กิจกรรม กศน.


กิจกรรมกศน.
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มี  3  รูปแบบ  คือ
      1.  การศึกษาวิธีเรียนพบกลุ่ม  เน้นหนักการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก  มีการพบกลุ่มเพื่อนำสิ่งที่ได้ไปศึกษาค้นคว้า  แล้วมานำเสนอ อภิปราย และสรุปร่วมกันในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
        2.  การศึกษาวิธีเรียนทางไกล  เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยผ่านสื่อการศึกษาทางไกล  ได้แก่  ชุดการเรียนทางไกล  CD  VCD  รายการทางวิทยุและโทรทัศน์  Internet   เป็นต้น
        3.  การประเมินเทียบระดับการศึกษา  เป็นการประเมินจากความรู้  ทักษะ  ผลงาน  ประสบการณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน  โครงงาน  การสอบ  ปฏิบัติ  สัมภาษณ์  และทำกิจกรรมเข้าค่ายหรือกิจกรรม กพช. (กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต)
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                 1. ครูและนักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตร  มาตรฐานและสาระการเรียนรู้แล้วจัดแบ่งเนื้อหาสาระ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
                                  1.1 เนื้อหาที่ง่ายนักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) ตลอดสัปดาห์ต้องมีเวลาสำหรับการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง (เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง) มีการจดบันทึก  เรียบเรียงความรู้นั้น  ไว้เป็นหลักฐานและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวลาพบกลุ่ม  ผู้เรียนก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้แก่กัน
                                  1.2 เนื้อหาที่ยากปานกลาง  ครูและนักศึกษาต้องร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้  โดยครูเป็นผู้สอนในแต่ละสัปดาห์
                                   1.3 เนื้อหาที่ยากมาก  ครูและนักศึกษาร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาสอนแทน
                  2. นักศึกษาและครู ร่วมกันวางแผนการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนและนักศึกษาจะต้องจัดทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองทุกสัปดาห์ตลอดภาคเรียน
                  3. นักศึกษาและครูร่วมกันวางแผนการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมตลอดภาคเรียน
 การจัดกระบวนการเรียนรู้
           1.  กิจกรรมพบกลุ่ม (พก.) นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์
                  2.  การเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) นักศึกษาต้องมีเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
อย่างน้อย 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือวันละ 3 ชั่วโมง
                  3.    การทำโครงงาน  นักศึกษาต้องเรียนรู้โดยการทำโครงงาน  หมวดวิชาละ 1
โครงงาน ในแต่ละภาคผู้เรียนจะต้องรวมกลุ่มกันประมาณ 5-7 คน เพื่อทำโครงงาน 1 โครงงาน ต่อ 1 หมวดวิชา  โดยร่วมกันคิดวิเคราะห์ว่าจะทำโครงงานใดในหมวดวิชานั้น  วางแผนและลงมือปฏิบัติ  นำเสนอความก้าวหน้าของการทำโครงงานในการพบกลุ่มเป็นระยะ ๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความคิดต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาโครงงานอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน
                  4.   การจัดการเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็น
กิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการพบกลุ่ม  และเป็นเงื่อนไขของการจบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนทุกระดับ    เป็นกิจกรรมกลุ่มผู้เรียนทำตามความสนใจความถนัด  โดยเน้นการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา / เรียนรู้ ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงเพื่อพัฒนาตนเอง  ครอบครัว ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัยความรับผิดชอบ  การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  ซึ่งผู้เรียนจะทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนใด ภาคเรียนหนึ่งก็ได้  และสามารถทำร่วมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาอื่น  โดยทำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  

                        โดยจัด ส่งเสริม และพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีพ  เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล เป็นการแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความเข็มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน 

 

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  มี  4  ประเภท  คือ

                        2.1 การฝึกทักษะอาชีพ โดยจัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน  ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการอาชีพ

                        2.2  การเข้าสู่อาชีพ  เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด  วิเคราะห์  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ

                        2.3 กลุ่มพัฒนาอาชีพ  เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกัน ให้สามารถพัฒนาปริมาณและคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม

                        2.4  การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี  เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกลุ่ม

                         การจัดการศึกษาอาชีพทั้ง  4 ประเภท  เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ  มิได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด  เช่น  เมื่อเรียนพัฒนาอาชีพ  อาจจะต้องการความรู้  ทักษะอาชีพบางอย่างที่มีเสริมให้อาชีพที่ดำเนินการอย่างมีคุณค่ามากขึ้น

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  

                        โดยจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีสาระสอดคล้องกับบริบทของสังคมประเทศ  เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคลให้สามารถถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  โดยเน้นทักษะชีวิตพื้นฐานที่จำเป็น  4  ด้าน คือ 

                        1.  ด้านสุขภาพอนามัยและการป้องกันโรคภัย ฯลฯ

                        2.  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย  และการรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน  การจราจร  ฯลฯ

                        3.  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอนุรักษ์  ทำนุบำรุง  ฯลฯ

                        4.  ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  

                        ในการจัดกิจกรรมใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกคิด วิเคราะห์  ปฏิบัติ  และการแก้ปัญหา  เพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  และสังคม โดยจัดในรูปแบบกลุ่มสนใจ  เข้าค่าย  การอบรมประชาชน  การจัดกิจกรรมชุมชน  และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

 

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                        โดยจัด ส่งเสริม และพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีพ  เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล เป็นการแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความเข็มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน 

 

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  มี  4  ประเภท  คือ

                        2.1 การฝึกทักษะอาชีพ โดยจัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน  ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการอาชีพ

                        2.2  การเข้าสู่อาชีพ  เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด  วิเคราะห์  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ  

                        2.3 กลุ่มพัฒนาอาชีพ  เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกัน ให้สามารถพัฒนาปริมาณและคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม

                        2.4  การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี  เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกลุ่ม

                         การจัดการศึกษาอาชีพทั้ง  4 ประเภท  เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ  มิได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด  เช่น  เมื่อเรียนพัฒนาอาชีพ  อาจจะต้องการความรู้  ทักษะอาชีพบางอย่างที่มีเสริมให้อาชีพที่ดำเนินการอย่างมีคุณค่ามากขึ้น

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  

      ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ ประสบการณ์  และทักษะอาชีพ  เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน  และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

            กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนมี  5  ด้าน  คือ

            1.  ด้านเศรษฐกิจ          -   กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง

            2.  ด้านการเมือง           -   กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย

            3.  ด้านสังคม                -   กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้            

            4.  ด้านสิ่งแวดล้อม        -   กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

            5.  ด้านศิลปวัฒนธรรม               -   กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

 

คำสำคัญ (Tags): #กศน.
หมายเลขบันทึก: 351263เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2010 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณน่ะคร้าบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท