ครั้งหนึ่งที่ปัตตานี


ครั้งหนึ่งที่ปัตตานี , ปัตตานี , งานฉลองข้าวใหม่ ครั้งที่ 5 ,ตูปะ ตาแป แตออ สะตอดอง

วันที่ 21-22 เมษายน 2553  ได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย น้องมีน น้องแนน ซึ่งการไปปัตตานีในครั้งนี้ถือเป็นการทดสอบสมรรถภาพการขับรถทางไกลของตนเองด้วย

รถกระบะ อีซูซุ ดีแมค ทะเบียน บธ 9435 ชุมพร ออกจากอำเภอปะทิวตี 5 เศษ ๆ พักเติมน้ำมันในเมืองชุมพร ออกจากชุมพรประมาณ 6.00 น.มุ่งสู่ จ.สุราษฎร์ - ทุ่งสง - พัทลุง - หาดใหญ่ - ปัตตานี ถึงปัตตานีเวลา 14.30 น. ตื่นเต้นมาก ไปถึงเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเครือข่ายจังหวัดปัตตานี , กาญจนบุรี , ระนอง สุรินทร์ ฯลฯ และยังมีอีกหลายจังหวัดที่จำไม่ได้ นอกจากนี้ยังมี คุณนก นฤมล จากรายการทุ่งแสงตะวัน ได้ร่วมเวทีกับเราในครั้งนี้ด้วย ได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนปัตตานี ด้วยตนเองโดยขบวนจักรยานรอบเมือง

ที่ตื่นเต้นที่สุดคือ เมื่อไปถึงปัตตานี พบว่าช่วงเช้าที่ผ่านมาวันที่ 21 ก่อนที่เราจะไปถึง เกิดระเบิดขึ้นที่โรงพักเมืองปัตตานีขณะที่ จนท.ตำรวจกำลังเคารพธงชาติ ทำให้ตำรวจเสียชีวิตทันทีจำนวน 1 นาย และบาดเจ็ด 40 กว่าคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และขอแสดงความเสียใจกับเหตุร้ายในครั้งนี้

ช่วงขบวนชมเมืองปัตตานีของพวกเราเคลื่อนนั้น ก็มีทหารจำนวดนมากมาคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้เรา และมีน้อง ๆ นักศึกษา จาก มอ.ปัตตานี ซึ่งเป็นชาวมุสลิคอยเป็นพี่เลี้ยงแนะนำ ตอบคำถามอยุ่ตลอดเวลาด้วยอัทธยาศัยไมตรี (ค่อยเขียนเพิ่มอีก)

 

รายละเอียดงานที่ไปครั้งนี้

เนื่องในโอกาสอันดีของฤดูกาลฉลองข้าวใหม่  และตระหนักถึงคุณค่าจากความหลากหลายของทรัพยากรจากการจัดการป่าโดยชุมชน  เครือข่ายการจัดการทรัพยากรป่าไม้จากทั่วประเทศ ซึ่งเคยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากแผนงานสนับสนุนโครงการขนาดเล็กของชุมชนในการจัดการป่า  แผนงานพัฒนาแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNDP) ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2549 จำนวน 49 โครงการ และองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน  และองค์กรชาวบ้าน  ได้ร่วมกันจัดงานฉลองข้าวใหม่ขึ้น และถึงแม้นว่าจะสิ้นสุดระยะการดำเนินงานของแผนงานฯ ลงแล้วในปี 2549  เครือข่ายฯ ยังคงประสานงานและจัดงานต่อมาอย่างต่อเนื่องรวม 4 ครั้ง ดังนี้  ครั้งที่ 1  “งานฉลองข้าวใหม่และความหลากหลายในป่าชุมชน” ในปี พ.ศ. 2548  ที่จังหวัดนครนายก ครั้งที่ 2 “งานฉลองข้าวใหม่กับวิถีที่พอเพียง” ในปี พ.ศ. 2550  ที่จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3  “งานฉลองข้าวใหม่กับกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ยั่งยืน” ในปี พ.ศ. 2551  ที่จังหวัดตราด และครั้งที่ 4  “งานฉลองข้าวใหม่กับวิถีพอเพียงบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน” ในปี พ.ศ. 2552  ที่จังหวัดเชียงใหม่  โดยมีเครือข่ายการจัดการทรัพยากรในพื้นที่เป็นเจ้าภาพหลัก 

ความร่วมมือของเครือข่ายฯ ในการจัดงานฉลองข้าวใหม่  ทำให้เครือข่ายฯ ได้มีโอกาสพบปะเยี่ยมเยียนไถ่ถามข่าวคราวสารทุกข์สุขดิบ  ในการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินมาตลอดปีให้กำลังใจซึ่งกันและกัน    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรักษากระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ระหว่างชุมชนและองค์กรชุมชนทั่วประเทศที่ได้ริเริ่มไว้ คือ  กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ระหว่างเครือข่ายและชุมชนอนุรักษ์ป่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลประเด็นใหม่ๆ    ในปี พ.ศ. 2553  เครือข่ายป่า 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส  ร่วมเครือข่ายการจัดการทรัพยากรในภาคใต้  มีความพร้อมรับเป็นเจ้าภาพในการร่วมจัดงาน ครั้งที่ 5  “งานฉลองข้าวใหม่ สร้างหัวใจสันติภาพ  ”  ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ระหว่างวันที่ 21-24 เมษายน พ.ศ. 2553

2. วัตถุประสงค์

  1. สืบสานและขยายเครือข่ายพันธมิตรเชื่อมร้อยการจัดการป่าและทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับป่า การจัดการป่า และความหลากหลายทางชีวภาพให้รู้จักกันเพื่อที่จะทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
  2. เป็นเวทีแลกเปลี่ยน องค์ความรู้และประเด็นใหม่ๆ ในการจัดการป่าที่ได้จากประสบการณ์และภูมิปัญญาชุมชน  รวมถึงการแลกเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  3. กำหนดทิศทางการปรับตัวเพื่อการดำเนินงานจัดการทรัพยากรโดยชุมชน เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
  4. เพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งเป็นกำลังใจให้แก่ชุมชน

 

3. กิจกรรมสำคัญ

  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และประสบการณ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรชุมชนที่เข้าร่วม นิทรรศการ และผลผลิตจากทรัพยากรชีวภาพของแต่ละพื้นที่
  • ศึกษา แลกเปลี่ยน เรียนรู้ วิถีชีวิตชุมชนและสถานการณ์ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
  • งานพิธีกรรมเรื่องข้าว การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการกินอยู่ ด้านแสดงพื้นบ้าน
  • ศึกษาดูงาน เยี่ยมชม และแลกเปลี่ยน กับวิถีชีวิตของคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

4. กลุ่มเป้าหมาย

  • เครือข่ายป่าและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากแผนงานฯ จากทั่วประเทศจำนวน 49 โครงการ
  • สถาบันการศึกษา
  • หน่วยงานราชการและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้สนใจทั่วไป

 

5. องค์กรร่วมจัด

  • เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
  • โครงการและองค์กรชุมชนด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เคยได้รับทุน SGP/PTF ระหว่างปี 2546-2549
  • สำนักงานพัฒนาแห่งองค์กรสหประชาชาติ  UNDP
  • พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  • สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

 

6. สถานที่จัดงาน

      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 

 

7. จำนวนผู้ร่วมงาน

ผู้แทนชุมชน องค์กรเครือข่ายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากทั่วประเทศ นักวิชาการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 คน

 

 

8. ผลลัพธ์จากโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างเครือข่ายเอง และจากนักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วม  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการทำงานของตนเอง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนพืชพันธุ์พื้นบ้านเพื่อดำรงรักษาและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่นต่อไป นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมได้มีความรู้ ความเข้าใจ กับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่มยิ่งขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 353734เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าโลกของเรามีบุคคลที่เสียสละ มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงานเพื่อชุมชนเพื่อส่วนรวม อย่างบุคคล หรือ องค์กรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น โลกของเราคงดีกว่าที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้อย่างแน่นอน ขอเป็นกำลังใจ และ ขอตรบมือให้ด้วยความจริงใจ

ขอบคุณ คุณ 1718 มากๆ นะคะที่เข้ามาเยี่ยมชม หลงมาหรือป่าวคะ (ล้อเล่นค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท