เกณฑ์ในการให้ผลของกรรม


แม้ว่ากรรมทุกอย่างจะมีช่วงเวลาในการให้ผลช้าเร็วแตกต่างกันออกไป แต่กรรมทุกอย่างก็ให้ผลอย่างแน่นอน

   เกณฑ์ในการให้ผลของกรรม

จากหนังสือ     ธรรมะศักดิ์สิทธิ์           ผู้แต่ง       ว.วชิรเมธี

    

              กรรมก็คือ  การกระทำที่เกิดจากความตั้งใจ  หรือการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา  แต่ถ้ากล่าวให้ตรงยิ่งกว่านั้น  เจตนาในการทำกรรมนั้นเองจัดเป็น “กรรม”  เนื่องเพราะ “เจตนา”หรือ“ใจ” เป็นผู้ชักใยให้กาย  วาจา  แสดงออกตามที่ใจต้องการอีกทีหนึ่ง

              การให้ผลของกรรมแต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกัน  กรรมบางอย่างให้ผลทันทีที่กระทำ  เหมือนคนเอามือจุ่มลงในน้ำร้อนหรือเอานิ้วจี้ที่เปลวไฟก็จะรู้สึกร้อนทันที  แต่กรรมบางอย่างก็ให้ผลช้า ๆ  เหมือนคนปลูกต้นไม้ใหญ่อย่างไม้สัก  กว่าจะโตเต็มที่พอจะตัดไปขายก็กินระยะเวลายาวนานกว่าสิบปี  และกรรม 
บางอย่างก็ให้ผล ชนิดเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ไม่ช้าเกินไป  ไม่เร็วเกินไป  เหมือนชาวไร่ใส่ปุ๋ยที่ต้นไม้  ต้นไม้จะไม่เติบโตงอกงามวูบวาบในทันที  แต่จะค่อย ๆ เติบโตงอกงามไปตามเหตุปัจจัยของมัน  คัมภีร์วิสุทธิมรรค 
จัดลำดับการให้ผลของกฎแห่งกรรมไว้ตามความแรงหรือความเข้มข้นของกรรมที่ทำดังต่อไปนี้

  1. ครุกรรม หรือ กรรมหนัก  เมื่อทำแล้วจำให้ผลก่อนกรรมอื่นทุกชนิด  ครุกรรมนี้ในฝ่ายดีหมายถึง

สมาบัติ ๘  ในฝ่ายเลว  สมาบัตินั้นเป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาขั้นลึกซึ้ง  เมื่อปฏิบัติถูกทางแล้วก็จะเห็นผลของการปฏิบัติทันตา  เช่น  มีความร่าเริง  เบิกบาน อิ่มใจ  สงบ สุข มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง หรือสะอาด สว่าง สงบ เป็นสุข เป็นกลาง  ส่วนอนันตริยกรรม

  1. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมที่ทำอยู่อย่างเสมอจนเคยชินหากไม่มีครุกรรม อาจิณณกรรมนี้

ก็จะให้ผลก่อนกรรมอื่นทุกประเภท  อาจิณณกรรมคือ การกระทำทุกอย่างที่เราทำอยู่เสมอ ๆ ในแต่ละวัน 
นั่นเอง เช่น คนที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นอาชีพ การฆ่าสัตว์ก็เป็นอาจิณณกรรมของเขา คนที่ปากพล่อยเป็นชีวิต 
จิตใจก็เป็นอาจิณณกรรมของเขา คนที่ทำบุญตักบาตรทุกเช้า การทำบุญตักบาตรก็เป็นอาจิณณกรรมของเขา ตกลงว่าเราทำสิ่งใดก็ตามจนกลายเป็นอาจิณณกรรมของเขา ตกลงว่าเราทำสิ่งใดก็ตามจนกลายเป็นความ 
เคยชินส่วนใหญ่ในชีวิตของเรา ผลของกรรมเช่นนี้จะให้ผลก่อน

  1. อาสันนกรรม หรือ กรรมใกล้ตาย ก่อนตายทำกรรมสิ่งใดไว้จิตก็จะผูกพันกับกรรมนั้น เช่น ระลึกถึง

การทำบุญสุนทาน  ผลของการทำบุญก็จะให้ผลก่อน แต่หากก่อนตายระลึกถึงความเลวที่ตนเคยทำ ผลของกรรมชั่วที่เคยทำก็จะให้ผลก่อน

  1. กตัตตากรรม หรือ กรรมสักแต่ว่าทำ หมายถึง การกระทำที่เกิดขึ้นจากเจตนาที่อ่อน ไม่ตั้งใจทำเต็มที่

ทำสักแต่ว่าพอให้เสร็จ ๆ ไปเท่านั้น เช่น เพื่อนนำซองมาแจก จึงควักเงินร่วมทำบุญอย่างเสียไม่ได้  หรือทำร้ายคนอื่นเพราะจำเป็นต้องป้องกันตนเอง

                  แม้ว่ากรรมทุกอย่างจะมีช่วงเวลาในการให้ผลช้าเร็วแตกต่างกันออกไป  แต่กรรมทุกอย่าง

ก็ให้ผลอย่างแน่นอน  หากพูดให้เป็นภาษาวิทยาศาสตร์หน่อยก็บอกว่า  “ทุก ๆ กิริยาจำต้องมีปฏิกิริยาตามมาเสมอ 

อาจารย์พรทิพย์    วารีกุล               

หัวหน้าแผนกทะเบียนและประมวลผล 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 356862เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท