ประเพณีดี ๆ ของเมืองเหนือ


ปี๋ใหม่เมือง

          บันทึกฉบับนี้  ขอเล่าถึง ประเพณีสงกรานต์ แบบดังเดิม  ที่บางคนอาจจะไม่รู้จัก  หรือลืม ๆ ไปแล้วบ้าง  เพราะ เท่าที่ถามเพื่อน ๆ ในห้อง  ไม่ค่อยมีใครรู้จักเลย  ก็เลยเกิดความคิด  กลัวว่า  ประเพณีเก่าแก่  อันเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง  จะสูญหายไป

ปี๋ใหม่เมืองเฮา ตั้งแต่วันที่ 13 - 15 เมษายน ขึ้นไปคนเมืองเหนือของเราบ่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็จะพากันปิ๊กบ้าน (กลับบ้าน)  เพื่อไปเล่นน้ำปี๋ใหม่ที่บ้านเกิดเมืองนอนของแต่ละคน  ตามประเพณี  ในแต่ละวันจะมีกิจกรรมต่าง ๆ  ดั้งนี้

วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขานล่อง จะเป็นวันทำความสะอาดบ้านเรือน  วันนี้จะต้องสระผม  และให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก  เสร็จแล้วก็เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยมาพรม ๆ หัว  ถือว่าเป็นการปัดเอาสิ่งที่ไม่ดี  สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ออกไป

  

วันที่ 14 เมษายน เรียกว่าวันเนา  หรือ วันเน่า วันนี้คนเฒ่า คนแก่ ได้บอกว่า  ห้ามด่าห้ามต่อยตีกัน  ถ้าด่าหรือต่อยตีกัน จะมีเรื่องร้ายไปตลอดปี  ทุกบ้าน จะช่วยกัน  ห่อนึ่ง (ห่อหมก)  ห่อข้าวต้ม (ข้าวต้มมัด)  ห่อขนมจ๋อก (ขนมเทียนหรือขนมนมสาว)  กันที่บ้าน พอได้เวลาเย็น ๆ  ก็ไปพบกันที่ท่าน้ำ   แต่ละคนก็จะมีถังน้ำติดมือไปด้วย  ไปช่วยกันขนทรายมาทำเป็นแบบกองเจดีย์ทรายไว้ตามวัด  เรียกว่าการขนทรายเข้าวัด พร้อมกับสาดน้ำกันเป็นการสนุกสนาน

 

วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันพระยาวัน  เป็นวันทำบุญ คือ เอาขันข้าว(อาหาร)  ที่ได้เตรียมไว้เมื่อวาน  ไปทำบุญที่วัดอุทิศไปหาผู้ตายไปแล้ว  ในตอนเช้าและ  ทำบุญตักบาตรจะมี มีตุงไจย  ตุงแขวนกับกิ่งไม้ คนโบราณตัดเองไม่ต้องไปซื้อหานำไปปักที่เจดีย์ทรายและหาไม้ก้ำศรี๋ (ไม้-ก้ำ-สะ-หรี๋)  (ไม้ง้ามอันใหญ่เอาไว้ค้ำต้นโพธิ์) นำมาถวายเป็นทานก่อน แล้วนำไปก้ำต้นไม้ ตามประเพณีขนบธรรมเนียม

  

วันที่ 16 เมษายน เรียกว่า วันปากปี เป็นวันเริ่มปีใหม่  วันจะมีอาหารที่สำคัญ ๆ ที่ทุกบ้านต้องทำกิน อยู่ 2 อย่าง คือ

  • แกงบะหนุน (แกงขนุน)

  • ลาบ

ตังแต่วันนี้ไปอีกประมาณ 2 – 3 วัน จะมีการไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ที่เราให้การเคารพนับถือ  และ มีประเพณีของพระสงฆ์  สามเณร   จะต้องไปขอขมาลาโทษดำหัวพระสงฆ์ผู้อาวุโส  ผู้ที่แก่พรรษาพระผู้ใหญ่ ตามวัดต่าง ๆ นำคณะพระเณรและศรัทธาไปคารวะเป็นวัด ๆ ไป แม้วันสงกรานต์ปีใหม่จะผ่านไปหลายวันแล้วก็ตาม แต่ประเพณีควรจะยังทำกันต่อไปอยู่ตลอด บางแห่ง จนหมดเดือนเมษายนเลยก็มี

           ในบางแห่งวันปากปีจะมี การทำบุญสิบชะตา สะเดาะเคาระห์กันถือว่าทำต้นปีจะได้คุ้มครองไปตลอดปีบางหมู่บ้านพระก็จะไม่ว่างเลยทั้งวัน

 

เรื่องของสงกรานต์ มีตำนานกล่าวถึงมูลเหตุแห่งสงกรานต์ สรุปได้ว่า

          มีเศรษฐีคนหนึ่งถูกนักเลงสุราใกล้บ้านที่มีลูกหน้าตาหมดจด 2 คน มากล่าวหาหยาบคายว่า ร่ำรวยก็สู้เขาไม่ได้ แม้ยากจนก็ยังมีลูกสืบสกุล ตายแล้วก็สูญเปล่า เศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นไทร ริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดมา ชื่อ ธรรมบาลกุมาร บิดาปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเฉลียวฉลาด เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุ 7 ขวบ และรู้ภาษานกด้วย ท้าวกบิลพรหมจึงมาทดลองความรู้ โดยถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าตอบได้ จะตัดศีรษะบูชา คือ

  1. เช้าราศีอยู่ที่ไหน

  2. เที่ยงราศีอยู่ที่ไหน

  3. ค่ำราศีอยู่ที่ไหน

ภายใน 7 วันจะมาฟังคำตอบ ธรรมบากลุมาร คิดไม่ออก ถึงวันที่ 6 จึงแอบหนีจากปราสาทไปหลบอยู่ใต้ต้นตาลใหญ่ 2 ต้น ซึ่งพญาอินทรีผัวเมียทำรังอยู่บนนั้น

          ตอนค่ำนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหนกิน ผัวตอบว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะจะแพ้ตอบปัญหากบิลพรหมไม่ได้ จะถูกตัดหัว เมื่อนางนกอินทรีถามปัญหาว่าอย่างไร และคำตอบว่าอย่างไร พญาอินทรีเฉลยปัญหาให้เมียฟังว่า

  1. ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า

  2. ราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมมาปะพรมที่อก

  3. ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างเท้าก่อนนอน

          ธรรมบาลได้ฟังนกอินทรีผัวเมียสนทนาจึงกลับมาประสาท พอวันรุ่งขึ้นกบิลพรหมก็มาถามปัญหา ธรรมบาลก็ตอบตามที่ได้ยินจากพ่อนกอินทรี กบิลพรหมแพ้  จึงต้องตัดศีรษะตามสัญญา  แต่ศีรษะของกบิลพรหมมีฤทธิ์อำนาจมาก  ถ้าตกถึงพื้น จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งบนอากาศฝนจะแล้ง  ถ้าโยนลงน้ำ มหาสมุทรจะเหือดแห้งไปทันที  จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะไว้  แห่รอบเขาพระสุเมรุ  แล้วเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ำคันธธุลี เขาไกรลาส เมื่อครบ 365 วันหรือ 1 ปี นางทั้งเจ็ดจัดเวรกันมาเชิญศีรษะกบิลพรหมออกมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ  

          โดยกำหนดว่า วันที่ 13 เดือนเมษายน คือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันใด ธิดาประจำวันนั้นก็จะป็นผู้อัญเชิญพาน ดังนี้ค่ะ

วันอาทิตย์  ชื่อ  ทุงษ

ทัดดอกทับทิม  เครื่องประดับปัทมราค  ภักษาหารผลมะเดื่อ  อาวุธขวาจักร  ซ้ายสังข์  พาหนะครุฑ

วันจันทร์  ชื่อ  โคราค

ทัดดอกปีบ  เครื่องประดับมุกดา  ภักษาหารน้ำมัน  อาวุธขวาพระขรรค์  ซ้ายไม้เท้า  พาหนะเสือ

วันอังคาร  ชื่อ  รากษส

ทัดดอกบัวหลวง  เครื่องประดับโมรา  ภักษาหารโลหิต  อาวุธขวาตรีศูล  ซ้ายธนู  พาหนะสุกร

วันพุธ  ชื่อ  มัณฑา

ทัดดอกจำปา  เครื่องประดับไพฑูรย์  ภักษาหารนมเนย  อาวุธขวาเข็ม  ซ้ายไม้เท้า  พาหนะลา

วันพฤหัสบดี  ชื่อ  กิริณี

ทัดดอกมณฑา  เครื่องประดับมรกต  ภักษาหารถั่วงา  อาวุธขวาขอ  ซ้ายปืน  พาหนะช้าง

วันศุกร์  ชื่อ  กิมิทา

ทัดดอกจงกลณี  เครื่องประดับบุษราคัม  ภักษาหารกล้วยน้ำว้า  อาวุธขวาพระขรรค์  ซ้ายพิณ  พาหนะกระบือ

วันเสาร์  ชื่อ  มโหทร

ทัดดอกสามหาว  เครื่องประดับนิลรัตน์  ภักษาหารเนื้อทราย  อาวุธขวาจักร  ซ้ายตรีศูล  พาหนะนกยูง

 

วันสงกรานต์ในปี 2553  นี้ตรงกับ  วันอังคาร

          หวังเอาไว้ว่าผู้ที่ได้อ่านบันทึกนี้ จะช่วยกันสืบสานประเพณีสงกรานต์ แบบเก่า ๆ ที่มีนัยสำคัญถึง  ความสามัคคี  ความรู้คุณ  เคราพต่อผู้มีพระคุณ  การทำบุญ  และรักษาวัฒนธรรมอันดีงามเอาไว้ปฎิบัติสืบต่อกันไป  อย่าให้ประเพณีอันดีงาม  เลือนหายไป  ยึดเอาวัฒธรรมใหม่ ๆ มาผสมปนเป จนวัฒนธรรมเก่า ๆ หมดไป  สงกรานต์เป็นประเพณีของคนไทยทุกศาสนา ไม่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น การทำบุญก็เลือกถือปฏิบัติตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือได้ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ เป็นของกลาง ๆ ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้

 

 

 **  สนใจวิธีการทำ  “ ตุงไจย ” สอบถามมาได้นะค่ะ  ยินดีแนะนำค่ะ  **

 



 

โหลดเพลง

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://www.songkran.net
http://www.thaifolk.com/doc/songkran.htm 
หมายเลขบันทึก: 352441เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2010 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอบคุณ

    คุณบุษรา มากค่ะ

    อัพเดทรูปภาพแล้วนะค่ะ

    ส๋นใจ๋ หัดแป๋ง ตุงครับ บ้านอยู่ตางไดกาหา ผมก่อยู่สันกำ๋แปง เหมือนกั๋นครับ

    /แล้วเจอกั๋นเ้น้อ อ่านหนังสือพ่องก่ครับ ผมยังบ่ได้อ่านเลย..

    สวัสดีปี๋ใหม่ @_@ เจ้...เน้อเจ้า

    แวะมาเป็นกำลังใจให้ ^^

    ฮุ ... ฮุ เจ้ทำได้ดีนะเนี้ย

    ขอบคุณ

    คุณลาล่าค่ะ

    เป็นกำลังใจให้เหมือนกันค่ะ

    อย่าลืมอ่านหนังสือนะค่ะ สู้ ๆ

    น้ำแข็งใสค่ะ

    ภูมิใจขนาดเจ้า

    ที่มีคนเข้าใจ

    ประเพณีที่น่าดีงามจะอิ้

    ...แวะมาทักทายครับ..

    ...ทุกประเพณีของไทย..ล้วนมีคุณค่าน่าอนุรักษ์สืบสานต่อ..

    ...แต่น่าเสียดาย...อีกไม่นานคงหาดูได้แค่ในตำรา...

    ...เป็นกำลังใจให้อีกแรงครับ..............................^_^

    อ๋อ..ครับ ไกล้กั๋นเนาะ ผมอยู่ สันฮกฟ้า ครับผม/จิงๆผมบ่ได้ทำงานบ.หรอกครับ แต่มันเป็นชื่อที่ผมตั้งขึ้นมาคล้ายๆว่าเป็นสำนักอออกแบบของผมไรแบบนิแหละครับ ผมทำงานออกแบบอิสระนะครับ เปิดเป็นร้านขายของเล็กๆ แล้วก่รับทำงานไปตวย ว่างๆมานั่งเล่นได้เน้อ หลังหมู่บ้านเอื้ออาทรนี้บ่ดายครับ.....เเล้วเจอกันเน้อ(มีก้าขันตั้งก่หา หัดแป๋งตุง เนี่ย คิคิคิ++)

    ขอบคุณ

    คุณ pinpetch

    เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามเว็บที่ให้ไว้ตอนท้ายได้นะค่ะ

    ขอบคุณ

    คุณทีฆทัศน์ มังคละอังกูร

    เห็นด้วยนะค่ะ

    คุณทรงพลค่ะ

    คุณค่ะ ลักษณะภายนอกคุณ แตกต่างจากอารมณ์คุณมากเลยค่ะ

    แต่คุณมีความสามรถมากนะค่ะ

    ค่าขันตั้งท่าจะเป็นขนมหนัก ๆ เน้อค่ะ (มักแต้ ๆ ) ... หุหุ *o*

    อ่านม่วนดีเนาะ

    เขียยนได้ดี

    เป็นกำลังใจให้นะ

    ขอบคุณ

    คุณNhengnga มากค่ะ

    เป็นกำลังใจให้เช่นกันค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท