การอยู่ร่วมกันระหว่างเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังคนปลูกมันและแตนเบียน


เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและแตนเบียน

เมื่อวาน (4 พ.ค.) ได้มีโอกาสเข้าไปใช้พื้นที่ของมูลนิธิมันสำปะหลังซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองเลี้ยงแตเบียนเพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง  ซึ่งเริ่มฟื้นตัวจากการทำลายของเพลี้ยแป้งด้วยการใช้แตนเบียนควบคุม นับเป็นแหล่งทดลองที่ 2 ที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมโดยใช้ชีววิธี ปีนี้แล้งรุนแรงมาก เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ได้ปลูมัน เพราะรอฝนอยู่ เดิมเกษตรกรจะปลูกได้ราวปลายเดือนมีนาคม แต่ปีนี้พฤษภาคมแล้วยังไม่ได้ปลูก เกษตรกรที่เคยเตรียมท่นพันธุ์ไว้ปลูกอาจต้องเตรียมหาท่อนพันธุ์ใหม่เพราะท่อนพันธุ์หมดสภาพ

เกษตรกรที่ไม่ได้พ่นยาฆ่าแมลงลองสังเกตในแปลงมัน จะมองเห็นแมลงช้างเข้ามาช่วยกำจัดเพลี้ยแป้ง ช่วงนี้ใบพืชน้อยประชาการเพลี้ยแป้งก็น้อยด้วย คิดว่าการปล่อยให้ธรรมชาติช่วยกันกำจัดจะเป็นสิ่งที่ดี สบายกระเป๋า และสุขภาพก็ดี

การปรับความคิดเรื่องไม่ใช่สารเคมีค่อนข้างยากแต่ที่พื้นที่ของมูลนิธิมันสำปะหลัง ก็สามารถยืนยันได้ว่าทำได้จริง การใช้สารเคมีมาเกินไปกระตุ้นให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชบางขนิดรุนแรงได้ เพราะกลไกลการควบคุมตามธรรมชาติถูกทำลายด้วยสารเคมีที่เกินจำเป็น หากพวกเราจำกันได้มันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ค่อยมีศัตรูหรือแมลงรบกวน แต่...เกิดอะไรขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้

ปีนี้อยากเชิญชวนให้เกษตรกรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งก่อนปลูก และควรปลูกต้นฝน ฝนจะช่วยได้ในการควบคุมเพลี้ยแป้ง เตรียมพร้อมสำหรับการใช้แตนเบียนมาควบคุม ซึ่งตอนนี้หลายหน่วยงานกำลังขยายจำนวนอยู่ แต่เนื่องจากเข้าต้องการเพลี้ยแป้งสีชมพูเป็นอาหาร การเลิ้ยงเพลี้ยแป้งสีชมพูเพื่อผลผลิตแตนเบียนจึงดูไม่ง่ายนัก

หมายเลขบันทึก: 356199เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท