การสร้างบทเรียนโปรแกรมการเขียนบทร้อยกรองกาพย์ยานี๑๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่๕


การสร้างบทเรียนโปรแกรม การเขียนบทร้อยกรองกาพย์ยานี๑๑

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ขั้นวางแผน

                ๑.  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คู่มือการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชุดภาษาพาทีและวรรณคดีลำนำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
                ๒.  ศึกษาหลักการเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ โดยยึดเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานในการเขียน จากตำรา เอกสารงานวิจัย
                ๓.  ศึกษาหลักการ วิธีการ และรายละเอียดที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียนโปรแกรมจากตำราและเอกสารงานวิจัยต่างๆ
                ๔.  เลือกเนื้อหา คำพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่เกี่ยวข้องกับบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสี่  จากบทอาขยาน วรรณกรรมเรื่องต่างๆ ของสุนทรภู่และนักประพันธ์คนอื่นๆ

ขั้นดำเนินการ

                ๑.  กำหนดเนื้อหาการเขียนบทร้อยกรอง ประเภทประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ ดังนี้
                              ชุดที่  ๑ คำคล้องจอง
                              ชุดที่  ๒ คำสัมผัส
                              ชุดที่  ๓ กลอนสี่สร้างสรรค์
                ๒.  กำหนดจุดประสงค์หลักในการสร้าง คือ เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนโปรแกรมการเขียนบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ แล้วนักเรียนสามารถหาคำสัมผัสคล้องจองจากบทร้อยกรอง และเขียนบทร้อยกรองง่ายๆ ได้
                ๓.  วิเคราะห์เนื้อหา ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สาระที่ ๒ การเขียน กำหนดว่า
 “ ให้นักเรียนเขียนคำสัมผัสคล้องจองและเขียนบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ ” ผู้รายงานจึงกำหนดเนื้อหาโดยทบทวนเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียน การเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ คือ ชุดที่ ๑ คำคล้องจอง ชุดที่ ๒ คำสัมผัสจนถึงเนื้อหาที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเขียนบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่สร้างสรรค์ จากการใช้คำพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและคำอื่นได้คือ ชุดที่ ๓ กลอนสี่สร้างสรรค์       
                ๔.  กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละตอน ผู้รายงานกำหนดจุดประสงค์
การเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบผลการบรรลุเป้าหมายของนักเรียนในแต่ละตอน ดังนี้

 

 ชุดที่ ๑  คำคล้องจอง
                ๑. บอกลักษณะคำคล้องจองได้ถูกต้อง
                ๒. เขียนคำคล้องจองที่มี ๑  พยางค์ได้ถูกต้อง
                ๓. เขียนคำคล้องจองที่มี ๒ พยางค์ได้ถูกต้อง
                ๔. เขียนคำคล้องจองที่มี ๓ พยางค์ได้ถูกต้อง
                ๕. เขียนคำคล้องจองที่มี ๔ พยางค์ได้ถูกต้อง
                ๖. คำคล้องจองภายในวรรคและระหว่างวรรคได้ถูกต้อง
ชุดที่ ๒ คำสัมผัส
                ๑. บอกลักษณะคำสัมผัสสระได้ถูกต้อง
                ๒. เขียนคำที่มีสัมผัสสระได้ถูกต้อง
                ๓. โยงเส้นคำสัมผัสสระภายในวรรคได้ถูกต้อง
                ๔. โยงเส้นคำสัมผัสสระระหว่างวรรคได้ถูกต้อง
                ๕. บอกลักษณะคำสัมผัสพยัญชนะได้ถูกต้อง
                ๖. เขียนคำที่มีสัมผัสพยัญชนะได้ถูกต้อง
               ๗. โยงเส้นคำที่มีสัมผัสพยัญชนะภายในวรรคได้ถูกต้อง
ชุดที่ ๓ กลอนสี่สร้างสรรค์
                ๑. บอกแผนผังและลักษณะบังคับของกลอนสี่ได้ถูกต้อง
                ๒. โยงเส้นคำสัมผัสนอกสัมผัสในได้ถูกต้อง
                ๓. เลือกคำมาเติมให้กลอนสี่สร้างสรรค์ มีจำนวนคำครบวรรค ตามลักษณะสัมผัสบังคับได้ถูกต้อง
                ๔. เรียงลำดับบทร้อยกรอง ๑ บท ได้ถูกต้อง
                ๕. เชื่อมคำส่งสัมผัสระหว่างบทได้ถูกต้อง
                ๖. เขียนกลอนสี่สร้างสรรค์ได้อย่างน้อย ๑ บท

 

                ๕. สร้างบทเรียนโปรแกรม โดยสร้างเป็นบทเรียนโปรแกรมชนิดเส้นตรง
ใช้การตอบสนองโดยการเติมคำหรือเลือกข้อความลงในช่องว่าง โดยเริ่มด้วยกรอบเริ่มต้น หรือกรอบนำเข้าสู่บทเรียน (set frame) กรอบฝึกหัด (practice frame) ซึ่งกรอบเริ่มต้นและกรอบฝึกหัดนี้เรียกว่า กรอบสอน (teaching frame) แต่ละกรอบเสนอเนื้อหาเริ่มจากง่ายไปหายาก และกรอบสอบ (criterion frame)
หมายเลขบันทึก: 356050เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท