สรุปการจัดกิจกรรม COP ครั้งที่ 2


ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน  2549  ทีมงาน KM มรย.  ได้จัดกิจกรรม COP ครั้งที่ 2  เพื่อสะท้อนปัญหากระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้งบคุลากร  ส่วนของผู้ใช้บุคลากร   โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรม COP  3 กลุ่ม คือ
           1.  กลุ่มผู้บริหาร  ได้แก่  รองอธิการบดี  คณบดีทุกคณะ  
          
          
2. กลุ่มสายสนับสนุน  ได้แก่  ผฮ.สำนักต่าง ๆ  ผอ.กอง  และหัวหน้าสำนักงาน 
          
3.  กลุ่มวิชาการ  ได้แก่ ผู้ประสานสาขาของคณะต่าง ๆ
ในการจัดกิจกรรม COP ครั้งนี้ สามารถสรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข ได้ดังนี้

 

                                                  กลุ่มผู้บริหาร  
  การสะท้อนปัญหากระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้งบุคลากรของ มรย.
ด้านสายผู้สอน/อาจารย์ 
                1. แผนการสรรหาอาจารย์ผู้สอนไม่ชัดเจน   ไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของ มรย. ระบุไม่ได้ว่าจะบรรจุสาขาอะไร และจะบรรจุในช่วงปีใด
               
2.  อัตรากำลังของข้าราชการ และพนักงานมีปัญหาด้าน Demand   Supply
               
3. การสังกัดของอาจารย์บางสาขาไม่ตรงกับวุฒิที่สำเร็จมา 
                4. จำนวนอาจารย์ผู้สอนกับแผนการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง 

    5. แผนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรไม่เฉลี่ยภาระงานของอาจารย์ให้เหมาะสม และชัดเจน

                6. การสรรหา อาจารย์พิเศษ /อัตราจ้าง ล่าช้าเกินไป  
               
7. ขาดคนเก่งที่มีความรู้ ความสามารถมาเข้าสู่การสรรหา เนื่องจากมีสถานการณ์ไม่ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และ ระบบการให้สวัสดิการและสิ่งจูงใจไม่ดึงดูดให้เข้ามาสู่ระบบงานของหน่วยงาน
               
8. ไม่มีการดำเนินการเกลี่ยงานสอนของรายวิชาต่างๆ ให้กับอาจารย์บางสาขา จึงทำให้ภาระงานสอนของสาขาต่างๆ ไม่ทัดเทียมกัน ไม่ได้สัดส่วนกัน   (แต่การเกลี่ยต้องคำนึงถึงคุณภาพการเรียนการสอนด้วย)
               
9. อาจารย์บางสาขาไม่ได้ถูกนำไปเข้าเป็นศักยภาพของหลักสูตรตามเกณฑ์ของ สกอ. ดังนั้น จึงต้องให้อาจารย์แต่ละคนเร่งพัฒนาตนเองให้เข้าเกณฑ์คุณสมบัติของหลักสูตร
              
10. แผนการรับนักศึกษาไม่นิ่ง เปลี่ยนแปลงให้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้น ตามแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก เช่นการเมือง และสังคม       
               11. ขาดการสนับสนุนงบจัดการศึกษาจากรัฐบาลที่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ มรย. ต้องเปิดรับ นักศึกษาเพิ่มจากแผนที่วางไว้ เพราะงบประมาณให้มาเท่าเดิมแต่ต้องใช้จ่ายให้กับ นักศึกษา ครอบคลุมที่เพิ่มขึ้นด้วย
              
12. การปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์แต่ละคน ไม่สอดคล้องและไม่ครอบคลุมพันธกิจทุกด้านของสถาบัน   ขาดการกำหนดภาระงานของอาจารย์ให้คลุมพันธกิจทุกด้าน   (ควรแก้ให้เกณฑ์ภาระงานครอบคลุมพันธกิจ) 

    13. วิธีการเทคนิคในกระบวนการต่อรอง หรือจัดหาอัตรากำลังของมรย. กับส่วนกลางไม่เป็นเชิงรุก และไม่นำสถานการณ์มาเป็นจุดต่อรองเหมือนราชการอื่นๆ


 ด้านสายสนับสนุน /ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่          
                     ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ เมื่อเข้าสู่ระบบการทำงานของมรย. ระยะเวลาหนึ่ง จะทำงานเป็น และได้ผลดี มักจะลาออกไปทำงานที่อื่น เช่น ไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการของหน่วยงานอื่นๆ
ประเด็นปัญหาย่อยๆ ได้แก่  
                
1. การสรรหาของตำแหน่งลูกจ้างไม่เหมาะสม ไม่ได้มาตรฐาน
  
                
2. ลูกจ้างคิดงานไม่เป็น ทำงาน  Rountine มักจะรอการสั่งการจากหัวหน้า   ไม่สามารถคัดเลือกคนเก่ง ทีความรู้มาทำงานได้  
 

แนวทางการพัฒนาภาพรวม
                
1. การจัดหา/จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญพิเศษมาช่วยทำงานเฉพาะกิจ เช่น เรื่องแผน  กฎหมายของ มรย. 
                 
2. การประชุม อบรม สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เพิ่มมากขึ้น
                
3. การประชาสัมพันธ์ต้องให้ครอบคลุม และเป็นสากล หลากหลาย
                 
4. อาจารย์ต้องพัฒนาตนเอง ไม่หยุดนิ่ง ด้านวิชาการ เพราะคุณภาพบัณฑิตเป็นความรับผิดชอบของอาจารย์
                
5. ต้องทำแผนพัฒนาอาจารย์ระยะสั้น และระยะยาว ของ มรย.
                
6. ต้องรื้อ สะสางกฎระเบียบของบุคลากรให้เป็นแนวทางเดียวกัน
                 
7. การออกข้อสอบในกระบวนการสรรหาลูกจ้าง ควรเป็นแบบ Logic   เพื่อให้ได้คนเก่ง   คิดเป็น  มาทำงาน
                
8. กระบวนการสอบ และข้อสอบไม่เอื้อให้ได้คนเก่งมาทำงาน ควรปรับสัดส่วนการสอบของความรู้ทั่วไปกับความรู้เฉพาะด้านให้เหมาะสมกับตำแหน่งต่าง ๆและ Job Description
                
9. ควรมีระบบพี่เลี้ยงมาใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้คนใหม่ทำงานได้ดี
               
10. ควรมีการปฐมนิเทศ ในส่วนเนื้อหาความเป็นครู
               
11. จัดหามาตรการการสร้างขวัญ และแรงจูงใจ/สิ่งจูงใจให้กับอาจารย์ และลูกจ้าง แบบเชิงรุก


กลุ่มสายสนับสนุน
 ปัญหาในกระบวนการสรรหาฯ : าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง
          
ปัญหา                                                    ข้อเสนอแนะ
1.ใช้ระยะเวลานาน จัดระบบการสอบ            ขึ้นบัญชีสํารอง

2. การประชาสัมพันธไม่ทั่วถึง                      ประชาสัมพันธ์ให  

                                                                         ครอบคลุมทุกสื่อ

                                                                         และมีเวลานาน

3.วิธีการสรรหาเป็นการรวมศูนย                   ใหส่วนราชการเทียบ

                                                                        เท่าคณะดําเนินการ

4.ข้อสอบยาก,เหมือนกันในทุกตำแหน่ง         จัดทําคลังข้อสอบ

5.ไม่ทราบกระบวนงาน(work flow)                ผู้ที่รับผิดชอบจัดทํา
                                                                        กระบวนงานในการ
                                                                       
สรรหา เช่น  ตําแหน่
                                                                        ข้
าราชการที่ว่าง
 
การดูแลบุคลากร
          
1.ขาดความมั่นคงในการทํางานระบบสัญญาจ้างมากกว่ 1 ปี
 
        
2.ไม่มีการเลื่อนตําแหน่,ปรับเงินเดือนออกระเบียบการปรับเงินเดือน  
             
มหาวิทยาลัยควรศึกษาระบบการสรรหา บรรจุ แต่ง
ตั้งของมหาวิทยาลัยอื่น มีลักษณะใกลเคียงกับมรย.และมีระบบงานที่ดีแล้วนํามาประยุกต์ ออกเป็นระเบียบการสรรหาฯของ มรย.
 
แนวทางการพัฒนาบุคลากร
             
1. ปฐมนิเทศบุคลากรใหมเพื่อให้เข้าใจแนวทางในการปฏิบัติงาน กฎระเบียบ
             
2 . ฝึกอบรมทักษะในการปฏิบัติงานเบื้องต้นและที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน
             
3.  ส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
             
4. จัดให้มีการแข่งขันการปฏิบัติงานในแต่ละตําแหน่ง เพื่อให้มี BEST PRACTICE
             
5. จัดสรรงบประมาณให้พอเพียงและครอบคลุมทุกระดับ
             
6. จัดห้องทํางานและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการทํางาน
             
7. พัฒนาหัวหน้างานหรือผู้บริหารในแต่ละระดับ
             
8. จัดทํายุทธศาสตรการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน

                                         กลุ่มวิชาการ (ตัวแทนผู้ประสานสาขา)
ปัญหาในกระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง
1.       มหาวิทยาลัยไม่มีการกำหนดเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่ชัดเจน
2.       มหาวิทยาลัยไม่มีวิธีการสรรหาบุคลากรด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การให้ทุนแก่นักเรียน
3.       กระบวนการสรรหาไม่ชัดเจน
       
-          การกำหนดอัตรากำลัง
       
-          ตำแหน่ง
       
-          ภาระงาน
        
-          ไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมบูรณ์
4.       มหาวิทยาลัยไม่มีการสร้างแรงจูงใจให้มีผู้มาสมัครมาก ๆ และไม่มีการจัดการฐานข้อมูลของผู้สมัครให้เป็นประโยชน์
5.       ระบบการคัดเลือกขาดความยืดหยุ่น
6.       มหาวิทยาลัยไม่มีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ โดยเฉพาะอาจารย์ที่ไม่จบสายครู7.       การจัดการระบบอาจารย์พี่เลี้ยงไม่มีประสิทธิภาพ
8.       ระบบการประเมินผลขาดประสิทธิภาพ
9.       บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เช่น ระบบการเบิกจ่ายล่าช้ามาก ทุนการศึกษาต่อพิจารณาช้า การสนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการ
10.    ภาระงานสอนของอาจารย์ประจำบางสาขาวิชามีมากเกินไปแต่ไม่ได้ตำแหน่งอาจารย์อัตราจ้าง 
แนวทางการแก้ไข
1.       มหาวิทยาลัยต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการจัดการศึกษาให้ชัดเจน โดย การ SWOT ตนเอง สำรวจความต้องการของตลาด และปรับปรุงพัฒนา
2.       มหาวิทยาลัยต้องมีวิธีการสรรหาบุคลากรด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การให้ทุนการศึกษา
3.       กระบวนก่อนการสรรหาต้องชัดเจน เช่น
       
-          การกำหนดอัตรากำลัง
       
-          ตำแหน่ง
       
-          ภาระงาน
       
-          ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมบูรณ์
4.       มหาวิทยาลัยต้องมีการสร้างแรงจูงใจให้มีผู้มาสมัครจำนวนมาก และมีการจัดการฐานข้อมูลของผู้สมัครให้เป็นประโยชน์ เช่น เมื่อมีการเปิดสอบให้ส่งข้อมูลให้แก่บุคคลดังกล่าวด้วย (การแจ้งความจำนงการสมัครสอบไว้ล่วงหน้า)
5.       ระบบการคัดเลือกต้องมีความยืดหยุ่น เช่น วิชาชีพครูควรสอบเฉพาะบางสาขาวิชา หรือลดน้ำหนักของวิชานี้
6.       มหาวิทยาลัยต้องมีการปฐมนิเทศและมีคู่มือสำหรับอาจารย์ใหม่
7.       ต้องมีการจัดการระบบอาจารย์พี่เลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้สาขาวิชาเป็นผู้เสนอแต่งตั้งอาจารย์พี่เลี้ยง และคิดภาระงานให้ด้วย
8.       ระบบการประเมินผลต้องมีประสิทธิภาพ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงให้การปฏิบัติงานดีขึ้น
9.       สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เช่น การเบิกจ่ายต้องตรงเวลาจัดสรรทุนการศึกษาต่อให้รวดเร็ว ควรมีการกระตุ้นให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น ให้มีพี่เลี้ยงช่วยเหลือในการทำผลงาน มีผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา และการสนับสนุนอยากให้มีมากกว่านี้

คำสำคัญ (Tags): #km#ทีมงาน
หมายเลขบันทึก: 35363เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข วิเคราะห์ได้ชัดเจน ทั้งกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มงานสนับสนุนและกลุ่มผู้บริหาร ขอสรุปดังนี้

         1.ข้อเสนอบางประการ สามารถแก้ไขได้ทันที เช่น วิธีการสรรหา การประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง การวิเคราะห์ข้อสอบ

         2.ข้อเสนอในเชิงระบบ เช่น ระบบการจ้างงานที่มีความมั่นคง(ประเภทลูกจ้างชั่วคราว) ระบบการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่การวางแผนรับนักศึกษาในระยะยาว เพื่อให้วางแผนอัตรากำลังอาจารย์และสายสนับสนุนที่เหมาะสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท