แม้กายป่วย…......แต่ใจไม่ป่วย


“แม้กายป่วย แต่ใจไม่ป่วยตาม”

 แม้กายป่วย…......แต่ใจไม่ป่วย

จาหนังสือ สุขภาพจิต โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

ผู้แต่ง  อำนวย  วศินอมร

            ชีวิตคนเรานั้น  มีส่วนสำคัญคือกายกับใจรวมกันเข้าเป็นตัวเรา ถ้าร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพที่ปกติ  ชีวิตจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีความสุข แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่ร่างกายของเราจะไม่เจ็บป่วย ไม่ทรุดโทรม เพราะลักษณะของสังขารคือสิ่งที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างมารวมกัน ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไป มาประชุมกันซึ่งธาตุแต่ละอย่างก็เปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงแท้แน่นอน และเป็นธรรมดาที่ร่างกายของเราต้องแปรเปลี่ยน หรือป่วยไข้ ไม่สบายไปตามเหตุและปัจจัยที่เกื้อหนุนทั้งจากภายในตัวเราและภายนอกตัวเราด้วย

            เมื่อกายป่วยจิตใจก็พลอยไม่สบาย  หงุดหงิด ทุกข์กังวลใจไปต่างๆ  นานา เครียดทำให้ร่างกายที่เจ็บป่วยนิ่งอ่อนแอลง  ภูมิต้านทานของร่างกายแย่ลง พระองค์เคยพบคนที่ร่างการเจ็บป่วย และตรัสสอนว่า ให้ทำในใจ คือตั้งใจไว้ว่าแม้ร่างกาเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยตามการตั้งใจอย่างนี้เรียกว่าการภวนาโดยเอาสติผูกใจไว้ไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของความแปรเปลี่ยนทางร่างกาย เมื่อใจมีสติตลอดเวลาก็เท่ากับมีพลังอำนาจเหนือความเจ็บป่วยนั้นได้

            การผูกใจด้วยสติ ก็คือเอาจิตของเราไปผูกไว้กับสิ่งที่ดีงามผูกยึดไว้ด้วยหลักธรรม ด้วยธรรมชาติของจิตชอบปรับปรุงแต่ง เมื่อกายไม่สบายจิตก็ปรุงแต่งตามความไม่สบายนั้น ทำให้ยิ่งเพิ่มอาการเจ็บป่วยมากขึ้น ฉะนั้นเราจะต้องรักษารากฐานของชีวิตไว้ด้วยการรักษาจิตใจให้เข้มแข็งมีสตินั้นเอง ส่วนการรักษาโรคทางกายก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ ซึ่งเราต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด

            การรักษาจิตขณะกายป่วยนั้น คือการรักษาสติ เพราะสติเปรียบเหมือนเชือกผูกมัดจิตให้อยู่นิ่งกับที่ได้ ธรรมชาติของจิตมันดิ้นรน ชอบปรุงแต่ง คิดฟุ้งซ่านวุ่นวายไปกับอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบจิตอยู่ตลอดเวลาจิตที่เปรียบเหมือนลิงซึ่งมักไม่อยู่นิ่งต้องกระโดดไปมาอยู่ไม่สุข พระพุทธองค์ทรงสอนว่าการจักลิง(จิต)ให้อยู่นิ่งต้องเอาเชือก(สติ) ผูกยึดไว้กับหลักที่ดี คือ หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสไว้ถูกต้องดีแล้วสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

            การรักษาจิตด้วยสติ  ก็คือเอาสติผูกไว้กับอารมณ์ที่ดีงามอยู่กับความเห็นถูก หรือการผูกจิตไว้กับคำว่า “พุทโธ” คำพุทโธเป็นคำที่ดีงามเพราะเป็นนามของพระพุทธเจ้า เมื่อเอามาเป็นสิ่งให้ใจยึดเหนี่ยวแล้วจิตใจก็จะไม่ฟุ้งซ่านวิตกกังวล จิตใจจะผ่องใน เบิกบานเพราะพระนามของพระพุทธเจ้าเป็นนามบริสุทธิ์ เป็นพระนามที่แสดงถึงปัญญา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นการภาวนาเพื่อส่งเสริมให้กำลังใจตนเอง ทำจิตใจของเราให้เข้มแข็งอดทน อยู่อย่างมีสติและแน่วแน่ อยู่กับคำว่า “แม้กายป่วย แต่ใจไม่ป่วยตาม” การภาวนาเช่นนี้จะทำให้จิตใจดีขึ้น มีปกติผ่องใสขึ้น การชนะใจตนเอง เอาชนะความเจ็บป่วยได้อยู่กับความจริงได้อย่างเป็นธรรมดา

นางสาวฉันทิดา  ชูแสง

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 356952เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท