ตอนที่ 6 พิพิธภัณฑ์กาแฟที่ Ribeirao Preto, Brazil


ชมพิพิธภัณฑ์กาแฟที่ Ribeirao Preto, Brazil

พิพิธภัณฑ์กาแฟที่ Ribeirao Preto, Brazil

 

Dsc05830

 

หากพูดถึงฟุตบอลโลก ท่านคงนึกถึงหลายประเทศที่ชื่นชอบ แต่หากพูดถึงกาแฟกับฟุตบอลโลกพร้อมๆ กัน และให้ทาย หลายๆ ท่านคงจะตอบตรงกันเป๊ะคือ…..บราซิล…ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (South America) สมัยเด็กๆ ฉันเคยเรียนเคยท่องจำ สินค้าส่งออกกาแฟมากที่สุดในโลก คือที่ “ประเทศบราซิล”  นึกออกแล้วใช่ไหมคะ

 

แต่ที่นี้จะพูดถึงพิพิธภัณฑ์กาแฟที่เมือง Rebeirao Preto, Brazil ออกเสียงเป็นภาษาไทยว่า “ฮิบเบรโร เพรโท”  เมืองเศรษฐกิจเมืองหนึ่งที่ปลูกกาแฟ และอ้อย มากที่สุดในโลก สมัยก่อนที่นี่จะทำไร่กาแฟ แต่ ณ ปัจจุบันการทำไร่อ้อยทำรายได้มากกว่ากาแฟ และสามารถดัดแปลงเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พลังงานไบโอดีเซล  และอื่นๆ ได้ ดังนั้นจะเห็นว่าที่เคยเป็นไร่กาแฟและเคยถูกเรียกว่า “green gold”  ก็จะกลายเป็นไร่อ้อยแทน แต่กาแฟก็ยังคงมีเยอะอยู่นะคะ

 

ที่นี้เข้าสู่เรื่องราวพิพิธภัณฑ์กาแฟซะที (Coffee museum) นำชมโดย Professor Beatriz เพื่อนท่าน Professor Allen, ท่านอาจารย์ สมบูรณ์ ท่านอาจารย์ พูลสุข และเกศนี ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย  USP campus (หรือ University of Sao Pualo of Ribeirão Preto, Brazil) เพราะแต่ก่อนเนื้อที่ทั้งหมดที่กว้างเต็มไปด้วยไร่กาแฟ เจ้าของไร่มียศเป็นนายพล อพยพมาจากเยอรมันนี (มีรูปท่านและภรรยา ข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งเป็นขั้นอภิซุปเปอร์มหาเศรษฐี คนอะไรจะรวยขนาดนั้นในสมัยนั้น) ในพิพิธภัณฑ์แสดงให้เห็นมีข้าทาสมากมายซึ่งถูกซื้อมาจากอัฟริกา (ผิวดำ) เพื่อทำงานในไร่ ภายในพิพิธภัณฑ์ ได้บอกเล่าเรื่องราวไว้โดยละเอียด แต่ห้ามถ่ายภาพภายในค่ะ และภายในมีรูปปั้นเจ้าของไร่ ภรรยา รูปทาส โซ่ ปลอกมือ ไว้ใช้ล่ามทาส มีทุกขนาด

 

นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ มีการแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมื่อร้อยปีก่อนที่ไร่นี้ เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การสื่อสาร การคมนาคม โรงสีกาแฟ  (เหมือนโรงสีข้าวบ้านเราค่ะ) ซึ่งยังดูใหม่เอี่ยมสวยงาม ตัวหนังสือยังชัดเจน แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการผลิตกาแฟ มีตู้เย็นในสมัยก่อน (เฉพาะคนรวยเท่านั้นที่จะมีได้ และน้ำแข็งไม่สามารถมีรับประทานได้ทุกวัน มีเฉพาะช่วงที่มีเหตุการณ์พิธีสำคัญเท่านั้น)

 

เจ้าของไร่กาแฟมี  2 รุ่น คนที่ 1 การค้ากาแฟกิจการใหญ่โตรุ่งเรืองมาก (มีภาพวาดแสดงความยิ่งใหญ่ แต่ถ่ายรูปไม่ได้ค่ะ) พอถึงรุ่นเจ้าของไร่กาแฟคนที่ 2 ปรากฏว่าการค้าขาดทุน (stock going down) รัฐบาลเข้า take over และมีการเลิกทาสในบราซิล ปัจจุบันจะเห็นมีคนบราซิลบางส่วนผิวดำเหมือนคนนอัฟริกาทั่วไป คนเฝ้าพิพิธภัณฑ์ก็ผิวดำค่ะ

 

แรกสุดรัฐบาลได้มอบเนื้อที่ทั้งหมดให้แก่คณะเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมดของ University of Sao Pualo of Ribeirao Preto …ขณะนี้แม้ไม่ใช่ไร่กาแฟในอดีต แต่หากกลายเป็นสถานศึกษาที่อนุรักษ์ธรรมชาติของ  Ribeirão Preto  และทุกๆ วันอาทิตย์คนบราซิลเลี่ยนจะมาที่นี่เพื่อพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหาร จิบกาแฟ  ระหว่างครอบครัว และเพื่อนฝูงค่ะ เป็นวันพิเศษของคนที่นี่ค่ะ

 

เก็บภาพมาฝาก หากเขียนตกหล่นช่วยแก้ไขเพิ่มเติมให้ด้วยนะคะ ท่านที่เคยไปเที่ยวมาก่อน ด้วยความปรารถนาดีค่ะ

 

นี่เป็นเพียงบางส่วน หากมีโอกาสลองไปเที่ยวที่บราซิล และอย่าลืมไปดูพิพิธภัณฑ์กาแฟนะคะ น่าสนใจมาก

 เก็บภาพมาฝากค่ะ

Rgf3

 

Rgf8

 

Rgf1

อดีตเจ้าของไร่ คนที่ 1 และ 2  อาคารที่เห็นคือพิพิธภัณฑ์ ข้างใน อเมซิงมากค่ะ โชคดีที่ได้มาที่นี่ค่ะ

 

Rgf5

อาจารย์ Beatriz อธิบายเป็นภาษาอังกฤษให้พวกเราฟัง เพราะเนื้อหา ป้าย การบอกเล่าเรื่องราว ONLY Protugese ค่ะ

Rgf7

 

Rgf2

ธรรมชาติที่นี่สวยไหมคะ

บ้านนี้อายุร่วมร้อยปีเป็นบ้านที่เจ้าของไร่เคยอยู่ที่นี่ ยังดูสวยงามมากค่ะ ข้างในเป็นไม้ ห้ามถ่ายภาพค่ะ

Rgf6

Rgf4

Dsc05829

ต้นไม้ใหญ่ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ค่ะ

Dsc05890

ต้นกาแฟของจริง เมล็ดกำลังสุขค่ะ น่ารักดี

 

 

 Kesanee..updated.. Apr 21, 2010..1:45

หมายเลขบันทึก: 352933เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2010 02:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาทักทายเป็นคนแรกเลย...วันนี้เขียนหลายบันทึกนะค่ะ...จะติดตามค่ะ

P
ปริมปราง  ขอบคุณค่ะ วันนี้หยุดพักที่บ้านอีก 1 วันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท