ตอนที่ 7 ชิมอาหารทาสที่บราซิล


ชิมอาหารทาสที่บราซิล

ชิมอาหารทาสที่บราซิล

 Ft6

วันที่ 17 เมย. 2553 เรามีโอกาสไปถ่ายรูปสถานที่สำคัญใน USP Campus หรือ University of Sao Pualo of Ribeirao Preto เช่น ที่ตึกเก่าแก่ร้อยปีของคณะแพทยศาสตร์ที่นั่น แต่ก่อนเป็นของเจ้าของไร่กาแฟที่ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองมาก  พิพิธภัณฑ์กาแฟ และ ทะเลสาบในมหาวิทยาลัย  โดยความอนุเคราะห์จากท่าน Professor Beatriz ขับรถนำเที่ยว แล้วพาเราไปรับประทานมื้อเที่ยงที่โรงแรมมีชื่อของที่นั่น อาหารหนึ่งที่ทำให้ฉันได้ความรู้เพิ่ม คือ “slave food” หรือแปลตรงตัวก็ “อาหารทาส” นั่นเอง เพราะแต่ก่อนที่บราซิลจะอาศัยแรงงานจากทาสในการทำไร่กาแฟ ดังนั้นทาสส่วนใหญ่มาจากอัฟริกา อาหารที่นิยมกันก็คือหมู หากเนื้อดีๆ ก็จะไว้สำหรับเจ้านาย  ส่วนทาสก็จะได้ส่วนที่เหลือที่เป็นเอ็น กระดูก หู ลิ้น หาง ขา แต่เขาก็มีวิธีการทำให้เนื้อนุ่ม ต้มนานส่วนผสมเครื่องปรุงจนได้ที่ จนเนื้ออ่อนนุ่มรสชาดอร่อยที่ดีที่สุด ปัจจุบันไม่มีทาสแล้วในบราซิล แต่สูตรอาหารนี้ก็ยังมีมาจนทุกวันนี้  เป็นอาหารเหลาในโรงแรมมีชื่อเสียงของบราซิล ซึ่งคนบราซิลชอบรับประทาน ถือเป็นอาหารที่อร่อยมากชนิดหนึ่ง โดยรับประทานกับข้าวสวย  ซึ่งข้าวสวยที่นี่อร่อยค่ะ ใส่เกลือเป็นส่วนผสมด้วย 

ภาพบรรยากาศมาฝากค่ะดังภาพ

 Cft1

Ft8

มีอาหารพื้นเมืองให้ทาน อร่อยดีค่ะ คนทำอาหารแต่งชุดพื้นเมืองของบราซิลค่ะ

Ft13

ขอบพระคุณ Professor Beatriz และครอบครัวที่เลี้ยงมื้อเที่ยงก่อนกลับค่ะ

Ft7

มีเพลงบราซิลเลี่ยน เพราะค่ะ

Ft9

นี่ไงค่ะ อาหารที่เคยเป็นอาหารทาสมาก่อน ทานแล้วอร่อยค่ะ หาง หู ลิ้น ฯลฯ

Ft14

Ft12

คนมาทานที่นี่เยอะค่ะ

Ft11

Ft10

สามหนุ่มสามมุม ลูกชายท่านอาจารย์ Beatriz ชื่อ หลุยส์ ฟิลลิปป์ และสามีท่าน (ลืมชื่อท่านค่ะ)

 

Kesanee..updated.. Apr 22, 2010.. 3:00 am

หมายเลขบันทึก: 352939เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
P
ปริมปราง อร่อยค่ะ (มาก แต่แลดูน่ากลัว เพราะใช้เป็นภาชนะดำๆ ดูไม่น่าทาน แต่ความจริงแล้วอร่อยค่ะ)อาจารย์ผู้ชายตักเป็นจานเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท