ตื่นตา ตื่นใจ กับ KM ศูนย์ 6 (ตอนที่ 8) สรุปจริงๆ


มนุษย์มีความสามารถในการสรุป คิดรวบยอด หาข้อสรุปสำคัญๆ ให้กับตัวเองได้ จากการสังเกต และจากการลงมือทำ

 

จบตอนแล้วค่ะ อ.หมอสมศักดิ์ ฝากไว้ว่า

  1. ผมเคยพูดกับ กพร. สป. ว่า พวกเรากรมอนามัยใช้หลัก Learning by Confusion เพราะว่า พวกเราทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสามารถ จากการเรียนรู้จากความสับสน ...

    ยกตัวอย่าง ... นักวิทยาศาสตร์เขาค้นพบมาได้พักใหญ่ ในเรื่องภาษา ... เราก็เรียนภาษาอังกฤษกันทุกคน แต่ว่าเราก็เกลียดวิชาไวยากรณ์อังกฤษมากที่สุด ... เราเป็นคนไทย ก็คงเคยเรียนไวยากรณ์ไทย แต่เราก็เกลียดไวยากรณ์ไทย ... แต่ความจริงแล้วเราพูดภาษาไทยไม่ผิดไวยากรณ์หรอก เพราะว่าเราเป็นคนไทย ... นักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่า คนที่เกิดมาในสิ่งแวดล้อมของภาษาใด จะรู้ไวยากรณ์ของภาษานั้น โดยไม่ต้องเรียนไวยากรณ์ ที่เรียนเพราะว่าให้รู้รายละเอียดมากขึ้น ... พูดง่ายๆ คือ เด็กคนหนึ่ง ถ้าเกิดที่อังกฤษ หรืออเมริกา เขาก็จะรู้ว่า ต้องใช้คำ adjective อยู่หน้าคำนาม ถ้าเขาเกิดที่เมืองไทย เขาก็ต้องรู้ว่า ต้องใช้คำคุณศัพท์อยู่หลังคำนาม ไม่ต้องมีใครไปสอน เขาไปรู้ทีหลังเวลาครูสอนว่า เขาทำถูกแล้ว แต่เขาไม่รู้ว่า มันเรียกว่าอะไร เขาก็จะไม่เอากรรมมาอยู่ก่อนประธาน แต่ว่าบางประเทศ เขากรรมมาอยู่ก่อนประธาน เด็กทำได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องสอนหลักก่อน ... อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เด็กเล็กที่ฟังภาษายังไม่รู้เรื่อง เราก็มักจะไม่สอนเขา แต่จะทำอะไรให้เขาดู

    ... สรุปก็คือ มนุษย์มีความสามารถในการสรุป คิดรวบยอด หาข้อสรุปสำคัญๆ ให้กับตัวเองได้ จากการสังเกต และจากการลงมือทำ อันนี้คือ basic ที่ผมคิดว่า สำคัญมาก

    ที่เรามาคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บอกว่า tacit knowledge ก็สำคัญมาก การเรียนรู้ต้องเรียนจากการลงมือทำ Learning by Confusion นี้ก็เหมือนกับพูดเล่น แต่มันเป็นเรื่องจริง ผมก็ย้ำให้พวกเราเห็นกันว่า บางทีพวกเราไม่ต้องรู้หลักอะไรมากหรอก บางทีหลักก็มาทีหลัง ข้อเสียคือ ถ้าพยายามจับหลักมากเกิน ก็จะเสียหลัก พอกลัวเสียหลักก็เลยไม่ได้ไปไหนสักที เพราะฉะนั้น ผมก็หวังว่าผมจะไม่ทำให้พวกเรามีหลักมากเกิน เดี๋ยวจะเซ็งจากการเรียนรู้ การเรียนรู้ต้องสบาย สบาย ผมคิดว่าที่เราทำมา 2 ปีที่ผ่านมาก็จะเป็นข้อพิสูจน์ ผมก็อยากจะให้เกิดความมั่นใจ เป็นธรรมดา ว่า เราก็จะถูกบอกเสมอมา อะไรที่ดูหรูหราก็จะลำบาก

    ผมเองตั้งแต่ได้เรียนรู้เรื่อง KM ก็จะพยายามเขียนอะไรที่เป็นความรู้แบบสบาย สบาย มากมาก ก็อยากจะเตือนให้คนที่อยู่แบบสบาย สบาย ว่า การไปเขียน blog แบบหมอจอยก็จะดี เวลาผมเขียน blog ผมจะรู้เลยว่า บางวันผมเขียนไม่ได้ เขียนทีไรก็จะออกแบบทฤษฎีทุกทีเลย ... ถามว่า เขียนอะไรง่ายๆ กว่านั้นได้ไหม เพราะว่าเรื่องนี้มีค่ามากมายกว่าข้อสรุปที่น่าเบื่อหน่าย เราอาจจะเขียนข้อสรุปได้ 5 บรรทัด เล่าเรื่องได้สัก 10 บรรทัด เรื่อง 10 บรรทัด อาจจะมีค่ามากกว่า 5 บรรทัด
  2. อันที่ 2 ที่อยากจะบอก คือ พวกเราจะคุ้นเคยกับการเรียนด้วยการชี้ความบกพร่อง ผมก็เป็นอย่างนั้น ผมเชื่อมาโดยตลอดว่า คนเราต้องเรียนจากการที่มีคนมาชี้ข้อบกพร่อง ... ผมชอบหนังญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งมาก คือ ยูโดสายดำ ที่ช่อง 4 พระเอกชื่อเนาย่า เป็นเด็กหนุ่ม มีอาจารย์ชื่อคูรูม่า อาจารย์คูรูม่า ไม่เคยชมใครเลย ด่าพระเอกทุกตอนเลย แต่พระเอกก็เก่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าอาจารย์มาด่า ผมคิดว่าวิธีการสอนแบบนี้ ก็ยังมีคนสอนทุกวันนี้ ลูกผมเป็นหมออยู่ที่ รพ.ขอนแก่น เขาก็จะมาเล่าให้ผมฟัง ว่าแผนก ... นี่เป็นแผนกที่สอนด้วยการด่ามากที่สุด คือ resident ทุกคนจะรู้ว่า อาจารย์ที่นี่ดุที่สุด และไม่มีคนไหนที่ไม่ดุ และก็มาเล่าให้ผมฟังว่า ทุกคนต่างก็ไปคุยกันนะ ว่า เนี่ยะ resident ชอบ feed back ว่า พวกเราดุ เพราะฉะนั้นเราเลิกดุดีไหม อาจารย์ท่านหนึ่งก็บอกว่า เฮ้ย พวกนี้เวลากลับมาหาเราน่ะ มันบอกกันทุกคนนะ ประโยคเดียวกันว่า ถ้าไม่ได้อาจารย์ด่า ก็ไม่มีวันนี้หรอกครับ เพราะฉะนั้น เราจงด่าต่อไป

    ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่า KM เราจะเน้นเรื่อง การใช้ success story เป็นการแลกเปลี่ยน tacit knowledge คือ การทำให้คนคนหนึ่งเปิดเผยความรู้ที่มีอยู่ขึ้นมา มันยากที่จะได้มาจากวิธีเชิงลบ KM มาเปลี่ยนวิธีคิด เราเรียนจาก success story เพราะฉะนั้นผมจึงถามพวกเราว่า success story ยากไหม เพราะว่า ... ความยากอยู่ตรงเล่าครั้งแรก หรือเล่าเป็นคนแรกเท่านั้นเอง หลังจากนั้นก็จะหลั่งไหลพรั่งพรูไม่มีหยุดละ เพราะฉะนั้น การ encourage ให้คนเล่า success story ก็จะมีประโยชน์ตั้งหลายอย่างที่เราคุยกันมาแล้ว เพราะนอกจากได้ความรู้แล้วก็ยังได้ความสุขด้วย ที่ผมเล่า เพราะผมต้องการชี้ concept ว่า เรื่องการเรียนรู้ พวกเราก็มีกันทุกคน คือ การเล่า success story ผมเข้าใจเอาเอง ที่ผมพูดตั้งแต่ต้นว่า การทำ KM คือ การสร้างสิ่งแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการ ลปรร. หมายถึงต้องการให้ทุกคน พร้อมที่จะเล่า success story ให้ฟัง ถ้าจะมีอะไรที่เป็นเทคนิค ก็คงจะมีหลักแค่นี้เอง คือ เล่า success story ที่เหลือยังไง จะไปเขียนยังไง ต่อยังไง ก็เป็นเรื่องหนึ่ง
  3. ประเด็นที่สาม คือว่า ผมหวังว่า พวกเราหลังจากที่ผมมาเยี่ยมแล้ว จะไม่ถามคำถามว่า เอ การจัดการความรู้นี้จะมีแต่ tacit knowledge เท่านั้นใช่ไหม เพราะผมหวังว่าพวกเราเล่าเองคงจะเห็นว่า หลายอย่างที่เป็น tacit knowledge ที่พวกเราแลกกัน ทุกเรื่องมันมี explicit knowledge อยู่ด้วยแล้วทั้งนั้น ถ้าไม่มั่นใจก็ไป check ดู เพราะว่าบางเรื่องก็ check ง่าย บางเรื่องก็ check ยาก ถามว่าที่พวกเราสรุปกัน และผมเน้นเรื่องให้ทำคู่มือ ถามว่า มีใครเขียนคู่มือการจัดประชุมไหม ก็เห็นกันว่า มี แต่ว่าเขาไม่ขาย บริษัทที่เป็นนักจัด events ใหญ่ๆ ที่เที่ยวจัดประชุมสารพัดอย่าง เขามี protocol คู่มือกันทั้งนั้น แต่เขาไม่ขายกันหรอก เพราะฉะนั้น เราก็เขียนเองได้

    ผมเล่าเพื่อจะบอกว่า ความจริง explicit knowledge ที่เขาเขียนกันพวกเราก็เขียนได้ ... เราไม่จำเป็นต้องเขียนหมด เพราะฉะนั้น เราทำ tacit knowledge sharing กันสักพักหนึ่ง ถ้าสนใจมากก็ไปหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาจมีคนเขียนตำราเรื่องการจัดประชุมอยู่จำนวนหนึ่ง ที่เขาเผยแพร่ได้ ... เรื่องการให้บริการหญิงวัยหมดประจำเดือน ถ้าเมืองไทยไม่มีใครเขียน เมืองนอกก็มีการเขียนอยู่แล้ว เพราะว่าวัยหมดประจำเดือนมันมีบริการมาก่อนหน้านี้เยอะแยะแล้ว สมัยก่อนก็มีคู่มือ ANC คู่มือ Well baby เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ค่อยมีคู่มือผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน สักพักหนึ่งก็คงจะมี และอาจจะเป็นตำราของเรากันเองขึ้นมาจำนวนหนึ่ง

    สิ่งนี้ผมพูด เพื่อไม่ให้เรากังวลกับ explicit knowledge อะไรให้มากมาย แต่ให้เห็นว่า โอกาสที่จะเชื่อมโยงกับ tacit knowledge เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เริ่มจากการทำอย่างนี้ เพราะว่าผมเข้าใจกันเองว่า ทุกเรื่องที่พวกเราเลือก share กัน มันเกิดจากความต้องการจากการทำงาน ไม่มีใครมา force เรา ศูนย์ฯ เด็ก ไปเล่านิทานเพราะการเล่านิทานเป็นจุดอ่อนของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงทำอย่างอื่นได้หมด ยกเว้นเรื่องเล่านิทาน ก็ขอ share เรื่องอื่นได้หมดยกเว้นเรื่องเล่านิทาน

    ที่พวกเราต้องทำเรื่อง หญิงวัยหมดประจำเดือน ก็ไม่ใช่ว่า เขาจะมาดูเรา เพราะว่ามันเป็นบริการใหม่ และต้องทำให้ดีด้วย และเข้าใจว่า ตำราเขายังไม่มี คู่มือเขายังไม่ชัด ทำนองนี้ ก็สกัดความรู้สักหน่อย เอาขึ้นมาเป็นคู่มือ แน่นอนอาจจะพวกเราบอกว่า เขาจะประเมินความรู้ในงานหญิงวัยทอง วันนี้พวกเราก็คงเห็นชัดแล้วว่า เราไม่อยากให้เขาบอกว่า เพราะว่า KM เป็นส่วนหนึ่งของทำงานในหญิงวัยทอง แต่เพราะว่าการสกัดความรู้จากหญิงวัยทอง เพราะว่าการทำงานกับหญิงวัยทองทำงานได้ดีขึ้น ผมหวังว่าพวกเราจะเห็นผลอย่างนั้น มันเป็นผลพลอยได้ที่ตรงไปตรงมา

    เรื่อง พสว. ที่ทำ AAR เรื่องการประชุม ก็ตรงไปตรงมาอยู่แล้ว เพราะว่าเราก็จัดประชุมกันตลอด เราคงอยากจะรู้ว่าทำยังไงให้ดึขึ้น แต่ก่อนก็ไม่ได้ AAR เป็นระบบ เดี๋ยวนี้คงเป็นระบบแล้ว เพราะทุกคนคงอยากเห็นตรงประเด็น เราก็ไปหาวิธีแก้ให้ดีขึ้น

ทั้งหมดที่พูดมาคือ สิ่งที่ผมเห็นก็คือ พวกเราเห็นประโยชน์ของการทำ KM เพื่อจะไปช่วยให้เราทำงานดีขึ้น นี่คือเหตุผลสำคัญที่มีการพูดเรื่อง KM กันขึ้นมาก อย่าไปสนใจว่ามีแบบฟอร์มกี่แบบฟอร์ม ที่เขาจะให้เราคิด ให้เป็นระบบยังไง เหมือนเขาเราจะแย่กว่า เรามีความรู้มากมายที่ทำให้งานดีขึ้น อันนั้นสำคัญกว่า นั่นคือของจริง อย่าไปว่าเด็กคนหนึ่งเรียนเก่งหรือไม่เก่ง อยู่ที่การต้องอ่านหนังสือ 5 ชั่วโมง ทุกวัน ต้องเล่นเกมแค่ 1/2 ชั่วโมง เล่นกีฬา 15 นาที พวกนั้นก็คงเป็น format ... สุดท้ายก็คือ เราได้มีการจัดการความรู้หรือเปล่า ?

ท้ายเรื่อง ... ศูนย์อนามัยที่ 6 อยู่ที่จังหวัดขอนแก่นนี่เองค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 35712เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 06:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาช่วยหมอ นนท เขียนปิดท้ายว่า เรากำลังพยายามให้ทุกหน่วยที่มีผลงานทำ KM ได้ดีเขียนเล่าประสบการณ์แล้วจะทำเป็นหนังสือของ กรม อ  สำหรับศูนย์ เขต 6 ผมตั้งชื่อบทไว้ให้ในเบื้องต้นว่า

มีแยะแต่ไม่กล้าเล่า

เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่พวกเราไม่ได้ดู และไม่มีโอกาส ลปรร กับสมาชิกศูนย์เขต 6 ขนาดหมอนนท บอกว่าถ้ามีเวลามานอนที่นี่สักอาทิตย์นึง คงเขียน blog ได้ทุกวัน เพราะมีการทำ KM หลายเรื่องหลายกลุ่มจริงๆ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท