แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้า รักษาหายได้ โรคซึมเศร้า...ต้องดูแลช่วยเหลือ โรคซึมเศร้า ต้องเฝ้าระวัง
ได้ไปประชุมวิธีแนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ที่โรงแรมริชมอนด์ จ. นทบุรี
โรคซึมเศร้า  (คือโรคอย่างไรน๊า..........................................)
                อะไรคือ อาการซึมเศร้า
ความรู้สึกเศร้าหรือทุกข์ใจเมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผิดหวัง เช่น เสียเพื่อน ตกงาน สูญเสียคนที่รัก ซึ่งความรู้สึกเศร้าเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน
                ลักษณะโรคซึมเศร้า เป็นอย่างไรน๊า..............................
1.มีอารมณ์เศร้า
2.ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆที่เคยทำลดลงอย่างมาก
3.เบื่ออาหารจนน้ำหนักลดลง
4.นอนไม่หลับหรือหลับมากแทบทุกวัน
5.ทำอะไรช้าๆ
6.อ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรงทั้งวัน
7.รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินควร
8.สมาธิหรือความคิดอ่านช้าลง
9.คิดอยากตายไม่อยากมีชีวิตอยู่
               
แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า การค้นหา ประเมินและเฝ้าระวัง
                แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q)
1.ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้าหรือท้อแท้ สิ้นหวังหรือไม่
2.ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้ท่านรู้สึก เบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่
ถ้าคำตอบ ไม่มีทั้ง 2 คำถามถือว่าปกติ แต่ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้อให้ประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q ต่อ
 แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q
 

ลำดับคำถาม

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ ท่านมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน

ไม่มีเลย

เป็นบางวัน 1-7 วัน

เป็นบ่อย > 7 วัน

เป็นทุกวัน

1

เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร

0

1

2

3

2

ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้

0

1

2

3

3

หลับยากหรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป

0

1

2

3

4

เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง

0

1

2

3

5

เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป

0

1

2

3

6

รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลวหรือทำให้ตนเองหรือครอบครัวผิดหวัง

0

1

2

3

7

สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่นดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ

0

1

2

3

8

พูดช้า ทำอะไรช้าลงจนคนอื่นสังเกตเห็นได้หรือกระสับกระส่ายไม่สามรถอยู่นิ่งได้เหมือนที่เคยเป็น

0

1

2

3

9

คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตายไปคงจะดี

0

1

2

3

 

 
คะแนน         < 7 ไม่มีอาการของโรคซึมเศร้า
                        7-12 มีอาการซึมเศร้า ระดับน้อย
                        13-18 มีอาการโรคซึมเศร้า ระดับปานกลาง
                        ≥ 19 มีอาการของโรคซึมเศร้า ระดับรุนแรง
ถ้าคะแนน 9Q ≥ 7 ให้ประเมินแนวโน้มการฆ่าตัวตายด้วย 8Q
 แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q
ข้อ 1-7 ถามในระยะเวลา ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
 

ลำดับคำถาม

 

คำถาม

ไม่มี

มี

1

คิดอยากตาย หรือคิดว่าตายไปจะดีกว่า

0

1

2

อยากทำร้ายตัวเอง หรือทำให้ตัวเองบาดเจ็บ

0

1

3

คิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย(ถ้าตอบว่าคิดเกี่ยวกับฆ่าตัวตายให้ถามต่อท่านสามารถควบคุมความอยากฆ่าตัวตายที่ท่านคิดอยู่นั้นได้หรือไม่ หรือบอกได้ไหมว่าคงจะไม่ทำตามความคิดนั้นในขณะนี้

ได้

0

ไม่ได้

8

4

มีแผนการที่จะฆ่าตัวตาย

0

8

5

ได้เตรียมการที่จะทำร้ายตนเอง หรือเตรียมการจะฆ่าตัวตายโดยตั้งใจว่าจะให้ตายจริงๆ

0

9

6

ได้ทำให้ตนเองบาดเจ็บแต่ไม่ตั้งใจที่จะทำให้เสียชีวิต

0

4

7

ได้พยายามฆ่าตัวตายโดยคาดหวัง/ตั้งใจที่จะให้ตาย

0

10

8

ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ท่านเคยพยามฆ่าตัวตาย

0

4

 คะแนน                       0              ไม่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายในปัจจุบัน
                                1-8          มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายในปัจจุบัน ระดับน้อย
                                9-16       มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายในปัจจุบัน ระดับปานกลาง
                                ≥17       มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายในปัจจุบัน ระดับรุนแรง
ถ้าคะแนน 8Q ≥ 17 ให้ส่งต่อโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์ด่วน

วิธีการรักษาที่จิตแพทย์ ให้การรักษาคือ ยาต้านเศร้า จิตบำบัด ที่สำคัญคนในครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

 
....อ่านแล้วก็อย่าลืมลองประเมินคนใกล้ตัวเราและตัวเราด้วยนะค่ะ

ขออภัยลืมลงนามผู้บันทึกค่ะ  Khwanjai (กลุ่มเวช)

หมายเลขบันทึก: 353401เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2010 09:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีอยู่ 2 ข้อ หวังว่าคงไม่เพิ่มขึ้น แค่นี้ก็จะแย่แล้ว

บันทึกดีจัง แต่ไม่รู้ของใคร / boss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท