กรมบัญชีกลางแถลงข่าวรายงานผลการยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน


กรมบัญชีกลางแถลงข่าวรายงานผลการยึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

กรมบัญชีกลางจัดแถลงข่าวรายงานผลการดำเนินการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ครบทุกธนาคารแล้ว  จำนวนเงิน 46,210  ล้านบาท  รอจำหน่ายหน่วยลงทุน อีก 163 ล้านบาท  ครบ 46,373 ล้านบาท   ตามคำพิพากษาศาล เร็ว ๆ นี้

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง รายงานผลการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว ตามคดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2553 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 โดยสรุปได้ว่า “ให้เงินที่ได้จากการ
ขายหุ้นและเงินปันผลหุ้นของบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล เฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝาก นับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยบังคับเอาจากทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ รวม 4 ฉบับ เป็นบัญชีเงินฝากธนาคารจำนวน 32 บัญชี และหน่วยลงทุนจำนวน 3 รายการ จากธนาคารจำนวน 6 แห่ง” ตามกระบวนการเรื่องดังกล่าว สำนักงาน ป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด มีหนังสือแจ้งให้กระทรวงการคลังดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดี ตามคำพิพากษาของศาล และกระทรวงฯ ได้ มอบหมายให้กรมบัญชีกลางดำเนินการต่อ 

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 ศาลฎีกาฯ ได้มีหนังสือถึงธนาคารจำนวน 6 แห่ง พร้อมสำเนาคำพิพากษา
ให้ธนาคารปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว ในขณะเดียวกันกรมบัญชีกลางในฐานะผู้ประสานงานเกี่ยวกับขั้นตอนการนำเงินตามคำพิพากษาเข้าบัญชีของแผ่นดิน ได้มีหนังสือประสานงานขอให้ธนาคารจำนวน 6 แห่ง โอนเงินในบัญชี
เงินฝากธนาคารของผู้ถูกยึดทรัพย์ตามรายละเอียดที่ปรากฏในคำพิพากษา ซึ่ง ค.ต.ส.ได้มีคำสั่งอายัดไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝากนับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน  โดยใช้วิธีการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน แทนการถอนเงินจากบัญชี เข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมบัญชีกลางจะเรียกรายงานจากระบบแจ้งให้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ใช้เป็นหลักฐานบันทึกการรับและนำส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดินในระบบ GFMIS  ต่อไป

นายพงษ์ภาณุ  กล่าวเพิ่มเติมว่า  เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553  ธนาคารทั้ง 6 แห่งได้โอนเงินฝากธนาคารตามคำพิพากษาฯ เข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)                   จำนวน 39,888,486,233.18 บาท

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)                          จำนวน   8,586,316,008.22 บาท

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)                             จำนวน      508,993,038.65 บาท

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)                จำนวน        21,002,578.67 บาท

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)                       จำนวน        10,441,003.88 บาท

ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)                จำนวน          1,060,304.60 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 49,016,281,167.20 บาท   แบ่งเป็นเงินต้นจำนวน 46,210,549,396.96 บาท  ดอกเบี้ยจำนวน

 

- 2 -

 

2,805,731,770.24 บาท  โดยจำนวนเงินต้นนั้น  ยังไม่ครบตามคำพิพากษาฯ ขาดอีกจำนวน 163,138,057.74 บาท  ในส่วนนี้จะประสานงานกับสำนักงานอัยการสูงสุดและกรมบังคับคดี เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายหน่วยลงทุนตามคำพิพากษา ให้ได้เงินครบจำนวน 163,138,057.74 บาท โดยในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2553 นี้  ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ สำนักงาน
อัยการสูงสุด สำนักงาน ป.ป.ช.  กรมบังคับคดี และกรมสรรพากร ประชุมหารือร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินการ
เป็นไปด้วยความถูกต้องและรอบคอบ

นายพงษ์ภาณุ  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  จากการติดตามเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ
ปี 2553 และงบไทยเข้มแข็ง  ผลการเบิกจ่าย 2 ไตรมาสที่ผ่านมาเกินกว่าเป้าหมาย เห็นได้ว่าหน่วยงานภาครัฐ มีความพร้อมในการดำเนินงานตามแผนงานโครงการต่าง ๆ  ประกอบกับรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เกินกว่าเป้าหมายเช่นกัน จึงได้ มีการพิจารณาทบทวนเงินงบประมาณปีก่อน ๆ ที่ได้สั่งพับไป ว่า รายการใดที่หน่วยงานภาครัฐยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปอยู่และไม่สามารถเจียดจ่ายจากเงินงบประมาณปีปัจจุบันได้ และออกหลักเกณฑ์
เพื่ออนุมัติให้นำเงินนั้นกลับมาใช้ได้ต่อไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2553  ดังนี้

1.  เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2550-2552 ที่มีหนี้ผูกพันและมีวงเงินต่ำกว่า 50,000 บาท เดิม ให้ขยายเวลา
เบิกจ่ายเงิน   เฉพาะเงินงบฯ ปี 2552 ที่มีเงินคงเหลือไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท

2.  เงินงบประมาณ ปี พ.ศ. 2546-2551 ที่ไม่มีหนี้ผูกพัน  โดย

     -     เงินงบฯ ปี 2546-2549 ที่มีวงเงินแต่ละรายการตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป

                     -     เงินงบฯ ปี 2550-2551 ที่มีวงเงินแต่ละรายการตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

                     -     เงินงบฯ ปี 2551 เพื่อนำมาจัดสรรเป็นสิ่งจูงใจ

                    ซึ่งเดิมกรณีไม่มีหนี้ผูกพันให้ขยายเฉพาะเงินปี 2552 เท่านั้น

รวมจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติให้ขยาย 12,257.85 ล้านบาท  จากจำนวนเงินทั้งหมด 12,461.82 ล้านบาท โดยหน่วยงานภาครัฐไม่ต้องทำหนังสือขอตกลงมายังกรมบัญชีกลาง  ถือเป็นการปฏิบัติงานในเชิงรุกเพื่อให้ส่วนราชการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง นายพงษ์ภาณุ  กล่าว

 

หมายเลขบันทึก: 357634เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท