ประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ทคโนโลยี ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม จะพัฒนาและประเมินอย่างไร?

การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

        หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ระบุว่า ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนา 5 สมรรถนะสำคัญ ได้แก่

  1. ความสามารถในการสื่อสาร
  2. ความสามารถในการคิด
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

      ซึ่งแต่ละสมรรถนะสำคัญ ผู้สอนได้พัฒนาผู้เรียนอยู่แล้วในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในลักษณะบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การประเมินก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกัน ผลการประเมินจะถูกกลืนเข้าไปในเนื้อหาสาระ หรือกระบวนการในผลงานงานของผู้เรียน การที่จะทำให้ทราบว่า ผู้เรียนมีความสามารถตามสมรรถนะสำคัญที่หลักสูตรฯ กำหนดนั้น ผู้สอนควรเก็บข้อมูลผลการประเมินแต่ละสมรรถนะแยกออกมาให้เห็นชัด สำหรับความเป็นไปได้ในการที่จะประเมินสมรรถนะสำคัญ มีดังนี้

                 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

       หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระบุความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ทคโนโลยี ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

       เทคโนโลยีหมายถึง วิธีการดำเนินการ  ซึ่ง สสวท. ได้ให้ความหมายของการเลือกและใช้เทคโนโลยีว่า เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยคำนึงถึงประโยชน์ และผลกระทบ จากการเลือกเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานหนึ่ง ๆ และระบุว่า กระบวนการเทคโนโลยี(Technological process) ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา หรือความต้องการในการทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง(Identification the problem, need or preference)
  2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา หรือหาวิธีที่จะตอบ/สนองความต้องการ(Information gathering -to develop possible solution)
  3. เลือกวิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีที่จะตอบ/สนองความต้องการ(Selection of the best possible solution)
  4. ออกแบบ และลงมือทำตามวิธีการที่เลือก(Design and making)
  5. ทดสอบประสิทธิภาพ/การทำงาน ของวิธีการที่เลือก(Testing to see if it works)
  6. ปรับปรุงแก้ไขวิธีการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(Modification and improvement)
  7. ประเมินผลการทำงาน(Assessment) เพื่อตรวจสอบว่าผลงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมินความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

เกณฑ์

ระดับคุณภาพ

การประเมิน

4

3

2

1

1.การกำหนดปัญหา/ความต้องการ

-ความชัดเจน

 

-ความตรงกับเรื่องที่จะทำ

 

 

 

-ระบุปัญหา/ความต้องการได้ชัดเจนทั้งประโยค

 

-ระบุปัญหา/ความต้องการได้ชัดเจนเกือบทั้งประโยค

 

-ระบุปัญหา/ความต้องการได้ค่อนข้างชัดเจนพอเข้าใจ

 

-ระบุปัญหา/ความต้องการได้แต่ยังขาดความชัดเจน

 

-ระปัญหา/ความต้องการตรงกับเรื่องที่จะทำอย่างครอบคลุม

-ระปัญหา/ความต้องการตรงกับเรื่องที่จะทำเกือบครอบคลุม

-ระปัญหา/ความต้องการค่อนข้างตรงกับเรื่องที่จะทำพอรับได้

-ระปัญหา/ความต้องการตรงกับเรื่องที่จะทำเพียงเล็กน้อย

2.การรวบรวมข้อมูล

-ความตรงตามความต้องการ

 

 

 -ความครอบ คลุม

 

-ความถูกต้อง

 

 

-ข้อมูลที่รวบรวมตรงกับปัญหา/ความต้องการทุกรายการ

 

-ข้อมูลที่รวบรวมตรงกับปัญหา/ความต้องการเกือบทุกรายการ

 

-ข้อมูลที่รวบรวมตรงกับปัญหา/ความต้องการเป็นส่วนใหญ่

 

-ข้อมูลที่รวบรวมตรงกับปัญหา/ความต้องการบ้าง

-ข้อมูลที่รวบรวม

-ข้อมูลที่รวบรวมมีความครบถ้วน ครอบคลุม เพียงพอที่จะนำมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

-ข้อมูลที่รวบรวมส่วนใหญ่มีความครบถ้วน เพียงพอที่จะนำมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

-ข้อมูลที่รวบรวมมากกว่าร้อยละ50มีความครบถ้วน เพียงพอที่จะนำมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

น้อยกว่าร้อยละ50มีความครบถ้วน เพียงพอที่จะนำมาใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

-ข้อมูลที่รวบรวมมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้ทุกรายการ

-ข้อมูลที่รวบรวมส่วนใหญ่มีความถูกต้อง และเชื่อถือได้

-ข้อมูลที่รวบรวมมากกว่าร้อยละ50มีความถูกต้อง และเชื่อถือได้

-ข้อมูลที่รวบรวมน้อยกว่าร้อยละ50มีความถูกต้อง และเชื่อถือได้

3.การออกแบบแก้ไขปัญหา/สนองความต้องการ

การออกแบบการแก้ไขปัญหา/สนองความต้องการทั้งหมดมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

การออกแบบการแก้ไขปัญหา/สนองความต้องการส่วนใหญ่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

การออกแบบการแก้ไขปัญหา/สนองความต้องการค่อนข้างมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

การออกแบบการแก้ไขปัญหา/สนองความต้องการมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเล็กน้อย

4.การปฏิบัติ

มีการปฏิบัติตามที่ได้ออกแบบไว้อย่างครบถ้วน

มีการปฏิบัติตามที่ได้ออกแบบไว้เกือบครบถ้วน

มีการปฏิบัติตามที่ได้ออกแบบไว้เป็นส่วนใหญ่

มีการปฏิบัติตามที่ได้ออกแบบไว้เล็กน้อย

5.การทดสอบ

มีการทดสอบกระบวนการทำงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

มีการทดสอบกระบวนการทำงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเป็นส่วนใหญ่

มีการทดสอบกระบวนการทำงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการบางส่วน

มีการทดสอบกระบวนการทำงานแต่ไม่มีหลักวิชาการสนับสนุน

6.การปรับปรุงแก้ไข

ไม่มีข้อบกพร่อง หรือถ้ามีข้อบก พร่อง ข้อบกพร่องทั้งหมดได้รับการแก้ไข

ข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขเกือบทั้งหมด

ข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขเป็นส่วนใหญ่

ข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขเล็กน้อย

7.การประเมินผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานตอบปัญหา/สนองความต้องการได้ทั้งหมด

ผลการดำเนินงานตอบปัญหา/สนองความต้องการได้เกือบทั้งหมด

ผลการดำเนินงานตอบปัญหา/สนองความต้องการได้เป็นส่วนใหญ่

ผลการดำเนินงานตอบปัญหา/สนองความต้องการได้เล็กน้อย

 

หมายเลขบันทึก: 357924เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นบทความที่มีประโยชน์มากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท