เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

ภูมิปัญญาบรรพบุรุษไทยในการสร้างบ้าน


          เมื่อกล่าวถึงเรือน ไทย   หลายท่านคงจะนึกถึงเรือนไทยติดริมน้ำ   ใต้ถุนยกสูง   ผนังไม้ฝาปะกน   และมีหลังคาจั่วทรงสูง   ในความเป็นจริงแล้ว   เรือนไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท   ด้วยการใช้หลักการใช้การใช้วัสดุในการก่อสร้างเป็นตัวแปร   ดังนั้นจึงสามารถจำแนกประเภทของเรือนไทยเป็นเรือนเครื่องผูก   เรือนเครื่องสับ และเรือนเครื่องก่อ

           เรือนเครื่องผูก นั้นเป็นการใช้ไม้ไผ่หรือไม้ขนาดเล็กนำมาประกอบยึดด้วยเชือกเข้าด้วยกันเป็น โครงสร้าง ตัวเรือน   โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตะปูยึดเป็นที่พักอาศัยแบบง่ายๆ

          เรือนเครื่องก่อ เป็นการสร้างอาคารให้มีความคงทนถาวร   มีอายุการใช้งานได้นานโดยการก่ออิฐถือปูนโดยจะเป็นการสร้างและออกแบบอาคาร เพื่อทางศาสนาและพระราชวังเป็นหลัก

           ส่วนเรือนเครื่องสับ เป็น รูปแบบของเรือนไทยที่ยกฐานะของตัวเอง   เป็นการพัฒนาการก่อสร้างจากเรือนเครื่องผูก ด้วยการใช้ไม้จริง และการนำเอาเทคโนโลยีการแปรรูปของไม้ เช่น การใช้มี ขวาน เลื่อย สิ่ว กบ ค้อน มาปรับแต่งไม้   ถากไม้ให้เป็นรอยสับ รูเจาะ เป็นร่อง เข้าเดือย และเข้าลิ้น แล้วนำไม้ที่แปรแล้วมาประกอบเป็นตัวเรือน

 

 

           และเมื่อกล่าวถึงการประหยัดพลังงานกับเรือนไทยนั้น   ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างบรรพบุรุษไทยที่สามารถปรับเปลี่ยนสภาพเรือนที่อยู่ อาศัย   และการแก้ปัญหาเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ในสภาพต่างๆ ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น การยกใต้ถุนสูงเพื่อหลีกหนีจากภัยน้ำท่วม   มีหลังคาทรงสูง เพื่อระบายน้ำฝนให้เร็ว เป็นต้น   คราวนี้เรามาดูกันว่าเราสามารถปรับการใช้สอยของอาคารเรือนไทยให้เข้ากับที่ อยู่อาศัยในปัจจุบันได้อย่างไร   โดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน

 

           การยกใต้ถุนสูงนั้น   เป็นการหนีเรื่องปัญหาน้ำท่วมของคนโบราณ   และยังได้ใช้ประโยชน์ของใต้ถุนด้วยการนั่งพักผ่อน ทำงานจักรสาน ทานข้าว เก็บของ และเลี้ยงสัตว์   การยกใต้ถุนนั้นก็เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก   สามารถนั่งทำกิจกรรมได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์   และยังสามารถหนีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้อีกด้วย   ในปัจจุบันหลายๆ พื้นที่ในเมืองไทยยังไม่สามารถหนีปัญหาน้ำท่วมได้   ถ้าการออกแบบบ้านสามารถยกพื้นสูงได้จะเป็นการดี

           ชานเรือนนั้นเป็นตัวเชื่อมของเรือนนอนแต่ละหลังเข้าด้วยกัน   เป็นตัวสร้างกิจกรรมภายในครัวเรือนให้เกิดขึ้นเป็นการให้แขกบ้านแขกเรือน เข้ามานั่งพูดคุย   เรือนไทยบางหลังก็ยังปลูกต้นไม้ใหญ่กลางชานบ้าน   เพื่อให้เกิดร่มเงาในบ้านเป็นการลดความร้อนในระดับหนึ่ง   พื้นที่ของชานเรือนก็ปูด้วยไม้เว้นระยะให้ลมจากใต้ถุนบ้านลอดเข้ามา   และยังเป็นการระบายน้ำฝนให้ออกจากตัวเรือนชานได้รวดเร็วอีกด้วย

                               

 

          การปลูกไม้กระถาง และอ่างบัวบนชานเรือน   เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษโดยแท้   เพราะนอกจากความสวยงามของการปลูกไม้กระถามแล้ว   ต้นไม้ยังผลให้เกิดความร่มรื่นและคายออกซิเจนเข้าสู่ตัวบ้าน   ส่วนอ่างบัวนั้นมีไว้เพื่อระบายความร้อน   น้ำในอ่างเมื่อโดนแดดหรือความร้อนก็จะระเหยกลายเป็นไอ   และเมื่อลมพัดก็จะเกิดอากาศที่เย็นสบายเข้าสู่ตัวบ้าน

           ช่องแมวลอด   เป็นช่องระหว่างชนเรือนกับพื้นเรือน   เป็นช่องที่นำลมจากใต้ถุนบ้านเข้ามาสู่ชานบ้าน   ทำให้บริเวณชานบ้านเย็นสบาย   และเมื่อยกพื้นสูงขึ้นเป็นช่องแมวลอดแล้วระดับความสูงนั้นก็พอดีกับการนั่ง ได้อย่างสบาย

           ชายคาบ้านเรือนไทยนั้น   จะทอดยาวเพื่อเป็นการบังแดดและลดอุณหภูมิอีกระดับหนึ่งก่อนการเข้าไปในห้องนอน

           ฝาบ้าน   เรือนไทยเองนั้นมีฝาบ้านหลากชิดแล้วแต่ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่ต่างกัน   เช่นฝาสำรวม ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้กระบอกที่สานกันเป็นโครงสร้างแล้วกรุด้วยแฝกทำให้ อาการถ่ายเทได้สะดวก   เหมาะที่จะใช้กับเรือนครัวเพื่อระบายควัน

           ฝาไหล   เป็นการนำฝาไม้ตีเว้นช่องสลับกัน 2 ฝา วางอยู่บนรางไม้   เมื่อเลื่อนมาเหลื่อมกันก็จะเป็นฝาผนังทึบ   เมื่อเลื่อนฝาออกมาซ้อนกันก็จะทำให้เกิดเป็นช่องว่างทำให้ลมและแสงเค้ามาใน ตัวเรือนได้

           ฝาเกล็ด   เป็นฝาไม้กระดานมาตีปิดเป็นแนวนอนกับไม้โครงคร่าว   โดยวางให้ไม้กระดานเหลื่อมกันเป็นลำดับคล้ายเกล็ดปลา   บ้านในสมัยปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ด้วย   การเว้นช่องระหว่างบานไม้คล้ายกระจกบานเกล็ด   ทำเป็นหน้าต่างไม้บานเกล็ด   สามารถให้ลมไหลผ่านได้   และเป็นการบังสายตาจากภายนอก

           การปลูกต้นไม้ใหญ่   เพื่อลดความร้อนที่เข้ามากระทบกับตัวเรือน   ควรปลูกต้นไม้ตามแนวแดดอ้อมใต้   คือปลูกด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก   ส่วนทางทิศเหนือควรเปิดเอาไว้เพื่อรับแสงธรรมชาติ   เพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ในเวลากลางวัน

               

           ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการสร้างเรือนนั้นเป็นการแก้ปัญหาด้วยหลักการง่ายๆ สมควรที่สถาปนิก   และผู้ที่ต้องการสร้างบ้านเพื่อลดการใช้พลังงาน   ควรรับไปพิจารณาและในขณะเดียวกันนั้น   ผู้ที่มีบ้านอยู่แล้ว   สามารถนำแนวความคิดการปลูกเรือนไทย   มาปรับแต่งประยุกต์ใช้ในบ้าน   เพื่อลดการใช้พลังงาน   เช่นการปลูกต้นไม้บังแดดและเป็นการช่วยกรองอากาศอีกทางหนึ่ง   การขุดสระ หรือปลูกบัวกระถางก็เพื่อการระเหยของไอน้ำเพื่อความเย็นในตัวบ้าน และการต่อยื่นชายคาหรือกันสาด   เพื่อลดการกระทบของแสงแดดที่จะเข้ามาในตัวบ้าน   สิ่งเหล่านี้เป็นการถ่ายลดระดับอุณหภูมิก่อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน   เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ในสภาวะอยู่สบาย   เมื่อเข้าถึงตัวบ้าน   ดังนั้นทุกท่านสามารถนำหลักการง่ายๆ   ที่ได้กล่าวมานี้   นำมาปรับใช้ในที่อยู่อาศัยปัจจุบันเพื่อการลดการใช้พลังงานได้อย่างดี

หมายเลขบันทึก: 354204เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2010 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท