ธรรมนูญมนุษย์


ธรรมนูญมนุษย์จึงเปรียบเสมือนข้อบัญญัติแห่งมนุษย์

ธรรมนูญมนุษย์

จากหนังสือ    ธรรมนูญมนุษย์ ผู้แต่ง  ดร.ประสิทธิ์  เครือสิงห์

      ธรรมนูญมนุษย์เป็นข้อคิดเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี หลายครั้งที่คนเรามองข้ามสิ่งที่ตนเองพึงกระทำละเลยต่อคุณงามความดีอันเป็นวิถีสู่ความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ การกระทำหลายอย่างที่คนไม่น่ากระทำไม่ว่าการ  เข่นฆ่าซึ่งกันและกัน การฉ้อโกง  สิ่งเหล่านี้นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวันในสังคมมนุษย์

      จากการอ่านหนังสือธรรมนูญมนุษย์ผู้อ่านได้หยิบยกมาเล่าสู่กันฟังเป็นธรรมนูญชีวิตในบางบทบางตอนที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ ตัวอย่างกลองดังเสียงไกล คนไม่ตีดังเองเขาถือเป็นกลอง ”จัญไร” คนที่ยกย่องตนเองแต่ไม่มีความดีเหมือนกลองดังที่ไม่มีคนตีฉันนั้น ความรู้ ความฉลาด มีครูพอสอนกันได้แต่ความองอาจสามารถไม่มีครูที่จะสอนเพราะเป็นคุณเกิดเฉพาะตัวของผู้นั้น ๆ ทำตนให้ผู้อื่นเคารพรักใคร่ ไว้เนื้อเชื่อใจ หรือคุ้มครองปกป้องตนให้พ้นจากการปองร้าย ของผู้อื่น เท่านี้ก็เป็น “ผู้ยอดเยี่ยม” ขุนเขาที่สูงตระหง่านยืนทะมึนเย้ยฟ้าท้าดิน ย่อมมีวันพังทลายแต่มหาสมุทร ที่อยู่ต่ำกลับเป็นที่รวมของน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลและลึกล้น การบ่น การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ การทะเลาะเบาะแว้ง ล้วนมีเหตุจากการมองโลกในแง่ร้าย ความเงียบ ความนิ่ง ความวางเฉย ความยินดี ความพอใจ ความสงบสุข ล้วนเป็นผลมาจากการมองโลกในแง่ดี อุบายที่ดีที่สุดที่จะไม่ทำให้เกิดความโศกเศร้า เสียใจ คือคิดเสียว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว คนดีตรากฎหมายขึ้นเป็นกฎหมายที่ดี แต่กฎหมายที่ดีมิได้เป็นหลักประกันว่า จะทำให้สังคมดีขึ้น คนฉลาดมาก คนฉลาดปานกลาง คนฉลาดน้อย ดูจากว่าเขาสร้างโอกาส หาโอกาส หรือรอโอกาสตามลำดับ ปลาออกลูกคราวละเป็นร้อยเป็นพันตัวลูกแต่ละตัวหรือลูกทุกตัวรวมกันก็ไม่เคยยิ่งใหญ่เป็นเจ้าแห่งห้วงน้ำ แต่สิงโตออกลูกคราวละตัว ซึ่งเมื่อโตขึ้นล้วนแต่ได้เป็นราชาแห่งสัตว์ เหล็กตัดขาดเพราะมันแข็ง น้ำตัดไม่ขาดเพราะมันอ่อน ฉันใดความสัมพันธ์ที่แข็งกร้าวต่อกันมักขาดสะบั้น ความสัมพันธ์ที่อ่อนโยนต่อกันมักแนบแน่นฉันนั้น เงินเหมือนน้ำ คือ มักไหลไปหาพวกของมันแต่ทิศทางการไหลต่างกันคือ เงินไหลจากต่ำไปหาสู’ง น้ำไหลจากสูงไปหาต่ำ

      จากธรรมนูญมนุษย์ข้างต้นเหตุทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้  กล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเพราะมนุษย์เราหย่อนยานต่อกฎระเบียบของความเป็นมนุษย์ที่อยู่กันเป็นระบบสังคม  หากเรามีกฎแห่งความดีงามสักอย่างประจำใจแล้ว เราย่อมไม่ปล่อยให้ความชั่วร้ายทั้งหลายมาครอบงำจิตใจ  จนก่อเหตุร้ายต่าง ๆ จนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  ธรรมนูญมนุษย์จึงเปรียบเสมือนข้อบัญญัติแห่งมนุษย์ เพื่อการอยู่ร่วมในสังคมอย่างสันติสุขเพื่อก้าวสู่เส้นทางแห่งความ  ดีงามและความสำเร็จในการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น

  สุภานี  สุวรรณรุ่งเรือง


 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 356906เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท