บันทึกความทรงจำประชาชนประเทศไทย


การเมือง การปกครอง กฏหมาย ที่นี้ประเทศไทยผู้นำคือไคร..........วินาที่ชีวิตที่ต้องต่อสู้

ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2553 มีท่านนายกอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เป็นผู้นำประเทศไทย ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง ท่านนายกมีความมุ่งมั้นและมีความพยายามในการแก้ปัญหาให้ชาติบ้านเมืองพ้นวิกฤติแห่งความขัดแย้งอันเกิดจากเหตุปัจจัยหลายๆประการมารวมกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการเลืองตั้งที่ไม่เป็นธรรม และการเอาเปรียบกันและกันของคนในสังคม ความเลื่อมล้ำทางสังคม ช่องว่างระหว่างคนจและคนรวย ตลอดจนปัญหาเศรฐกิจมูลรวมของประเทศชาติซึ่ง ท่านต้องแก้ปัญหาต่างๆบนรากฐานของความขักแย้งคนในชาติ “ข้อเสนอ 5 ข้อในกระบวนการปรองดองคือความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาถึงรากฐานของความขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบันครับ” และ “เรื่องความเหลื่อมล้ำ วันที่ 12-13 พ.ค.นี้รัฐบาลจะเปิดเวทีผ่านคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ รวบรวมข้อเสนอมายังผมครับ".นั้นคือคำพูดของท่านนายกที่มีความพยายามในการแก้ปัญหาให้ประทศชาติกลับมามีความสงบสุขเช่นเดิม

       
         สำนักข่าวเนชั่นรายงานเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ว่า นายธนวัฒน์ วาหะรักษ์ คณะรัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่        
        กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โทรศัพท์เพื่อชี้แจงเรื่องแผนปรองดอง5 ข้อหรือโรปแมปหลังจากที่ตนส่งข้อความสั้น(sms)ต่อว่าและแสดงความไม่เห้นด้วยกับโรปแมปดังกล่าวว่า รู้สึกแปลกใจเหมือนกันที่นายกฯโทรมาเพราะไม่นึกว่าจะโทรมาด้วยตัวเอง โดยท่านได้ชี้แจงกรณีการบังคับใช้กฎหมายว่า ท่านรู้สึกอึดอัดใจ ถูกบีบหลายด้าน แต่ทำอะไรไม่ได้ เพราะผู้ชุมนุมจำนวนมาก หากใช้กำลังปราบปรามก็จะเกิดความสูญเสีย จึงเสนอแนวทางโรดแมป 5 ข้อ ทั้งนี้ ตนยังได้สอบถามนายกฯ กรณีการจาบจ้วงสถาบัน ซึ่งท่านบอกว่ามีมาตรการเด็ดขาดอยู่แล้ว เรื่องนี้กระทบกับจิตใจคนไทยทั้งชาติ ส่วนการนิรโทษกรรมความผิดของนักการเมืองนั้น ท่านบอกว่าต้องดูว่าสังคมยอมรับหรือไม่ หากสังคมคัดค้านท่านก็ไม่เอาด้วย

          นายธนวัฒน์ ยังชี้แจงกรณีส่งข้อความไปว่า เพราะรู้สึกอึดอัดใจ โกรธ

อยากให้ใช้กฎหมายเด็ดขาด อย่าได้แต่พูด ต้องทำด้วย การตัดสินใจแบบนี้ทำให้หมดความศรัทธา แต่หากท่านสามารถจัดการได้เด็ดขาดก็ยังพอมีหวัง ตนเห็นด้วยแนวทางปรองดอง แต่อยากให้ปรองดองในสิ่งที่ถูกต้อง  อย่างไรก็ตามรู้สึกเห็นใจนายกฯที่ถูกกดดันรอบด้าน

          "อยากฝากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ว่าเป็นถึงรองนายกฯด้านความมั่นคง แต่หน่อมแน้มมาก และนายกฯมีอำนาจตัดสินใจเด็ดขาด คนไหนไม่ทำงานก็สั่งย้ายเลย ประชาชนพร้อมขยี้อยู่แล้ว กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย แกนนำที่ทำความผิดต้องจัดการอย่ายื้อ ประชาชนทั้งประเทศรอดูอยู่ว่าจะทำอย่างที่พูดหรือไม่ ไม่เช่นนั้น นานาอารยะประเทศจะเชื่อใจประเทศไทยได้อย่างไรมีกฎหมายแต่ไม่บังคับใช้ ในเมื่อนายกฯก็ถูกกล่าวหาว่ามือเปื้อนเลือด ก็ควรจัดการให้เด็ดขาด" นายธนวัฒน์ กล่าว

เสื้อแดงประกาศร่วมปรองดอง-ยุติชุมนุม 10 พ.ค.ยังแค่แนวคิด
 
 
 

เสื้อแดงประกาศร่วมปรองดอง-ยุติชุมนุม 10 พ.ค.ยังแค่แนวคิด

 เมื่อ 18.10 น. วันที่ 7 พ.ค. ที่บริเวณด้านหลังเวทีราชประสงค์ แกนนำนปช. แถลงท่าทีต่อข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใจความสรุปว่า นปช.พร้อมจะร่วมแนวทางปรองดองกับรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่น ที่จะใช้สันติวิธี ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะใช้เวลานานเท่าไร ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด และมีแนวทางว่าหากร่วมปรองดองกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนไปสู้สันติวิธีไม่มีผู้บาดเจ็บล้มตาย นปช. ไม่ถือว่าเป็นชัยชนะของใคร ไม่ใช่ของเสื้อแดง รัฐบาล แต่เป็นชัยชนะร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศ นปช.ไม่ประสงค์ประกาศชัยชนะบนกองซากศพของประชาชน และตำรวจทหาร

 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. กล่าวว่า  มีการพิจารณาในข้อเสนอที่นายอภิสิทธิ์ เสนอมาพอสมควร ถือว่าการนับหนึ่งของอภิสิทธิ์เริ่มแล้ว เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมเห็นด้วยแล้ว การที่พันธมิตรฯและเสื้อหลากสีออกมาคัดค้าน เป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์และรัฐบาลต้องไปจัดการเอง ไม่เกี่ยวกับคนเสื้อแดง

 การประชุมวันนี้มีความเห็นคล้ายนายอภิสิทธิ์เสนอมา ทุกฝ่ายต้องยุติการนำสถาบันมากล่างอ้างทางการเมืองทุกกรณี และยืนยันไม่ขอนิรโทษกรรมข้อกล่าวหาที่รัฐบาลอ้างมา จะเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตามหลักฐานที่มี ขณะเดียวกัน ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวันที่ 10 เม.ย. และ 28 เม.ย. ต้องเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นทุกกลุ่มฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำงานเลือกตั้ง ทั้งพรรคการเมืองและประชาชนกลุ่มเคลื่อนไหวต้องยอมรับผลการเลือกตั้งที่จะมีมา ไม่จำเป็นต้องทำสัตยาบัน ประเพียงแค่ประกาศจุดยืน จะนำไปหารือกับรัฐบาลต่อไป เบื้องต้นมีมติเท่านี้ ส่วนเรื่องอื่นคงต้องรอการประชุมในนปช.วันที่ 8 พ.ค.


 นายณัฐวุฒิ กล่าวถึงกรณีหยุดการชุมนุมในวันที่ 10 พ.ค.ว่า เป็นเพียงแนวคิดของนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำคนหนึ่งเท่านั้น แต่ที่ประชุมยังไม่มีมติว่าจะเลิกชุมนุมเมื่อใด


 ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวว่า จะไม่ยุติการชุมนุมต่อเมื่อประชาชนปลอดภัย ไม่มีการคุกคามจากทหาร ไม่มีการส่งเอสเอ็มเอส รบกวน ทหารต้องกลับกรมกอง ไม่ใช่นั้นต้องสู้กันต่อไป หากรัฐบาลอ้างว่าปรองดองแล้วต้องเหนือกว่า ไม่เท่าเทียมกัน เสมอภาค ไม่ต้องปรองดองกัน และไม่ขอนิรโทษกรรมข้อหาผู้ก่อการร้าย ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมในกรณีฆ่าประชาชนด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องสัตยาบัน พรรคการเมืองทั้งหมด และกลุ่มการเมืองต้องประกาศต่อสาธารณะว่า ต้องยอมรับมติของประชาชนหลังจากเลือกตั้ง

 สำหรับข้อเสนอของนายขวัญชัย ที่จะยุติการชุมนุมวันที่ 10 พ.ค. นั้น เนื่องจากเห็นด้วยวันดังกล่าวเป็นวันครบรอบ 1 เดือน เหตุการณ์ 10 เม.ย. ที่จะมีการทำบุญให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุรุนแรงที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังเสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

 

 

หมายเลขบันทึก: 356974เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านแล้วมีความคิดหลากหลายในใจ แต่ไม่อยากจะพูดอะไรอีก อยากเห็นอย่างเดียวคือประเทศไทยคืนสู่ความสันติสุขโดยเร็ว

ยังไม่มีอะไรแน่นอน ทำท่าจะเหมือนอจินไตย

สวัสดีครับ พี่Pปริมปราง และน้องPจรรย์

การรับรู้ข่าวสารทุกอย่างเราต้องวิเคราะห์ จะไปเชื่อเสียเลยมิได้แล้วครับ เพราะความจริงใจเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาให้ชาติได้ คนไทยก็ต้องช่วยกันต่อไป

เราเป็นคนหนึ่งที่ทำเพื่อในหลวงก็คงจะพอ..

ขอบคุณนะครับพี่เดชา

ขอบคุณP ราชิต  สุพร

เราทำดีเพื่อในหลวงก็เท่ากับเรารักชาติแล้วครับ

ขอบคุณมากที่แวะมาบันทึกความทรงจำ

นายกฯชี้"เสธ.แดง"แสดงตัวชัดไม่เอาแผนปรองดอง จี้แดงมีคำตอบชัดเจนวันนี้พรุ่งนี้ รอ15พ.ค.ช้าเกินไป นายกฯชี้"เสธ.แดง"แสดงตัวชัดไม่เอาแผนปรองดอง ซัดผู้ก่อการร้ายกลัวถูกโดดเดี่ยว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่า เมื่อคืนวันที่ 7 พ.ค. เกิดเหตุยิงเจ้าหน้าที่ ทำให้หลายคนพูดว่าคือความล้มเหลวของแผนสร้างความปรองดอง(โรดแมป) 5 ข้อ ดังนั้นต้องยกเลิก แต่ตนเชื่อว่าพวกเราทุกคนต่างรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "ผู้ที่ไม่สนับสนุนแผนปรองดอง ชัดเจนว่ากลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้ก่อการร้้าย เพราะเขารู้ว่าหากการชุมนุมยุติลง และเข้าสู่การปรองดอง กลุ่มเขาจะถูกโดดเดี่ยว ไม่สามารถเอามวลชนมาเป็นโล่มนุษย์ได้ ทำให้กลุ่มนี้พยายามสร้างความรุนแรง เพื่อล้มแผนปรองดอง" นายกฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า คนที่แสดงตัวชัดเจนนั้น ตนระบุเลยก็ได้ คือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก มีความพยายามไม่ให้การชุมนุมยุติ โดยเสธ.แดงได้พูดชัดเจน และมีความพยายามประสานกับแกนนำภูมิภาค ดังนั้นอย่าลังเลเลย อย่าคิดถึงประโยชน์ส่วนตัวเลย ถ้าอยากเข้าูสู่กระบวนการปรองดอง ใหุ้ยุติกาุรชุมนุม เพราะที่ผ่านมาบ้านเมืองเสียหายมามากแล้ว ที่แกนนำพูดขอตัดสินใจก่อนวันที่ 15 พ.ค. นั้นช้าเกินไป เพราะทุกวันประชาชนต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต และความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนกำลังจะเปิดเทอม ถ้ามีความเสี่ยงอยู่ พ่อแม่คงเป็นทุกข์มาก "ถ้าจริงใจ อยากร่วมแผนปรองดอง อย่ารอช้า ถ้้าช้าไป รัฐบาลเองก็ไม่สามารถตอบคำถามกับสังคมได้ วันนี้พรุ่งนี้ควรมีคำตอบชัดเจน" นายกฯ กล่าว

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท