การติดต่อสื่อสาร


          เมื่อเรามองไปรอบๆตัว เราทราบว่าสิ่งนั้นคืออะไร เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องโทรสาร เป็นต้น การที่เราสามารถตีความสิ่งต่างๆ ที่ได้จากประสาทสัมผัส หรือ อวัยวะรับความรู้สึก 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ให้มีความหมายว่าสิ่งที่มองเห็นคืออะไร เสียงที่ได้ยินคืออะไร และกลิ่นที่ได้คือกลิ่นอะไร ฯลฯเราเรียกการตีความนี้ว่า “การรับรู้” ซึ่งการรับรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่มีผลต่อพฤติกรรม และการก่อตัวของทัศนคติของบุคคล

          การรับรู้ของบุคคลแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ที่ได้รับและการประเมินค่าสิ่งที่รับรู้ก็แตกต่างกันไปด้วย การรับรู้ของบุคคลเกิดจากการได้และเห็นสิ่งต่างๆ ได้รับฟังสรรพสิ่ง ได้กลิ่นและได้สัมผัส เป็นความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัสโดยอาศัยอวัยวะสัมผัส บุคคลประเมินค่าจากสิ่งที่รับรู้โดยอาศัยประสบการณ์และภูมิหลังของตน

การรับรู้ หมายถึง กระบวนการประมวลและตีความข้อมูลต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่ได้จากการรู้สึก ซึ่งการรับรู้ของบุคคลจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางจิตวิทยาบางตัว ได้แก่ การเรียนรู้ ประสบการณ์ แรงจูงใจ อารมณ์ฯลฯ โดยปัจจัยเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทร่วมกับการรับรู้

คำสำคัญ (Tags): #ชัยภูมิ7
หมายเลขบันทึก: 353721เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2010 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท