ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

สมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพในท้องถิ่น


ใช้วิธีเดินสำรวจภาคพื้นดิน (Ground Check)

 การสำรวจสมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพในท้องถิ่น ได้ดำเนินการสำรวจในเขตป่าสงวนแห่งชาติ รอการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาตินายูง  ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สำรวจร่วมกับหมอพื้นบ้าน และเจ้าหน้าที่ ใช้วิธีเดินสำรวจภาคพื้นดิน (Ground Check) โดยหมอพื้นบ้านจะทำหน้าที่ระบุชื่อ , สรรพคุณและการใช้ในท้องถิ่นเพื่อนำไปเทียบเคียงกับกลุ่มยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งมีอยู่ 17 กลุ่มอาการ  ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวมีป่า 3 ประเภทได้แก่ป่าเต็งรัง , ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง พบว่า

                สมุนไพรในป่าเต็งรัง พบว่ามีสมุนไพร 29 ชนิด ที่ชุมชนใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ใน 8 กลุ่มอาการ เรียงตามลำดับจำนวนชนิดสมุนไพรที่พบในกลุ่มอาการต่าง ๆ จากมากไปน้อยดังนี้  ระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 27.59  ระบบผิวหนัง ร้อยละ 10.34  พืชพิษ ร้อยละ 10.34  ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ร้อยละ 10.34  ระบบสูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 10.34  ระบบต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 6.90  ยาตา ร้อยละ3.45  สารอาหารและเลือด ร้อยละ 3.45  และ อื่นๆ ร้อยละ 17.24  ทั้งนี้ในกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่จัดเข้าอันดับเนื่องจากไม่ได้ในในการรักษาอาการเจ็บป่วย

รายชื่อสมุนไพรในป่าเต็งรัง ตามกลุ่มอาการดังนี้ กลุ่มระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เงี่ยงปลาดุก , ก่องข้าวเหนียว , ข้าวเย็นใต้ , ซาด , ผักออบแอบ , พวงตุ้มหู , สารภีดอย , หมากเม่าใหญ่  กลุ่มระบบผิวหนัง ได้แก่ เขือง, เอื้องหมายนา , มุยแดง  กลุ่มพืชพิษ ได้แก่ น้ำเกี้ยง ,ปอเต่าไห้ , ระย่อมตีนหมา  กลุ่มระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ได้แก่ ไพลป่า , พลับพลึงป่า, ฮังหนาม  กลุ่มสูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ  ได้แก่ แฮดกวง, ส่องฟ้า,  หูเสือ  กลุ่มอาการในระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ แก้มนางขาว , ตีนนก รักษาเบาหวาน กลุ่มยาตา ได้แก่ ก้นเฮียด  กลุ่มสารอาหารและเลือด ซึ่งใช้ในการบำรุงร่างกาย ได้แก่ คอกม้าแตก  และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ เข้าพรรษา , ตูบหมูบ , มะขามแป , ส้านใบเล็ก , หมากเม่าน้อย

สมุนไพรในป่าเบญจพรรณ พบว่ามีสมุนไพร 46 ชนิด ที่ชุมชนใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ใน 11 กลุ่มอาการ เรียงตามลำดับจำนวนชนิดสมุนไพรที่พบในกลุ่มอาการต่าง ๆ จากมากไปน้อยดังนี้  ระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 32.61  , กลุ่มอาการทางสูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ  ร้อยละ  17.39  , ยาแก้พิษ  ร้อยละ  8.70  , ระบบประสาทส่วนกลาง  ร้อยละ  8.70  , สารอาหารและเลือด ร้อยละ 8.70  , ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ  ร้อยละ  6.52  , โรคติดเชื้อ ร้อยละ 2.17  , กลุ่มโรคผิวหนัง  ร้อยละ  2.17  , ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 2.17  , ระบบหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 2.17    และกลุ่มอื่นๆ ร้อยละ 8.70

รายชื่อสมุนไพรในป่าเบญจพรรณ ตามกลุ่มอาการดังนี้  ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เปล้าใหญ่ , เปล้าน้อย , เปือยเลิอด , เหมือดขน , แตงแซง , แพง , โมกหลวง , กอกกัน , ขี้หนอน , ดักดำ , ตาไก้ , มะเกลือ , หมีเหม็น , หำฮอก , หีหมอยสาวแก่  , กลุ่มอาการทางสูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ  ได้แก่ เกล็ดลิน , ก้นคก , ขี้เห็น , ต้องแล้ง , ทม , ทองหลาง , สะครั่งแดง , หำอาว  , กลุ่มยาแก้พิษ  ได้แก่ งวงชุ่ม , ซายเด็น , รางจืด , สมัดน้อย , ระบบประสาทส่วนกลาง  ได้แก่ เครือเขาแกลบ , เครือหางหนู , โกทา , หมากบ้า  , กลุ่มสารอาหารและเลือด ได้แก่ กลอย , คอนหมา , ตีนตั่ง , มะค่าขี้หมู , ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ  ได้แก่ กระท่อมเลือด , คางควาย , ส่าเหล้า , โรคติดเชื้อ ได้แก่ ส้มกบ , กลุ่มโรคผิวหนัง  ได้แก่ มะค่าแต้, ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ต้างไก่  , ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ไข่เน่า   และกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ เครือเขาหลง , เครือหุนแดง , เลียง , สะทอน

สมุนไพรในป่าดิบแล้ง พบว่ามีสมุนไพร 29 ชนิด ที่ชุมชนใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ใน 11 กลุ่มอาการ เรียงตามลำดับจำนวนชนิดสมุนไพรที่พบในกลุ่มอาการต่าง ๆ จากมากไปน้อยดังนี้  ระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 27.59  , กลุ่มอาการทางสูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ  ร้อยละ 24.14  , ยาแก้พิษ ร้อยละ  10.34  , ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ร้อยละ 6.90  , กลุ่มเสริมภูมิและวัคซีน ร้อยละ 3.45  , โรคติดเชื้อ ร้อยละ 3.45  , อาการทางผิวหนัง ร้อยละ 3.45  ,พืชพิษ ร้อยละ 3.45  , ยาตา ร้อยละ 3.45  , ระบบต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 3.45  , ระบบประสาทส่วนกลาง ร้อยละ 3.45  และกลุ่มอื่นๆ ร้อยละ 6.90

                รายชื่อสมุนไพรในป่าดิบแล้ง ตามกลุ่มอาการดังนี้  ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่  กระชายป่า , กระวานขาว , ดีปลากั้ง , ดีหมี , ต่างนก , ผักแสงดง , สะครั่ง , สีชมชื่น, กลุ่มอาการทางสูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ แฮดกวง , ก้นเม่น , ดีหมีก้านเหลือง , นางแย้ม , ผักมันปู , พวงพี , สันต่อตูด , กลุ่มยาแก้พิษ ได้แก่ เถาตะขาบ , จางจืด , ว่านงูจงอาง , ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ได้แก่ กระจ้อนเน่า , คอนแคน , กลุ่มเสริมภูมิและวัคซีน ได้แก่ ข่าร้อน , โรคติดเชื้อ ได้แก่ ข้าวหลามดง , อาการทางผิวหนัง ได้แก่ ปั้นข้าวจี่ ,พืชพิษ ได้แก่ ผักแหวน , ยาตา ได้แก่ มะขามป้อม , ระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ตะกูยักษ์ , ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ส้านแพง และกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ ข้าวต้ม , เครือหุน

โดยเมื่อรวมทั้ง 3 ประเภทป่าแล้ว พบว่ามีสมุนไพร 104 ชนิด ที่ชุมชนใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ใน 15 กลุ่มอาการ เรียงตามลำดับจำนวนชนิดสมุนไพรที่พบในกลุ่มอาการต่าง ๆ จากมากไปน้อยดังนี้  ระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 29.81  ,สูติศาสตร์ นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ, 17.31  ,ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ร้อยละ 7.69  ,ยาแก้พิษ ร้อยละ 6.73  ,ผิวหนัง ร้อยละ 4.81  ,ระบบประสาทส่วนกลาง ร้อยละ 4.81  ,สารอาหารและเลือด ร้อยละ 4.81  ,พืชพิษ ร้อยละ 3.85  ,ระบบต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 2.88  ,โรคติดเชื้อ ร้อยละ 1.92  ,ยาตา ร้อยละ 1.92  , กลุ่มเสริมภูมิและวัคซีน ร้อยละ 0.96  , ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 0.96  ,ระบบหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 0.96  และ อื่นๆ ร้อยละ 10.58

จากผลการสำรวจดังกล่าว ถึงแม้จำนวนชนิดสมุนไพรจะน้อยกว่าที่ควรจะมีในป่าแต่ละประเภทก็ตาม แต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบสถานการณ์ของการนำสมุนไพรในพื้นที่ป่ามาใช้เพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และการดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นในครัวเรือนตามวิถีชุมชน

หมายเลขบันทึก: 350166เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2010 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

แวะมาส่งความระลึกถึงค่ะ

และเชิญชวนร่วมสร้างหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ด้วยกันนะคะ

http://gotoknow.org/blog/rongkham/349984

ขอบคุณค่ะ

แหม น่าจะถ่ายภาพสมุนไพรแต่ละชนิดมาแบ่งปันความรู้กันบ้างนะครับ

ได้แต่จินตนาการ

ขอบคุณที่แวะมานะครับ พอดีเรื่องรูปภาพผมยังไม่ค่อยถนัดนัก ถ้าแนะนำได้จะขอบคุณมาก ผมมีความรู้เรื่อง Picasa บ้างเล็กน้อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท