รักการอ่าน


หมายเลขบันทึก: 356099เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบเรียน ท่านอาจารย์สมศักดิ์

ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยช่วยงาน กศน.แม่เมาะ ปัจจุบันทำงานที่ ส่วนกลาง กฟผ. ครับ ขอร่วมแสดงบทความต่อท่านอาจารย์ครับ

ด้วยความนับถือที่มีต่อท่านอาจารย์ นายรักษ์ ปริกทอง ชมรมคลังปัญญา

กระตุ้นให้ลูกรักการอ่าน

เด็กจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันมีปัญหาการอ่านมากขึ้น เพราะเด็กมีสื่อสำเร็จรูปมากมายหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญ คือ โทรทัศน์นั่นแหละตัวดีที่สุด เด็กอยู่ได้ตลอดวัน พ่อแม่หลายคนบอกว่า ลูกนั่งดูโทรทัศน์ทั้งจากเคเบิ้ลที.วี. และวีดีโอ ตลอดวันใครไม่ให้ดู ก็ร้องไห้จนต้องยอม

สาเหตุของการเสียนิสัยเรื่องการอ่านของเด็กๆ ก็คือ

1. ขาดการกระตุ้นให้รักการอ่านตั้งแต่เยาว์

2. ถูกเร่งรัดให้จดจำในทางที่ผิด เช่น ให้อ่าน ก ข ค ผสมสระ อะ อา เป็นต้น

3. อ่านในสิ่งที่ไม่มีความหมาย หรือเป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบ

4. สอนให้อ่านแบบขาดเทคนิค ไม่จูงใจ หรือ ชอบลงโทษเด็ก

5. ถูกบังคับให้อ่านโดยขาดความพร้อม

6. เด็กใช้เวลากับสิ่งอื่น เช่น วีดีโอ ฯลฯ มากเกินไป

การกระตุ้นให้ลูกอ่านออกเขียนได้ต้องมีกลยุทธ์

1. สร้างสภาพแวดล้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีมุมในบ้านเป็นมุมหนังสือสำหรับลูกหยิบง่าย จัดให้สวยงามพร้อมกับ มีของเล่นให้เด็กเล่นกับหนังสือพร้อมกับตุ๊กตา หรือของเล่นอื่นๆ เด็กจะสามารถผสมผสานกันได้อย่างมหัศจรรย์

2. อ่านหนังสือที่มีภาพให้ฟังสม่ำเสมอเวลาก่อนนอน และสังเกตว่าลูกชอบเล่มไหนมากที่สุด อ่านให้เขาฟัง เด็กชอบเล่มไหนก็จะให้อ่านซ้ำๆ จนเขาเข้าใจ และจับความหมายของคำต่างๆ ได้อย่างแม่นยำนั่นแหละ เป็นจุดเริ่มต้นการอ่านที่มีประสิทธิภาพ

3. เด็กจะเข้าใจสิ่งที่เขาอ่านต่อไปเมื่อเขาเห็นซ้ำๆ พร้อมๆ กับได้ยินบ่อยๆ ควบคู่กันไป ในกรณีที่ลูกเป็นเด็กที่มีปัญหา ทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นหูหนวก หูตึง ฯลฯ ก็จะทำให้เขาอ่านยาก เข้าใจยากเป็นทวีคูณ ซึ่งการสอนไม่จำเป็น ต้องยัดเยียดให้ลูกจนเด็กรู้ได้ว่าจงใจสอนเหมือนสั่งลูกแบบทหาร การสอนลูกไม่จำเป็นต้องจัดเป็นตารางต้องทำ ทุกครั้งสม่ำเสมอ และต้องใช้โอกาสที่เหมาะสมเช่น ตอนเช้าๆ เวลาแต่งตัวให้ลูก หรือรับประทานอาหารร่วมกัน ก็จะสอนได้มากเด็กเข้าใจคำใหม่ๆ วันละ 2-3 คำ และเขาก็เพิ่มจำนวนเป็นวันละหลายๆ คำได้เอง หลังจากที่เขา เข้าใจคำแต่ละคำได้ดี ก็หมายถึงว่าเขาพร้อมที่จะอ่านแล้ว

4. แทรกอารมณ์ขัน เรื่องโจ๊ก เสียงตลกๆ เด็กจะอยากเรียนอยากรู้ เด็กชอบความสดชื่น และเขาไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้ใหญ่ชอบทำหน้าบูดบึ้ง

5. ใช้วิธีจูงใจอ่านเป็นขั้นตอนศัพท์ที่จำเป็นเบื้องต้นต้องรู้ก่อน เช่น ชื่อตนเอง พ่อ แม่ ส่วน ต่างๆ ของร่างกาย คำตรงกันข้ามเช่น หน้า-หลัง ใน-นอก ระหว่างตรงกลาง ตรงมุม สีต่างๆ ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนเสมอไป ต้องดูว่าลูกกำลังสนใจอะไรก็รีบสอนทันที เช่น เห็นสุนัขก็อาจชี้บอกว่า "หมา" เห็นบ่อยๆ ก็สอนบ่อยๆ จนจำได้ เอารูปให้ดูมีตัวเขียนประกอบ และลองเขียนในกระดาษเป็นคำให้ดู ไม่นานเด็กก็อ่านคำนี้ได้และก็เริ่มสะสมคำอื่นๆ ต่อไป

6. หนังสือนิทานคลาสสิค เช่น เจ้าหญิงนิทรา สโนไวท์กับคนแคระทั้ง7 ใช้ได้ตลอดเวลาไม่เคยล้าสมัยถ้าลูกได้ ฟังบ่อยๆ หลายๆ ครั้ง ให้ลองอ่านบางตัว หรือเล่าเรื่องใหม่ตามแต่จินตนาการของตัวเด็ก ทำให้เด็กมีนิสัย ในการเรียนรู้ที่ดีและเป็นนักอ่านที่ดีต่อไป

7. จัดมุมเงียบ ให้ลูกนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ เพราะเด็กสมัยนี้ถูกกระตุ้นจนเกิดขีดการรับรู้ของมนุษย์ปรกติ มีทั้งเสียงทีวี เสียงรถ เสียงพูดคุย เสียโทรศัพท์ ฯลฯ ยิ่งบ้านไหนเป็นร้านค้าละก้อ ทุกมุมสามารถตีราคาเป็นตัวเงินได้ไปหมด ยิ่งทำให้เด็กๆ หมดโอกาสมีจุดสงบสร้างพลังสมอง พลังสติปัญญาและจะอ่านหนังสือได้ไม่ดีเท่าที่ควร

หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.eduzones.com/ โดย ผศ.ดร.อุษณีย์ โพธิสุข

คุณรักษ์ ครับ

     ผมขอขอบคุณมากๆ ครับ ที่คนเคยอยู่กศน.ได้พูดคุยกันเรื่องการอ่านหนังสือ ผมกำลังหารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมการอ่าน ปัจจุบันอาจเห้นป้ายส่งเสริมการอ่านทั่วบ้านมือง ของ กศน. แต่เอาเข้าจริงๆ รูปแบบกิจกรรมที่คน กศน.จะนำไปจัดกิจกรรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ยังไม่ค่อยคิดกันโหมแต่ป้ายประชาสัมพันธ์ เสียส่วนใหญ่ งบประมารที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ มากพอสมควร คือแนวคิดของผมต้องการรุปแบบการส่งเสริมการอ่านมากกว่า ตามที่คุณรักษ์ ฝากมาก็น่าสนใจครับ ผมกำลังรวมรวมเรียบเรียงรูปแบบต่างๆ ในการส่งเสริมนีสัยรักการอ่าน จากผลการวิจัยของท่านผู้รู้บ้าง จากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ บ้าง จากบล็อกบ้าง สิ่งที่ต้องการทำในการส่งเสริมการอ่านในช่วง พฤษภาคม ถึง กันยายน 2553คือ

        1. ศึกษารูปแบบส่งเสริมการอ่าน การสร้างนิสัยรักการอ่าน พอสมควรเพื่อนำไปพัฒนาหรือออกแบบกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและนามธรรม

       2. พัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านที่มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายตามบริบทของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย(เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะครับ) เช่น กลุ่มทารกในครรภืแม่ กลุ่มทารกที่คลอดออกมาแล้ว ผมหมายถึงกลุ่มพ่อแม่ของทารกแรกเกิด กลุ่มเด้กเล็ก เด้กประถม มัธยม ม.ปลาย และกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษา และกลุ่มที่สำคัญคือกลุ่มที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการอ่าน ครับ

   คุรรักษ์ หรือท่านอื่นๆ มีอะไรดีเกี่ยวกับส่งเสริมการอ่าน แนะนำได้ครับ ทีผม [email protected] หรือที่ กศน.อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย

                          somsakksn/กศน.อำเภอหนองหิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท