107 ปีแห่งรัก หมะเมียะ - เจ้าศุขเกษม


รักต่างเชื้อชาติ รักอมตะที่ควรจดจำ

                      107 ปีแห่งรัก หมะเมียะ – เจ้าศุขเกษม

                                  พ.ศ. 2446 – 2553

                          ตำนานแห่งรักอันอมตะของล้านนา

                                         ......................

                                             

            ตำนานรักเมื่อ 107 ปีที่ผ่านมา ยังอยู่ในความทรงจำของชาวเหนือมิรู้ลืม เป็นความรักที่อมตะ ระคนขมขื่นโศกเศร้าอาดูร ขับขานก้องกังวานผ่านบทเพลง “หมะเมียะ” ของศิลปินล้านนา จรัล มโนเพชร "....หมะเมียะเป๋นสาวแม่ก๊า..จาวพม่าเมืองเมาะละ  แหม่ง...งามล้ำเหมือนเดือนส่องแสง..คนมาแย่งหลงฮักสาว....หมะเมียะบ่เกยฮักไผ มอบใจ๋ฮื่อหนุ่มเจื้อเจ้า เป๋นลูกอุปราชท้าว...เจียงใหม่......

            เจ้าศุขเกษมเป็นบุตรชายคนโตของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าราชวงศ์ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในสายที่จะได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ต่อไปภายหน้า

            ในเวลานั้น เชียงใหม่และเมืองอื่นๆในล้านนา มีระบบการปกครองของเจ้าผู้ครองนคร แต่เมืองต่างๆในล้านนามิใช่รัฐอิสระหากเป็นประเทศราชของสยาม สยามส่งขุนนางขึ้นไปควบคุมโดยตรงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2416 และค่อยๆทำลายอำนาจของเจ้านายท้องถิ่นเป็นขั้นๆ จนเมื่อมั่นใจว่า ล้านนาสิ้นแรงต่อต้านแล้วจึงยกเลิกฐานะประเทศราชของล้านนาและได้ผนวกดินแดนล้านนาเป็นส่วนหนึ่งของสยามในปีพ.ศ. 2442

            ส่วนหญิงสาววัย 16 ปีชื่อหมะเมียะ (คนท้องถิ่นออกเสียง “เมียะ” พยางค์เดียว) เป็นคนเมืองเมาะละแหม่ง (เมืองท่าสำคัญของพม่า) เธอเป็นแม่ค้าขายบุหรี่ในตลาดกลางเมือง ทั้งสองพบกันและรักกันที่เมืองเมาะละแหม่ง ฝ่ายชายถูกส่งไปเรียนหนังสือที่นั่นเมื่ออายุ 15 ปี ซึ่งตรงกับพ.ศ. 2441 จากนั้นราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ทั้งสองก็หอบหิ้วกันมายังบ้านเกิดของฝ่ายชาย แต่เนื่องจากฝ่ายชายไม่ได้แจ้งเรื่องรักให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ และยังไม่ได้รับอนุญาตให้รักกันและครองรักกัน สาวน้อยจึงต้องปลอมตัวเป็นชายร่วมทางมาด้วย

            เมื่อความล่วงรู้ไปทั่วคุ้มว่าเจ้าน้อยศุขเกษมมีเมียเป็นชาวพม่า และพากลับมาโดยไม่ได้รับอนุญาต ความขัดแย้งทางความคิด ความไม่พอใจจึงเกิดขึ้น ทั้งในหมู่เจ้านายล้านนาและขุนนางชาวสยามที่ได้แผ่อำนาจและบารมีเหนือสองฝั่งน้ำแม่ปิง

            ปราณี ศิริธร ได้เขียนถึงโศกนาฏกรรมของหนุ่มสาวคู่นี้ในหนังสือ “เพ็ชรลานนา” เล่ม 2 หน้า 228-229 ไว้ว่า

            “แล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่ถูกพลัดพรากจากกันจนชั่วชีวิต มันเป็นเช้าของเดือนเมษายน พ.ศ. 2446 เจ้านายข้าราชการและประชาชนรวมทั้งชาวพม่า มอญ เงี้ยว ต่องสู้ ที่ทราบข่าวการตัดสินใจเดินทางกลับเมาะละแหม่งของหมะเมียะยอดหญิงของทายาทเจ้าอุปราชผู้ยอมหลีกทางให้เพราะแรงกดดันทางการเมืองและเพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพรและอนาคตของสามีอย่างน่าสรรเสริญต่างก็จับกลุ่มเดินมุ่งสู่ประตูหายยา ซึ่ง ณ ที่นั่นขบวนช้างอันเป็นพาหนะและคนติดตามควบคุมขบวนและเสบียงกรังได้ไปรอคอยอยู่ เสียงสนทนาพาทีของประชาชนเซ็งแซ่ล้วนแต่สงสารเอ็นดูสาวน้อยวัย 16 ปี ผู้มีกรรมจำพราก ท้าวบุญสูงผู้มีหน้าที่ไปรับตอนเดินทางมาแต่แรกต้องรับภาระนี้อีก ควบคุมลูกหาบประมาณ 20 คน รวมทั้งช้าง 3 เชือก ทุกคนรอการมาถึงของหมะเมียะด้วยความกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจ ต่างใคร่เห็นรูปโฉมโนมพรรณของสาวพม่าที่ร่ำลือกันว่างามแสนงาม

            สักครู่ใหญ่ รถม้าของคุ้มอุปราชก็ค่อยๆชะลอมาหยุดกึกลงหมะเมียะในชุดแต่งกายพม่า มีผ้าคลุมผมก้าวลงจากรถก่อน ตามติดด้วยเจ้าน้อยศุขเกษม ทั้งคู่มีหน้าตาหมองคล้ำ ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะปิดบังหรือละอายใจ ถึงแม้ประชาชนจะห้อมล้อมมุงดูอยู่รอบด้านมืดฟ้ามัวดิน

            เจ้าน้อยศุขเกษมเองก็พลอยสะอื้นตื้นตันใจ คร่ำครวญสุดแสนอาดูรจนท้าวบุญสูงมาเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าถึงเวลาจะเคลื่อนขบวนเดินทาง นั่นแหละทั้งสองจึงยอมแยกจากการโอบกอดกัน

            แม้จะขึ้นไปบนกูบช้างแล้วก็ตาม หมะเมียะก็ขอลงมาหาเจ้าน้อยศุขเกษมอีกจนได้ เธอคุกเข่าลงกับพื้นก้มหน้าสยายผมออกเช็ดเท้าสามีด้วยความรักอาลัย เรียกน้ำตาของเจ้าน้อยศุขเกษมให้ไหลลงนองอาบสองแก้ม แล้วก็โผเข้ากอดรัดกันอีก

            เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงซึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาประชาชนทั้งชายหญิง ทำให้ผู้ที่มีจิตใจไม่เข้มแข็งกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เหมือนกัน ท้าวบุญสูงต้องอึดอัดใจอย่างยิ่ง เพราะไหนจะต้องปลอบใจหมะเมียะกลับขึ้นไปบนหลังช้าง ไหนหมะเมียะจะดึงดันกลับลงมาอีกเป็นหนที่สองวิ่งเข้าสู่อ้อมกอดเจ้าน้อยศุขเกษมอีก กว่าขบวนจะออกเดินทางได้ก็เลยกำหนดเวลาไปนานอีกโข

            เจ้าน้อยศุขเกษมยืนเหม่อมองดูจุดเล็กๆที่ขยับเขยื้อนได้ โดยมีหมะเมียะเหลียวมองด้านหลังจากบนหลังช้างนั้นตลอดเวลาจนลับจากสายตา จึงกลับสู่คุ้ม

            ประชาชนชาวเชียงใหม่ ไม่มีโอกาสได้ประสบพบเห็นความรักต่างแดนอันลงเอยด้วยความโศกสลดรันทดใจมาก่อน และไม่มีโอกาสจะพบเห็นอีกแล้วในประวัติศาสตร์ของเวียงพิงค์...”

            ชีวิตรักอันรันทดของเจ้าน้อยศุขเกษม และหมะเมียะจบลงแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2446 อันเป็นปีที่ทั้งสองเดินทางกลับถึงเชียงใหม่และถูกพรากจากกันไม่นานหลังจากนั้น ทั้งสองถูกแยกจากกันและไม่ได้พบกันอีก สำหรับหมะเมียะเป็นความทุกข์โทมนัสจนต้องเข้าหาธรรมะเพื่อดับทุกข์ ยอมรับและเข้าใจความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และรับรู้ว่าจิตของคนเราควรจะเป็นอย่างไร ในสภาพภายนอกที่เราไม่อาจควบคุมได้ทั้งหมด นั่นก็คือการทำจิตใจและเข้าใจต่อชีวิต ต่อคนรัก ต่อโลกรอบๆของหญิงสาวคนหนึ่ง ที่มีอายุ 16-17 ปี ขณะจะบวชเป็นชี และบวชตราบจนสิ้นลมใน 58 ปีให้หลัง

            เมื่อปี พงศ. 2446 หรือ 107 ปีที่แล้ว ทั้งสองถูกแยกจากกันและไม่ได้พบกันอีก แม้หมะเมียะจะได้บวชชี หลังจากทราบข่าวว่าเจ้าน้อยแต่งงานกับเจ้าหญิงบัวชุม และต่อมาเธอได้เดินทางไปยังเมืองเชียงใหม่เพื่อร่ำลาเจ้าน้อย เจ้าน้อยศุขเกษมน่าจะรู้สึกผิดและเจ็บปวดอย่างที่สุด จึงไม่อาจทำใจออกมาพบหญิงคนรักได้ ได้แต่ฝากของที่ระลึกให้เป็นเงิน 800 บาทและแหวนอีก 1 วง

            อีก 10 กว่าปีให้หลังเจ้าน้อยศุขเกษมก็ได้เสียชีวิตด้วยพิษสุราเมื่ออายุได้ 33 ปี หลังจากตรอมตรมอย่างหนักจากการพลัดพรากผู้เป็นที่รัก และหมะเมียะก็สิ้นชีวิตอีก 59 ปีให้หลังเมื่ออายุได้ 75 ปี สำหรับเจ้าน้อยศุขเกษมแล้วชีวิตของเขาจบสิ้นแล้วตั้งแต่ปีนั้น ปีที่เขาถูกการเมืองเข้าทำลายความรัก และเขาได้ละเมิดคำสัญญาที่เขามีไว้กับหญิงสาวที่เขารัก ทั้งหมดเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเราทั้งหลายที่เมืองเมาะละแหม่ง ผ่านแม่สะเรียง ฮอด จอมทอง สันป่าตอง หางดงและตัวเมืองเชียงใหม่

            อัฐของคนทั้งสอง ลูกหลานสกุล ณ เชียงใหม่ ได้นำมาไว้ในกู่ของราชสกุล ณ เชียงใหม่ที่วัดสวนดอก เพื่อสานฝันให้เธอได้กลับมาอยู่ใกล้คนรักและให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ถึงความรักอันอมตะที่ยิ่งใหญ่ของคนทั้งสองตลอดไป

           ในโอกาส 107 ปี ของตำนานรักอันอมตะนี้ คนล้านนา สยาม และพม่า คงได้พิสูจน์บทเรียนแล้วว่า ความรักนั้นยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใด ไม่มีกำแพงแห่งเชื้อชาติ ภาษา ประเพณี หรือการเมืองใดจะขวางกั้น และแม้วันเวลาจะผ่านไป 1 ศตวรรษแล้ว ความรักนั้นไม่เพียงแต่ยังคงทรงพลังเช่นนั้น แต่ดูเหมือนจะเปี่ยมพลังยิ่งขึ้น และสร้างความมหัศจรรย์ใจยิ่งกว่าเดิม

           อาจารย์เก            

                                              .....................

 

อ้างอิง  

             ธเนศวร์   เจริญเมือง, 100 ปีแห่งรักหมะเมียะ-เจ้าศุขเกษม (พ.ศ.2446-2546)                        สถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2546 เชียงใหม่: หจก.เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์

           

           

หมายเลขบันทึก: 356442เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ท่าน ศน.เก ครับ

ผมสนใจ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ที่เเม่ฮ่องสอน ไม่ทราบว่าผมจะต้องไปหาข้อมูลเหล่านี้ที่ไหนครับผม?

เรียน ท่านอาจารย์ เก

ผมสนใจและชอบเรื่องของ หมะเมียะ มากๆ เป็นการให้ความสำคัญและเพิ่มคุณค่าในเรื่องของความรัก ซึ่งคนในปัจจุบันมีน้อยมากหรือแทบจะไม่มี เรื่องนี้สอนใจคนได้มาก หลายมิติ ปัญหาความแตกต่างทางสังคมและชนชั้น ความซื่อสัตย์ต่อความรัก มนุษย์นั้นหากรักคนอื่นมากกว่าตนเอง สังคมก็คงจะมีแต่สันติสุข แต่สังคมปัจจุบัน คนส่วนมาก รักตัวเองมากกว่ารักคนอื่น ถ้ารู้จักที่จะให้ ถ้ารู้จักที่จะรัก ถ้ารู้ที่จะเสียสละ ก็จะได้รับความรักที่แท้จริง

ด้วยความปรารถนาดีจาก นายรักษ์ ปริกทอง ชมรมคลังปัญญา สวัสดีครับท่านอาจารย์

คุณจตุพร

ไปขอข้อมูลที่สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ ทำกันหลายระยะกว่าจะเสร็จ ผมได้ไปทำหน้าที่แทนผอ.เขต ครั้งหนึ่ง หรือลองเข้าwebของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอาจจะมีในนั้น

อาจารย์เก

คุณรักษ์ครับ

ผมสนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า ผมนำเรื่องหมะเมียะเล่าเป็น "เรื่องเล่าเร้าพลัง"ให้กับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน ในการสอนประวัติศาสตร์เมืองยวมใต้ (เมืองแม่สะเรียง)เมืองหน้าด่านที่สำคัญของล้านนา ปรากฏว่านักศึกษาชอบมาก เรื่องนี้สอนคนรุ่นหลังในหลายแง่มุม แง่มุมที่สำคัญคือ การเมืองทำลายความรัก ไม่ว่ายุคไหนๆ การเมืองทำลายความรักความสามัคคี คุณรักษ์ว่าจริงไหมครับ

อาจารย์เก

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายในวันหยุดนักขัตฤกษ์  สบายดีนะค่ะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพสายน้ำเย็น ๆ มาฝากกันค่ะ         

                                                                              

คุณบุษราครับ

ขอบคุณที่นำภาพสวยๆมาฝาก บางครั้งเครียดกับงาน บางครั้งเหงาๆ บางครั้งว้าวุ่นใจ บางครั้งตัดสินใจไม่ได้ นอนแช่น้ำเย็นๆดูเหมือนทุกอย่างดีขึ้น เป็นวิธีจัดการกับชีวิตตนเองที่ค้นพบ ยิ่งอายุมากดูเหมือนโลกยิ่งกว้างขึ้นนะหนู แบก.... วาง....แล้วปลง ทุกอย่างก็ดีขึ้นครับ

อาจารย์เก

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเรียนเชิญอาจารย์ไปชม "สุดยอดส้วม...โรงพยาบาลพะโต๊ะ" ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                   

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์เก
  • ยินดีมาก ๆ ค่ะที่อาจารย์แวะไปเป็นกำลังใจให้งานเขียนของบุษราถึง 2 เรื่องซ้อน ๆ เกิดเป็นเป็นคนชาติหนึ่ง จะทำอะไรเพื่อทดแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ องค์กร และประเทศชาติ  เท่าที่จะทำได้ บุษราจะเป็นคนดี ด้วยการคิดดี พูดดี ทำดี ตลอดไปค่ะอาจารย์
  • ขอบพระคุณนะค่ะ

                         

เธอคือเทียนเล่มหนึ่งของประเทศไทย ที่ส่องสว่างอยู่ท่ามกลางป่าเขา และความขาดแคลน ลุงเกภูมิใจในตัวเธอมาก บุคคลเช่นเธอหายากมากในสังคมปัจจุบัน เธอลองคิดดูก็แล้วกัน ถ้าประเทศชาติของเรามีแต่บุคคลเช่นเธอ มีหรือจะวุ่นวายอย่างนี้ มีหรือจะแย่งกันเป็นใหญ่ มีหรือจะแย่งกันโกง มีหรือจะแย่งกันฉกฉวย หรือมีจะฆ่าแกงกัน ไม่มีหรอกครับ ลุงเกก็เสียใจอยู่เหมือนกันที่ปั้นคนคุณภาพให้ประเทศชาติไม่ได้ดั่งใจคิด (เคยคิดนะว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศหากมีคนไตเข้าไปเกี่ยวข้องและสร้างปัญหาลุงเกจะขออาสาไปเกลี้ยกล่อมเขาเอง) แต่ก็ไม่มี เลยรอดตัวไป มีแต่พวกเขมร

เธอใช้ภาษาไทยได้ดีมาก ลองเขียนเรื่องสั้น หรือเรื่องยาวดูสิ ลุงเกว่าเธอเขียนได้ดีแน่นอน ขอบคุณมากครับ

อาจารย์เก

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึง สบายดีนะคะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

สวัสดีค่ะอาจารย์เก

ได้อ่านเรื่องหมะเมียะ แล้วรู้สึกคุ้นๆใช่ที่ช่อง 7 นำมาทำละคร ที่สุวนันท์แสดงหรือเปล่าคะ ถ้าใช่จำได้ว่าตอนนั้น น้ำตาท่วมจอเลยค่ะ มีคำหนึ่งที่ยังจำได้ตลอดคือตอนที่เรียกหาหมะเมียะค่ะ ร้องว่า หมะเมียะเอ้ยหมะเมียะ ........ ประมาณนี้แหละค่ะ บางครั้งก็ยังติดปากพูดอยู่เลยค่ะเวลาเรียกหาใครที่เราต้องการพบ พอได้อ่านเรื่องราวแล้วน่าเศร้ากับความรักของทั้งคู่จัง อิทธิพลทางการเมืองเนี่ย ร้ายแรงและยิ่งทวีคูณขึ้นมากเชียวนะคะ คิดว่าเมื่อไหร่หนาคนเราจะเพียงพอพอเพียงและสงบสุขแบบไม่เครียดสักที่หนอ พุทธทำนายแม่นจริงๆ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • วันแม่ที่ใกล้จะถึงนี้ ขอส่งความรักและความระลึกถึงด้วยบทกลอนเพราะ ๆ จาก internet มาฝากกันค่ะ
    สตรีใด…….ไหนเล่า………..เท่าเธอนี้
    เป็นผู้ที่ …………..ลูกทุกคน………บ่นรู้จัก
    เป็นผู้ที่ ……………มีพระคุณ………การุณนัก
    เป็นผู้ที่ …………..สร้างความรัก…..สอนความดี
    เป็นผู้ที่……………คอยสั่งสอน…….เอาใจใส่
    คอยห่วงใย….……เราทุกคน………จนวันนี้
    เปรียบแสงทอง……สว่างล้ำ……….นำชีวี
    เธอคนนี้…………..คือ ” แม่ ”……..ของเราเอง

                                  

     สวัสดีครับ ครูใหญ่ รู้สึกเสียดายที่ไม่มีโอกาสเรียนรู้วิธีการทำงานในโรงเรียนกับพี่ ทั้งที่พี่คือครูใหญ่ที่เป็นผู้บังคับบัญชาคนแรก ผมยังจดจำอยู่ตลอดเวลา ว่าวิถีของผมช่างแตกต่างจากคนอื่นๆอีกตั้งมากมาย ทุกคนต้องเดินทางไปโรงเรียนเพื่อรายงานตัวเข้ารับตำแหน่งทำหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง แต่นายไกรสิทธิ์ เกษี กลับยื่นหนังสือรายงานตัวให้ครูใหญ่ที่หน้า สปอ.เมืองแม่ฮ่องสอน โดยคำแนะนำของป้ากิ่งทอง ซึ่งตอนนั้น ผมเองยังไม่แน่ใจว่าใช่ครูใหญของเราจริงๆหรือเปล่า ยื่นหนังสือไปแล้วยังเป็นกังวลอยู่ตั้งหลายวัน หลังจากยื่นหนังสือให้พี่แล้วก็ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์คุณครูสุรศักดิ์ ทรัพย์ศรี ไปทำหน้าที่สอนเด็กบ้านหมากกาวยอน กว่าผมจะได้ไปทำหน้าที่ตามที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจริง ต้องวนเวียนไปอยู่บ้านห้วยตองไปเรียนรู้การทำงานกับท่านครูใหญ่ อุทัย คำกลาง(ตอนนั้นชอบเย้าแหย่กันเล่นๆว่า..คลำกลาง หรือ คากลาง)ผ่านไปอีก หนึ่งปี จึงได้เดินทางถึงไม้สะเป่(21 พฤษภาคม 2531)แต่วันนั้นครูใหญ่เกของผมเปลี่ยนไปแล้ว กลายเป็นครูใหญ่แม้ว ..ทับทิม กวีวัฒน์..เรียบร้อย

     วันนี้ผมได้อ่านเรื่องราวที่คุณพี่ได้ถ่ายทอดแล้วยังนึกเสียดายเวลา ไปอยู่ตั้งหกปีกว่าเพิ่งจะรู้เรื่องหมะเมียะวันที่มานั่งอยู่สระบุรี ได้ฟังเพลงก็บ่อยครั้งแต่ก็ไม่เคยใส่ใจที่จะศึกษาเรื่องราว เพื่อถ่ายทอดไปสู่นักเรียนที่เราสอนเลย มานึกได้อีกที่ก็ค่อนข้างสายแล้วครั้นจะเอามาเล่าให้นักเรียนสระบุรีฟังก็คงจะไม่ซึ้งสักเท่าไร แต่สำหรับผมแล้วซาบซึ้งในความรักของทั้งสองท่านที่สุด

   ต้องขอบคุณพี่มากๆ ที่นำสิ่งดีๆหลายอย่างมาเผยแพร่ และที่สำคัญพี่เป็นกำลังใจให้กับทุกคนเลย ผมอ่านทุกกระทู้ของพี่แล้ว แต่ขอเขียนกระทู้นี้ก่อน แล้วจะเวียนมาเยี่ยมบ่อยๆครับ คุณพี่สบายดีนะครับ   ...ไกรสิทธิ์  เกษี...สพท.สระบุรี 1

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายอาจารย์ค่ะ สบายดีนะค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

                                           

ประเสริฐ ประดิษฐ์

คุณครูไกรสิทธิ์ครับ

ยังคิดถึงคุณครูอยู่เลยครับ คนเก่าๆที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขมาด้วยกันลุงเกไม่เคยลืมเลยครับ หลายคนไปดีมีอนาคตไกล ส่วนลุงก็ยังเป็นขวัญใจชาวดอยอยู่เหมือนเดิม ลืมดอยไม่ลง......

ลุงเก

คุณบุษราครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม ผมไม่ได้เข้าบล็อคนานแล้ว ภาระงานอื่นมันเยอะครับ ขอบคุณอีกครั้งที่ยังนึกถึงคนไกล....

ลุงเก

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยมเยียนอาจารย์ค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

                                 

นายประเสริฐ ประดิษฐ์

ขอบคุณครับ คุณบุษบา มิตรทางไกลที่แสนดีเสมอ

ลุงเก

คุณเพชรลัดดาครับ ผมตอบกระทู้ช้าไปหน่อย ต้องขอโทษด้วยครับ ผมดูหนังเรื่องหมะเมี๊ยะที่คุณเพชรลัดดาเล่าถึง ติดตามเกือบทุกตอน เพิ่งจบไปเมื่อคืนนี้เอง ผมรู้สึกว่าผู้สร้างยังไม่อินน์กับเรื่องเท่าไหร่ มันจึงดูแปล่งๆ ทั้งภาษาพูด เนื้อเรื่อง อ่านประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์จะอินน์กว่าครับ เหมือนมีสิ่งมาดลใจ ให้วิถีชีวิตเป็นเช่นนั้น ประสบการณ์จริงกำลังเกิดขึ้นกับเรา ผมกำลังศึกษาเรียนรู้อยู่ว่า เป็นเพราะอะไร ทำไมต้องมาเกิดขึ้นกับเราด้วย แปลกไหมครับ (เล่าเพียงเท่านี้แหละนะ) ขอบคุณมากครับ อาจารย์เก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท