EQ ดี อารมณ์ดี ชีวีสดใส


“วัฒนธรรมองค์กร”

เรื่อง  EQ ดี    อารมณ์ดี  ชีวีสดใส

จากหนังสือ   EQ ดี    อารมณ์ดี  ชีวีสดใส   ผู้แต่ง  ณรงค์วิทย์  แสนทอง

ผู้ย่อความ      นางอำพร  แซ่ซั่ว


      อารมณ์ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป ยิ่งรู้เท่าและตามทันธรรมชาติของมันมากเท่าไร โอกาสที่จะจัดการและควบคุมมันให้นิ่ง ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น การหลีกเลี่ยงการเกิดอารมณ์ ถือเป็นเรื่องยาก แต่การควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ เป็นเรื่องทำได้ไม่ยาก

      การฝึกควบคุมอารมณ์ไมใช่เรื่องยากก็จริง  แต่กว่าจะเปลี่ยนสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในตัวเราได้นั้น  จำเป็นต้องใช้เวลานานพอสมควร  เพราะกว่ามันจะหยั่งรากลึกลงโดยเปลี่ยนจากพฤติกรรมจนกลายเป็นนิสัยนั้น มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงวันหรือสองวันเท่านั้น  แต่มันเกิดจากการสะสมมานานแรมปี  เหมือนกับร่องน้ำที่กลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่  ดังนั้นการที่เราจะคิดปรับเปลี่ยนภายใน

ชั่วพริบตา  คงจะทำไม่ได้ เมื่อมันต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและเปลี่ยนแปลงให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นนั้น ควรจะเริ่มต้นจากหลัก 4 ประการ

      1. เริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ  แล้วค่อยไปสู่เรื่องใหญ่  ๆ  จะช่วยทำให้เรามีกำลังใจในการฝึกเรื่องที่ใหญ่ขึ้น  ถ้าเรายังไม่เคยฝึกควบคุมอารมณ์ในเรื่องเล็ก  ๆ มาก่อน ก็เป็นการยากที่จะสามารถควบคุมในเรื่องใหญ่ ๆ ได้

      2. เริ่มจากบุคคลไกลตัวเข้ามาสู่คนใกล้ตัว   เนื่องจากเราได้ตั้งค่าระดับความอดกลั้นทาง

อารมณ์ ไว้กับคนใกล้ตัวน้อย  มีอะไรจากคนใกล้ตัวเข้ามากระทบนิดเดียว  อารมณ์ของเราก็ขาดทันที

      3. เริ่มจากเรื่องส่วนรวมเข้ามาหาเรื่องส่วนตัว  อะไรก็ตามที่เป็นเรื่องส่วนรวม  คนเรามักจะควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าสิ่งที่เข้ามากระทบกับเรื่องส่วนตัว

      4. เริ่มจากเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย  ๆ ไปสู่เรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อย  เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย  ๆ มักจะไม่ใช่เรื่องร้ายแรง

      บุคคลใดก็ตามที่มีความฉลาดทางสติปัญญา  สูงกว่าคนอื่น มักจะมีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานมากกว่า  เมื่อเข้าไปทำงานแล้ว มักจะได้รับการเลื่อนระดับและปรับตำแหน่งมากกว่า  การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ไม่เพียงจะส่งเสริมให้เติบโตในหน้าที่การงานเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิตของเราในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิตครอบครัว การดำรงอยู่ในสังคมที่มีแนวโน้มที่มีเชื้อเพลิงทางอารมณ์มากขึ้นทุกวัน

      การควบคุมอารมณ์ของบุคคลจะได้ผลหรือไม่ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือสภาพแวดล้อมในการทำงาน  หรือที่เรียกว่า “วัฒนธรรมองค์กร”  ถ้าตราบใดที่ในองค์กรยังมีเชื้อเพลิงทางอารมณ์อยู่มาก โอกาสที่แต่ละบุคคลจะควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ก็มีน้อยลง

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 356950เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอโทษนะคะ คือเนื้อหาที่นำมาตรงนี้ อยู่ที่หน้าไหนของหนังสือเหรอคะ

ตั้งใจจะนำไปใช้อ้างอิงค่ะ :))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท