนิวเคลียสเริ่มต้นในการหมุนเกลียวความรู้ ผมเห็นว่า 8 กลุ่มความรู้ที่ได้มีชุมชนคนใฝ่รู้ 8 ชุมชนเล็ก ๆเป็นแกนในการหมุนเกลียวความรู้แล้ว จะมัวช้าอยู่ใย ใช้การจัดการความรู้แบบเมทริกหมุนเกลียวความรู้ในชุมชนของตนเองให้มีพลังมากขึ้นเลย คือ ทำให้ความรู้มีความชัดเจน     ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นและมีคนเข้าร่วมมากขึ้น แต่ละชุมชนต่างคนต่างทำและต่างช่วยกันทำ     (ใช้กลุ่มความรู้เป็นตัวเดินเรื่องต่อเนื่องจากการสัมมนาที่เขื่อนเชี่ยวหลาน)
สำหรับในหน่วยงานเดียวกันก็มีคุณเอื้อ(หัวหน้าหน่วยงาน)ซึ่งไปร่วมด้วย กลับมาก็เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ภายในหน่วยของตนเองโดยเริ่มจากคนที่เข้าร่วมสัมมนามาขยายผลเล่าให้เพื่อนฟัง (ใช้หน่วยเป็นตัวเดินเรื่อง จัดกลุ่มเรียนรู้ภายใน)

ทั้งสองระนาบขับเคลื่อนด้วยการหมุนเกลียวความรู้เสริมพลังกัน นั่นคือวิถีทางของการจัดการ ความรู้โดยใช้ทั้งBlog F2Fและอื่น ๆช่วยในการขับเคลื่อน ซึ่งทำได้เลย

ผมจึงงง ๆกับแนวทางการสัมมนาในรุ่นต่อไปเรื่อย ๆแบบเดียวกับอบรมภาษาอังกฤษ

หมายเลขบันทึก: 3583เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2005 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท