ตัวอย่างบทเรียนโปรแกรมการเขียนบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์


บทเรียนโปรแกรม 

การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

 

ชุดที่ ๑ 

เรื่อง  คำคล้องจอง

 

จัดทำโดย 

 

นางวัญเพ็ญ ม่วงจันทร์ 

ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านโนนใหญ่ 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๑

 

 

 

คำนำ 

            บทเรียนโปรแกรม การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่มนี้ ผู้จัดทำได้จัดทำขึ้น เพื่อประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเน้นให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจ มีคุณธรรม เป็นบทเรียนที่จะนำให้นักเรียนสู่จุดหมายปลายทางด้วยความสำเร็จและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ความซาบซึ้งในความงามของบทร้อยกรอง การมีสมาธิ มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไป

            บทเรียนโปรแกรมการเขียนบทร้อยกรองประเภท กลอนสี่สร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  ชุดที่ ๑ เรื่องคำคล้องจอง ประกอบด้วยจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ คำถามหรือแบบฝึกหัด คำแนะนำสำหรับครูผู้สอนและคำแนะนำสำหรับนักเรียน โดยใช้ร่วมกับคู่มือบทเรียนโปรแกรม การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชุดที่ ๑  เรื่อง คำคล้องจอง

            ขอขอบพระคุณ นางจันทร เพชรบรูณ์  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ นางนิชรา   พรมประไพ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนนครไตรตรึงษ์   นางประเนียน  แก้วมาลากุล ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนนิคม ๑ บ้านทุ่งโพธิ์ทะเล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชรเขต ๑ ที่ได้ตรวจและพิสูจน์อักษร ตลอดจนให้คำแนะนำ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งทำให้บทเรียนโปรแกรมเรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ ชุดที่ ๑ เรื่อง คำคล้องจอง ถูกต้องสมบูรณ์

            ผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าบทเรียนโปรแกรมเรื่อง การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ชุดที่ ๑ เรื่อง คำคล้องจอง เล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ครู นักเรียน และผู้สนใจที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่องการเขียนบทร้อยกรองง่ายๆ

 

                                                                             วัญเพ็ญ     ม่วงจันทร์

 

  

 

คำแนะนำการใช้บทเรียน

        บทเรียนที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่นี้เรียกว่า บทเรียนโปรแกรมการเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  ไม่ใช่ข้อสอบให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ครูเป็นเพียงผู้จัดเตรียมบทเรียน เตรียมชั้นเรียน เตรียมสื่อและอุปกรณ์ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล และให้การช่วยเหลือเมื่อนักเรียนมีปัญหา ขอให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

๑.  ผู้เรียนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่ดูเฉลยก่อนทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัด

๒.  ในการเริ่มเรียนชุดที่ ๑ เรื่อง คำคล้องจอง เล่มนี้ ผู้เรียนควรทำแบบทดสอบ

ก่อนเรียนเป็นอันดับแรก

๓.  ตั้งใจทำและศึกษาเนื้อเรื่องไปตามลำดับทีละกรอบอย่างรอบคอบ ไม่เปิดข้าม

เพราะจะทำให้สับสนถ้ากรอบใดมีช่องว่างให้เติมคำให้ผู้เรียนใช้กระดาษปิดคำเฉลยเพื่อจะได้รู้ความสามารถของตนเอง

๔.  ถ้านักเรียนตอบได้ถูกต้อง ให้นักเรียนอ่านและทำแบบฝึกหัดในกรอบต่อไป

๕.  ถ้าผู้เรียนตอบผิดให้ย้อนกลับไปอ่านทบทวนทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องเดิม

อีกครั้ง เมื่อเข้าใจดีแล้วจึงแก้คำตอบที่ผิดให้ถูกต้อง

๖.  ศึกษาเนื้อเรื่องไปเรื่อยๆ “เหนื่อยก็พัก” สักครู่แล้วค่อยศึกษาต่อไป

๗.  ศึกษาเนื้อเรื่องจบแล้ว ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้งเพื่อเปรียบเทียบ

ผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง  เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

 

๑.  ข้อใดไม่มีเสียงคล้องจองกัน 

           ก.  ฝรั่ง        -    มังค่า

           ข.  ชีวิต       -    ชีวา

           ค.  เส้นผม    -    บังตา

           ง.  มากมาย   -    หลายตัว

 

๒.  ข้อใดคล้องจองกับคำ “รูปไม่หล่อ”       

            ก.  พ่อไม่รวย

            ข.  สวยทั้งวัน

            ค.  ฉันกับเธอ

            ง.  เสือลายสวย

 

๓.   คำคู่ใดไม่ใช่คำคล้องจอง

            ก.  เขียน       -   เกวียน

            ข.  คอย        -   เลย

            ค.  แมว         -   แม้ว

            ง.  เม็ด          -   เพชร

 

๔.  คำว่า  “ธนาณัติ”  ควรต่อด้วยข้อความใดจึงจะทำให้มีเสียงคล้องจองกัน

            ก.  ธนาคาร

            ข.  บัตรเครดิต

            ค.  ไปรษณีย์

            ง.  โทรศัพท์

 

๕.  คำคู่ใดมี เสียงคล้องจองกัน

            ก.  ถนัด       -   สลัด

            ข.  กระทง    -   กะทิ

            ค.  ตลอด     -   ตลับ

            ง.  เคร่ง        -   ครัด

 

๖.  ข้อใดไม่ใช่คำคล้องจอง  ๒  พยางค์

            ก.  เรือใบ    -   ในน้ำ

            ข.  ไข่เป็ด   -   เจ็ดฟอง

            ค.  ยินดี      -   ปรีดา

            ง.  ร่าเริง      -   แจ่มใส

 

 

๗.  ข้อใดเป็นคำคล้องจอง  ๓  พยางค์

             ก.  เนื้อนมดี          -    เนื้อวัวนุ่ม

             ข.  ข้าวสารขาว      -    หอมชื่นใจ

             ค.  ส้มเขียวหวาน    -    ข้าวต้มมัด

             ง.  กรุพระเครื่อง      -    เมืองคนแกร่ง

 

๘.  ข้อใดเป็นคำคล้องจอง  ๔  พยางค์

            ก.  ใช้ยาเสพติด     -    อาจถึงตายได้

            ข.  ใช้ยาเสพติด     -    ชีวิตจะสั้น 

            ค.  ใช้ยาเสพติด     -    มีอันตรายมาก

            ง.  ใช้ยาเสพติด      -    ควรไปพบแพทย์

 

ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ  ๘-๑๐ 

 

            “ไม่ตัดสินใจแน่          มัวแต่เสียดายหมายสอง”

 

๙.  คำคล้องจองภายในวรรค  คือ  คำคู่ใด

            ก.   ไม่    -   ใจ

            ข.   ตัด   -   สิน

            ค.   แน่   -    มัว

            ง.   ดาย  -    หมาย

 

๑๐.  คำคล้องจองระหว่างวรรค  คือ  คำคู่ใด

            ก.  ไม่   -    มัว

            ข.  ใจ    -    เสีย

            ค.  แน่   -    แต่

            ง.   ใจ   -    หมาย

 

 

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน  

                             ๑.    ค

                             ๒.   ก

                             ๓.   ข

                             ๔.   ข

                             ๕.   ก

                             ๖.    ง

                             ๗.   ง

                             ๘.   ข

                             ๙.    ก

                            ๑๐.   ค

 

 

 

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

ชุดที่ ๑  เรื่อง คำคล้องจอง

 

  ๑.  บอกความหมายของคำคล้องจองได้ถูกต้อง

  ๒.  บอกลักษณะคำคล้องจองได้ถูกต้อง

  ๓.  เขียนคำคล้องจองที่มี ๑ พยางค์ได้ถูกต้อง

  ๔.  เขียนคำคล้องจองที่มี ๒ พยางค์ได้ถูกต้อง

  ๕.  เขียนคำคล้องจองที่มี ๓ พยางค์ได้ถูกต้อง

  ๖.  เขียนคำคล้องจองที่มี ๔ พยางค์ได้ถูกต้อง

  ๗.  เขียนคำคล้องจองภายในวรรคและระหว่างวรรคได้ถูกต้อง

  ๘.  นำคำคล้องจองไปใช้ในบทร้อยกรองได้ถูกต้อง

หมายเลขบันทึก: 356052เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

บทเรียนนี้น่าสนใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท